fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2009 |
1. | การบริหารสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพด้วยการใช้ระบบ Material Requirements Planning (MRP):กรณีศึกษา บริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มาลี ยามาโมโท | ||
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งที่จะศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการจัดประเภทของสินค้าคลังตามลำดับความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการจัดประเภทของสินค้าคงคลังและจัดวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อ และการบริหารสินค้าคงคลังของธุรกิจจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ทั้งนี้จากการศึกษา ในลักษณะกรณีศึกษาของบริษัท ตัวอย่าง จำกัด โดยอาศัยข้อมูลสินค้าคงคลัง จำนวน 12 กลุ่ม ของการส่งสินค้า ให้แก่ลูกค้าเพียงรายเดียว ซึ่งทำการเก็บข้อมูลการรับคำสั่งซื้อของลูกค้า การจัดส่งสินค้า การจัดเรียงสินค้า รวมการตรวจนับสินค้าคงเหลือในแต่ละเดือน รวมทั้งสิ้น 5 เดือน
โดยได้ทำการศึกษาวิธีการทำงานในกระบวนการต่าง ๆ ที่ใช้โปรแกรม Microsoft Excel มาเป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ที่ใช้กันแพร่หลาย คือ โปรแกรมการวางแผนความต้องการวัสดุหรือที่รู้จักกันดี และเรียกอีกอย่งหนึ่งว่า Material Requirements Planning (MRP) และในการจัดประเภทของสินค้าคงคลัง ได้นำเอาวิธี ABC Analysis มาประยุกต์ใช้ และในด้านการวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อสินค้านั้น อาศัยหลักการสั่งซื้อที่ประหยัด ผสมผสานกับการวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าตามปริมาณการใช้งานและการประมาณการณ์การสั่งซื้อจากลูกค้าในช่วงเวลา 6 เดือนล่วงหน้า เพื่อให้ระดับความพอใจของลูกค้าที่ได้รับจากเดิมระดับ B ให้เป็นระดับ A+ ในการประเมินผลความพึงพอใจในแต่ละเดือนของปี 2008 เป็นต้นไป และ การใช้โปรแกรมการวางแผนความต้องการวัสดุนั้น สามารถลดต้นทุนได้ 580,000 บาท/ปี และสามารถลดเวลาในการทำงานรวมทั้งสิ้น 142 ชั่วโมง/ปี
Full Text : Download! |
||
2. | การนำหลักการระบบการผลิตแบบโตโยต้า มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการหยิบสินค้าตามใบสั่งซื้อ กรณีศึกษา คลังสินค้าธุรกิจขายปลีก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มีชัย ศรีชัยพฤกษ์ | ||
กิจกรรมหลักของคลังสินค้าจะมีอยู่หลายกิจกรรม ซึ่งทุกกิจกรรมที่ทำในคลังสินค้ามีผลกระทบต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งสิ้น แต่สำหรับกิจกรรมการหยิบสินค้า (Picking) นั้น ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญสูงสุดและส่งผลกระทบต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
สารนิพนธ์ฉบับนี้ได้นำเสนอการนำหลักการ TPS โดยเฉพาะทฤษฏี Continouous Flow และทฤษฏี Heijunka มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการหยิบสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานได้ทำงานในความเร็วที่ใกล้เคียงกันและส่งต่องานอย่างต่อเนื่องกัน อันจะส่งผลให้งานระหว่างผลิต (Work in Process) และเวลาหยิบสินค้าของพนักงานแต่ละชั้นวางลดน้อยลง รวมทั้งยังกาจัดการว่างงานและการรอคอยงานให้น้อย
ผลที่ได้ คือ เวลาหยิบสินค้า (Picking Time) ขายดีโดยรวมมีค่าลดลง 23.35 วินาที/ใบสั่งจัด รวมทั้งช่วงเวลาหยิบสินค้าขายดีของพนักงานแต่ละชั้นวางจากเดิม 2.75-8.25 วินาที/รายการ เปลี่ยนมาเป็น 3.00-4.75 วินาที/รายการ ซึ่งเวลาหยิบสินค้าโดยรวมสั้นลง นอกจากนี้ช่วงเวลาหยิบสินค้าที่ใช้ยังแคบลง ซึ่งหมายถึงพนักงานแต่ละชั้นวางเริ่มใช้เวลาหยิบสินค้าที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการส่งต่องานแบบ ONE PIECE FLOW นอกจากนี้ยังสามารถลดจำนวนพนักงานที่ใช้ในการหยิบสินค้าจาก 9 คน มาเป็น 8 คนได้ รวมถึงยังพบว่า ปริมาณตะกร้าที่รอการจัดสินค้า (Work in Process) บนรางมีจำนวนลดลง ซึ่งแสดงว่าการทำงานของพนักงานในแต่ละชั้นวางเกิดความสมดุลขึ้น
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดของเสียด้วยเทคนิค Quality Control Circle (QCC):กรณีศึกษา โรงงานปั๊มขึ้นรูปโลหะ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนภัทร์ รชนิรมณ์ | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เป็นการหาสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียโดยใช้เทคนิค Quality Control Circle (QCC) แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการปรับปรุงงานด้านการควบคุมคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียและเพิ่มผลิตภาพของการผลิต ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำสายการผลิตการทำท่อที่เป็นอะไหล่ชิ้นส่วนของคอมเพรส์เซอร์ มาเป็นกรณีศึกษาซึ่งสายการผลิตนี้มีของเสียมากเกินไป ใช้วิธีการต่าง ๆ ที่อยากต่อการควบคุมคุณภาพและการผลิตที่ไม่ประสิทธิภาพเท่าที่ต้องการ
การศึกษาครั้งนี้เริ่มจากมีการลำดับเรื่องราวตามขั้นตอนของการพัฒนาคุณภาพซึ่งเรียกว่า QC Story มี 7 ขั้นตอน โดยเริ่มจากการค้นหาหัวข้อปัญหา ทำความเข้าใจ กำหนดแผนการแก้ไข วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ใช้มาตรการตอบโต้ การยืนยันผลลัพธ์ จากนั้นก็ทำการสร้างมาตรฐาน ซึ่ง 7 ขั้นตอนที่กล่าวมานั้น หลังจากได้มีการทำจริงทำให้ทราบถึงรากสาเหตุของปัญหาและได้ใช้วิธีการทาง QC 7 Tools บางตัว คือ แผนผังพาเรโตและแผนผังแสดงเหตุและผล นอกจากนั้นยังใช้แผนผังกระบวนการไหลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในของ Industrial
Engineering Technique ซึ่่งทำให้สามารถทราบรายละเอียดของการทำงานได้ ซึ่งหลังจากได้มีการทำ QCC สารมารถทำให้ของเสียในการผลิตลดลง โดยเทียบจากจำนวน 527 ชิ้น ในเดือนมาราคม ปี 2553 พบว่า เดือนถัดมาลดลงเหลือเพียง 36 ชิ้น และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ทั้งสามารถ ช่วยให้การทำงานว่ายขึ้นทำให้ขวัญและกำลังใจพนักงานดีขึ้น
Full Text : Download! |
||
4. | กรณีศึกษา ปัญหาและอุปสรรคด้านการจัดการฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปริญญา เหลืองงาม | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคด้านการจัดการของฝ่าย วิศวกรรมการผลิต รวมทั้งการดำเนินงานในการสนับสนุนฝ่าย หรือหน่วยงานต่างๆ ในโรงงาน อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และศึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคด้าน การจัดการของฝ่ายวิศวกรรมการผลิต โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคด้านผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง และเรื่องที่ขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คือ ด้านความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับ
งาน ทักษะ ความเชี่ยวชาญ หรือความชำนาญในงาน และการฝึกอบรมเทคนิคการผลิต (On theJob Training : OJT) หรือวิธีการทำงานที่มีการปรับปรุงพัฒนาไปยังฝ่ายแผนก หรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ส่วนปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารและการจัดการ พบว่า มีปัญหาและอุปสรรค อยู่ในระดับปานกลาง แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารและการจัดการ ที่ผู้ศึกษา ขอเสนอแนะให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คือ เรื่องการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย พัฒนา หรือการปรับปรุง พัฒนา (KAIZEN) ไปยังฝ่ายแผนกหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความรวดเร็ว
ในการดำเนินงานการสื่อสารของสายการบังคับบัญชาของฝ่ายวิศวกรรมการผลิตไปยังฝ่าย แผนก หรือหน่วยงานอื่นๆ ความชัดเจนของอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานบางแผนก หรือหน่วยงานของฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ซึ่งพบว่า มีปัญหาและ
อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลางที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด
Full Text : Download! |
||
5. | การพัฒนาคู่มือการสรรหาบุคลากร ตำแหน่งหัวหน้างาน แผนกผลิต:กรณีศึกษา บริษัท ผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปัทมาพร ดวงวิเชียร | ||
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเรื่องการพัฒนาคู่มือการสรรหาบุคลกร ตำแหน่งหัวหน้างานแผนกผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคมีวัตถุประประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งการพัฒนาคู่มือการสรรหาบุคลากรต่ำแหน่งหัวหน้างานแผนกผลิต และใช้เป็นข้อเสอนแนะ แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขด้านการสรรหาบุคลากรตำแหน่งหัวหน้างานแผนกผลิต
ผลการศึกษา พบว่า นโยบายและกลยุทธ์ขององค์กรมีผลต่อวิธีการสรรหาและการกำหนดคุณสมบัติของตำแหนงหัวหน้างานแผนกผลิต กระบวนการในการสรรหาบุคลากรตำแหน่งหัวหน้างานแผนกผลิตจะต้องมีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจน และปฏิบัติงานด้วยความถูกต้องและรวดเร็ว ต้องมีการวางแผนอัตรากำลังคนประจำปีและความมีการดำเนิการทบทวนแผนทุก ๆ 6 เดือน การวางแผนในการสรรหาบุคลากรตำแหน่งหัวหน้างานแผนกผลิตควรจะต้องใช้วิธีการจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งงานมากที่สุด
Full Text : Download! |
||
6. | การประยุกต์เทคนิค Shipping time chart ตามระบบการผลิตแบบโตโยต้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประภาพรรณ ปุกแก้ว | ||
The objective of this study is to apply shipping time chart and shipping control chart techniques of Toyota Productions System (TPS) to improve the standard of the shipping area in order to deliver the product in time. Shipping time chart can be visually used to identify work sequence of delivery process including customer order information flow, product preparation, product checking, product loading on to the truck, and delivery to the customer. Utilizing shipping time chart, Standard processes of delivery can be defined. Manpower of each process and delivery time can be planned and scheduled. In addition, waiting post from the production is used to convey information from customer demand to the delivery process and then feedback the
information back to the production. Consequently, lead time is reduced from 48 days to 35 days. Furthermore, inventory in the warehouse is lessened.
Full Text : Download! |
||
7. | การประยุกต์กระบวนการผลิตแบบไหลอย่างต่อเนื่องตามระบบการผลิตแบบโตโยต้า:กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รุจิพรรณ์ อารีย์กุล | ||
การประยุกต์ใช้การสร้างกระบวนการผลิตแบบไหลอย่างต่อเนื่อง ตามระบบการผลิตแบบโตโยต้า ในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มครั้งนี้ มุ่งศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในแผนกตัดผ้า โดยดำเนินกิจกรรมตามระบบการผลิตแบบโตโยต้า เริ่มต้นจากการสำรวจความพร้อมของการดำเนินกิจกรรมการสร้างกระบวนการผลิตแบบไหลด้วยการใช้หัวข้อประเมินการผลิตแบบไหล ผลการประเมิน พบว่า ในแผนกตัดมีความพร้อมในการทำกิจกรรมแต่ยังคงมีหัวข้อที่ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม เช่น มีการจัดลำดับกระบวนการผลิตแล้วแต่ยังไม่ดีพอ เนื่องจากพบปัญหา มีจุดของงานที่ทำให้กระบวนการผลิตไหลไม่ต่อเนื่อง จึงใช้เครื่องมือ Material Flow Chart (MFC) และการเขียน Part List ในการศึกษาเส้นทางการไหลของชิ้นงาน พบขั้นตอนที่ เป็นคอขวดของกระบวนการ คือ ขั้นตอนการจัดงาน จึงกำหนดแนวทางแก้ปัญหาโดยการเขียน MFC และ Part List ใหม่ ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้งานในการผลิต ปรับปรุงเส้นทางการไหลของชิ้นงานให้เป็นแบบเส้นตรงไม่ซ้ำซ้อน ช่วยทำให้กระบวนการไหลอย่างต่อเนื่อง ลดความ สูญเปล่าและจำนวนชิ้นงานระหว่างกระบวนการ และเมื่อจับเวลาการทำงานในแต่ละขั้นตอน พบว่า สายการผลิตยังมีสมดุลการผลิตที่ไม่ดีพอ จึงทำการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานและ หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อจำนวนพนักงาน
การดำเนินกิจกรรมทำให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น วัดผลได้จาก 1) การใช้งาน พื้นที่ผลิตลดลง 33.33% 2) ความสูญเปล่าจากการรอคอยลดลง 3.03% 3) ระยะทางในการ เคลื่อนย้ายลดลง 56.76% 4) เวลานำ การผลิตลดลง 18.64% และ 5) ชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิตลดลง 50%
Full Text : Download! |
||
8. | การปรับปรุงกระบวนการผลิตแม่พิมพ์ที่ใช้ในกระบวนการเทหล่อ กรณีศึกษา โรงงานผลิตอุปกรณ์สุขภัณฑ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศักดิ์ดา ปะสิ่งชอบ | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิตแม่พิมพ์ที่ใช้ในกระบวนการเทหล่อโดยการใช้แผนผังการไหลของกระบวนการ (Flow Process Chart Diagram) ด้วยการวิเคราะห์กระบวนการที่มีคุณค่า (Real Value Added : RVA) และกาจัดกระบวนการที่ไม่มีคุณค่า (Non Value Added : NVA) ออกไป ผลจากการขจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าออกจากกระบวนการ สามารถลดเวลาทำงานจากเดิม 3,236 นาที เหลือ 2,614 นาที สามารถลดเวลาในการทำงานได้ 622 นาที คิดเป็น 19.22 % ประสิทธิผล (Productivity) เพิ่มขึ้นจาก 1 ชุด / 53.93 ชั่วโมง เป็น 1 ชุด / 43.5 ชั่วโมง ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นจาก 1.85 % เป็น 2.29 % กระบวนการผลิตแม่พิมพ์เทหล่อ (Die Casting) สามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานได้ 4 ชั่วโมง 36 นาที กระบวนการผลิตแม่พิมพ์ทำไส้แบบ (Core Box) สามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานได้ 5 ชั่วโมง 45 นาที
ผลสรุปจากเดือน มกราคม ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2552 ทางแผนกผลิตแม่พิมพ์ สามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์เทหล่อได้ 25,652 บาท สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนเครื่องมือตัดในการผลิตแม่พิมพ์เทหล่อได้ 553,333 บาท ในส่วนของแม่พิมพ์ทำไส้แบบสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ได้ 16,165 บาท สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนเครื่องมือตัดในการผลิตแม่พิมพ์ทำไส้แบบได้ 240,950 บาท
Full Text : Download! |
||
9. | ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร สู่ระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2008 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุนันท์ ทองฝาก | ||
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2008 ของบริษัทตัวอย่างแห่งหนึ่ง ซึ่งดำเนินธุรกิจให้บริการพิมพ์เอกสารประเภทบิล ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งหนี้ต่าง ๆ ให้กับธุรกิจโทรคมนาคม และสถาบัน
การเงิน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณา(Descriptive Statistic) ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งใช้วิธีนำเสนอข้อมูลในรูปตารางข้อมูล ลักษณะทั่วไป บริษัทมีพนักงานจำนวน 115 คน พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26-30 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทางาน 1-3 ปี มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงาน ทำงานอยู่ในฝ่ายปฏิบัติการผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของพนักงานต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบบริหารคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2008 อยู่ในระดับมาก ความรู้ความเข้าใจของพนักงานในข้อกาหนดของระบบคุณภาพ ISO9001:2008 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ ความรู้สึกที่มีต่อการนำระบบบริหารคุณภาพ ISO9001:2008 มาใช้ของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบบริหารคุณภาพ
ISO9001:2008 ขององค์กร คือ การจัดการการเปลี่ยนแปลงโดยการให้ความรู้ความเข้าใจกับสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง การประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในองค์กรทราบถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง การสื่อสาร และการฝึกอบรมให้พนักงานเข้าใจในข้อกำหนดของระบบคุณภาพISO9001:2008 รวมถึงการฝึกอบรมใหม่ให้กับพนักงานที่เคยฝึกอบรมไปแล้วเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ
Full Text : Download! |
||
10. | การประยุกต์ใช้การวางแผนทรัพยากรองค์กรในองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็ก กรณีศึกษา บริษัท ตัวอย่าง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุวรรณี วัฒนาชัยสิทธิ์ | ||
จุดมุ่งหมายของการทำสารนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาแนวทางในการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในทรัพยากรต่างๆในองค์กร โดยการนำมาประยุกต์ใช้กับบริษัทตัวอย่าง เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ทำให้ลดเวลาและขั้นตอนการทำงานของบริษัทจากการศึกษาและประเมินปัจจัยแห่งความสาเร็จ (Critical Success Factors : CSFs) พบว่า การใช้โปรแกรม CD-Organizer นี้ มีความเหมาะสมกับบริษัทตัวอย่าง เพราะสามารถลดขั้นตอนที่ซ้าซ้อนแผนกบัญชี สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และจัดทำรายงานนำเสนอแก่ผู้บริหารได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ โปรแกรมนี้ยังสามารถเชื่อมโยงระบบจัดซื้อระบบขาย และคำนวณต้นทุนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทำให้ข้อผิดพลาดของข้อมูลในเรื่องชื่อสินค้า รหัสสินค้า จำนวนสินค้า ลดลงอย่างมาก สำหรับจุดคุ้มทุนในการจัดซื้อโปรแกรม CD-Organizer ขึ้นอยู่กับจำนวนรายการที่เกิดขึ้นในฐานข้อมูล จุดคุ้มทุนของบริษัทตัวอย่างอยู่ที่ 1,071 รายการ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250