fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2010 |
1. | การประยุกต์ใช้ค่าประสิทธิพลโดยรวมของเครื่องจักร(OEE)เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ:กรณีศึกษา โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อดิสรณ์ มะซอ | ||
งานศึกษานี้ศึกษาการนำค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ และเพิ่มสมรรถนะของกระบวนการโดยนำค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมาเป็นดัชนีชี้วัดสมรรถนะหลัก (KPI) ของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ วิธีการประยุกต์ใช้จะต้องศึกษาและค้นหาความสูญเสียหลัก 7 ประการในกระบวนการผลิต และแยกประเภทของความสูญเสียเข้าสู่องค์ประกอบพื้นฐาน 3 ประการเพื่อนำไปคำนวณค่า OEE สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งหลังจากคำนวณค่า OEE แล้ว คือการหากลยุทธ์ในการเพิ่มค่า OEE ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มสมรรถนะของกระบวนการผลิตในท้ายที่สุด
ผลการศึกษาและการประเมินความคิดเห็นของหน่วยงานที่เข้าไปดำเนินการศึกษา ทำให้สามารถสรุปได้ว่า การศึกษานี้ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยค่า OEE ของเครื่องกำเนิดความร้อนและเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยที่ ร้อยละ 86 และ ร้อยละ 77 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของค่า OEE ทำให้สามารถเพิ่มสมรรถภาพรวมของทั้งกระบวนการและสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ทั้งของทั้งเครื่องกำเนิดความร้อนและเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า อีกทั้งการปฏิบัติงานของพนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นโดยสามารถควบคุมดูแลระบบได้อย่างดีและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบโปรแกรมประยุกต์ ใช้สำหรับอุปกรณ์พกพา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกพล ปริพินิจฉัย | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือที่จะช่วยผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบมิเตอร์ให้ทำงานได้ง่ายขึ้นในส่วนของการคำนวณ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาทฤษฎีของการตรวจสอบมิเตอร์เพื่อหาสมการคณิตศาสตร์เพื่อนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม จากนั้นทำการออกแบบและเขียนโปรแกรมในการคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนของมิเตอร์แต่ละแบบ และนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปทดสอบใช้งานในการปฏิบัติงานจริง สุดท้ายคือการรวบรวมและสรุปผลการทดสอบ ผลที่ได้ สามารถออกแบบและเขียนโปรแกรมที่ใช้งานกับเครื่องคิดเลขยี่ห้อ CASIO รุ่น CFX-9xx0GB PLUS ให้สามารถทำการคำนวณหาค่าความคลาดเคลื่อนของมิเตอร์ไฟฟ้าได้ทั้งสี่แบบ ได้แก่ มิเตอร์ 1 เฟส 2 สาย มิเตอร์ 3 เฟส 4 สาย มิเตอร์ 3 เฟส 4 สายประกอบซีทีแรงต่ำ และมิเตอร์ 3 เฟส 3 สายประกอบซีที พีทีระบบ 22 กิโลโวลท์ ผลสรุปที่ได้จากทดสอบ คือ 1) สามารถลดเวลาในการตรวจสอบมิเตอร์ แบบ 1 เฟส 2 สาย ลงเฉลี่ยร้อยละ 59.30 ต่อหนึ่งลูก 2) ลดเวลาในการตรวจสอบมิเตอร์ แบบ 3 เฟส 4 สาย ลงเฉลี่ยร้อยละ 65.92 ต่อหนึ่งลูก 3) ลดเวลาในการตรวจสอบมิเตอร์ แบบ 3 เฟส 4 สาย ประกอบซีที ลงเฉลี่ยร้อยละ 56.16 4) ต่อหนึ่งลูกลดเวลาในการตรวจสอบมิเตอร์ แบบ 3 เฟส 3 สาย ประกอบซีที พีที ลงเฉลี่ยร้อยละ 59.09 ต่อหนึ่งลูก
Full Text : Download! |
||
3. | การจัดทำและประยุกต์ใช้คู่มือควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก เพื่อควบคุมของเสียที่เกิดขึ้นให้ลดลง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อภิชาติ มหารำลึก | ||
งานศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการจัดทำและประยุกต์ใช้คู่มือควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก โดยกระบวนการผลิตจะแบ่งได้เป็น 2 แผนก คือ กระบวนการพิมพ์ เซาะร่อง และกระบวนการปะกาว แต่เนื่องจากการควบคุมคุณภาพนั้นจะต้องรวมไปถึงกระบวนการรับวัตถุดิบ และกระบวนการจัดส่ง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ
คู่มือควบคุมคุณภาพที่จัดทำขึ้นมาได้ทำการควบคุมคุณภาพตั้งแต่รับวัตถุดิบ ซึ่งวัตถุดิบกระดาษถือได้ว่าเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก กระบวนการผลิตมี กระบวนการพิมพ์ เซาะร่อง และกระบวนการปะกาว พร้อมทั้งควบคุมคุณภาพในเรื่องของการจัดเก็บและจัดส่งอีกด้วย โดยประยุกต์ใช้หลักการสุ่มตรวจของมาตรฐาน MIL-STD-105E มาปรับ แต่ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริงซึ่งคู่มือควบคุมคุณภาพที่ได้จัดทำขึ้นมาจะนาไปอบรมและทดลองใช้กับพนักงานกลุ่มตัวอย่างของโรงงาน AAA
ผลของการนำคู่มือควบคุมคุณภาพไปใช้งานจริงพบว่า ของเสียที่ตรวจพบได้ในกระบวนการรับวัตถุดิบ กระบวนการผลิต กระบวนการจัดส่ง มีจำนวนของเสียที่ลดลง คือ ก่อนการจัดทำคู่มือตรวจพบของเสียคิดเป็น 0.69 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากการจัดทำคู่มือแล้วนำไปประยุกต์ใช้งานตรวจพบของเสียคิดเป็น 0.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาข้อมูลพบว่า ของเสียที่ตรวจพบได้ในกระบวนการตรวจรับวัตถุดิบสามารถตรวจพบของเสียได้มากขึ้น ทำให้ของเสียหลุดเข้ายังสายการผลิตน้อยลง เป็นผลให้ของเสียที่เกิดขึ้นในสายการผลิตลดลงตามไปด้วย และจากการตรวจสอบสินค้าก่อนจัดส่งให้กับทางลูกค้าจึงทำให้ของคืนจากทางลูกค้าลดลดอีกด้วย
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาปัญหางานตรวจสอบภายในขององค์กรภาครัฐ กรณีศึกษา หน่วยงานราชการระดับกรมแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัญพัส วรศักดิ์ | ||
งานตรวจสอบภายในเป็นงานที่ช่วยให้ผู้บริหารเกิดความมั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาและหน่วยงานภายใต้กำกับดูแลได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และนโยบายที่ได้วางไว้อย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ซึ่งภายหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ภาครัฐได้ปฏิรูประบบราชการใหม่และได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการตรวจสอบภายในจากเดิมที่เน้นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางการเงินแต่เพียงอย่างเดียวมาสู่การตรวจสอบภายในที่มีขอบเขตครอบคลุมการปฏิบัติงานในทุกด้านขององค์กรและเพิ่มความมีธรรมาภิบาลมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายในได้ผ่านมาแล้วเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงเป็นเหตุให้สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาว่า งานตรวจสอบภายในของภาครัฐในปัจจุบันนั้นมีบทบาทในการช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของภาครัฐบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด ช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาการปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นสมรรถภาพมากน้อยเพียงใดและรวมถึงมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลที่ได้จากการศึกษาพบปัญหา 3 ด้าน คือ 1. ผู้บริหารขององค์กรไม่ได้ให้การสนับสนุนงานตรวจสอบภายในอย่างจริงจัง 2. การตรวจสอบภายในของปัจจุบันนั้นเน้นแต่การตรวจสอบทางการเงิน ไม่ได้ประเมินประสิทธิผลและสมรรถภาพของการดำเนินงานมากเท่าที่ควร 3. ปัญหาเรื่องกฏระเบียบส่วนกลางที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งได้แนะนำแนวทางการแก้ไข ผู้บริหารควรจะปรับทัศนคติต่องานตรวจสอบภายในให้เป็นงานที่ได้ประโยชน์ต่อองค์กรและต่อผู้บริหารเอง โดยให้การส่งเสริมทางด้านบุคลากร และควรนำเอางานตรวจสอบภายในไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับงานบริหารให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรเน้นการตรวจสอบเรื่องการดำเนินงาน
Full Text : Download! |
||
5. | การลดเวลาการติดตั้งแม่พิมพ์ กรณีศึกษา โรงงานฉีดพลาสติก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จรีลักษณ์ ตันทิพย์ | ||
การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา โรงงานฉีดพลาสติก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการติดตั้งแม่พิมพ์ให้รู้ที่มาและสาเหตุของปัญหา จากนั้นหาแนวทางปรับปรุงเพื่อลดเวลาในการติดตั้งแม่พิมพ์ให้ได้อย่างน้อย 50% จากเวลาที่ใช้ในปัจจุบัน โดยอาศัยเครื่องมือในการวิเคราะห์ ได้แก่ แผนภูมิกระบวนการผลิต (Flow Process Chart) เทคนิคการตั้งคำถาม 6W1H และแผนผังก้างปลา
หลังการสำรวจสภาพปัจจุบัน พบว่า กระบวนการติดตั้งแม่พิมพ์ใช้เวลานานถึง 76 นาทีและมีการติดตั้งภายใน (Internal Setup) กับการติดตั้งภายนอก (External Setup) ปะปนกันอยู่ มีความสูญเปล่าจากการรอคอย และการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น จึงหาแนวทางปรับปรุงโดยปรับขั้นตอนการทำงานด้วยหลักการ SMED (Single Minute Exchange of Die) แยกการติดตั้งภายนอกและการติดตั้งภายใน ทำให้สามารถลดเวลาในการติดตั้งแม่พิมพ์ได้เหลือ 45 นาที และปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อลดความสูญเปล่าในการเคลื่อนที่ของพนักงาน โดยใช้แผนภูมิกิจกรรม (Activity Chart) ทำให้สามารถลดเวลาการติดตั้งแม่พิมพ์ลงได้อีกเหลือ 33 นาทีหรือเท่ากับ 56% จากเวลาที่ใช้ในการติดตั้งก่อนการปรับปรุง
Full Text : Download! |
||
6. | การจัดทำและประยุกต์ใช้คู่มือการปฎิบัติงานในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกเพื่อลดความสูญเสียในการทำงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : โชติมา จุลศิริขจรชัย | ||
งานศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำและประยุกต์ใช้คู่มือการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก เพื่อลดความสูญเสียในการทำงาน โดยได้นำความรู้ทางด้านลักษณะและแนวทางการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เทคนิคการบริหารและแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร (PDCA) หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับกล่องกระดาษลูกฟูก และกระบวนการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกมาใช้ในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีศึกษา บริษัท K จำกัด และได้นำความรู้เกี่ยวกับความสูญเสียมาใช้ในการกำหนดดัชนี ชี้วัดผลทั้งก่อนและหลังการประยุกต์ใช้คู่มือการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก
ผลของการจัดทำ ประยุกต์ใช้ และอบรมคู่มือการปฏิบัติงานให้กับพนักงานกลุ่มตัวอย่าง ผลที่ออกมา คือ ของเสียที่เกิดจากการปฏิบัติงานลดลง และระยะเวลาในการปฏิบัติการตามจุดต่างๆลดลง แสดงให้เห็นว่าคู่มือการปฏิบัติงานถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดความสูญเสีย อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในการทำงาน ลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานไม่เป็นระบบ และช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงานได้
Full Text : Download! |
||
7. | ศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคน้ำมันไบโอดีเซลและพฤติกรรมในการเติมน้ำมัน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิสระ ยุตะวัน | ||
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคน้ำมันไบโอดีเซลและพฤติกรรมในการเติมน้ำมัน โดยวิธีการสำรวจใช้แบบสอบถามข้อมูล เป็นเครื่องมือในการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถที่มีพฤติกรรมในการเติมน้ำมันดีเซลธรรมดา/หรือน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งเป็นผู้อาศัยและมีภูมิลำเนา อาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการสุ่มแบบสอบถาม จำนวน 100 ราย นำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 76.0 มีอายุ 31 - 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.0 การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 67.0 มีรายได้ 30,001 - 40,000 บาท และใช้เครื่องยนต์ขนาด 2,501 - 3,000 ซีซี คิดเป็นร้อยละ 52.0 ผลการศึกษาพฤติกรรมในการเติมน้ำมัน พบว่า ปัจจุบันเลือกเติมน้ำมันไบโอดีเซลที่ใช้เป็นประจำคิดเป็นร้อยละ 70.0 เลือกเติมน้ำมันในช่วงเวลาเย็น-กลางคืน เลือกเติมน้ำมันที่สถานีบริการบางจาก คิดเป็นร้อยละ 36.9 มีความถี่เฉลี่ยต่อเดือน 3-4 ครั้ง และรู้จักน้ำมันไบโอดีเซลจากโทรทัศน์ ปัจจัยสำคัญมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก คือ ปัจจัยผลต่อเครื่องยนต์ ปัจจัยที่มีคะแนนน้อยที่สุด คือ ของแจก/แถม
ผลการศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อน้ำมันไบโอดีเซล พบว่า ส่วนใหญ่ในอนาคตจะเติมน้ำมันไบโอดีเซล คิดเป็นร้อยละ 82.0 เลือกเพราะราคาถูก มีเหตุผลที่ไม่เติมเพราะไม่มั่นใจในคุณภาพ โดยปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยที่ควรให้มีการเผยแพร่ข้อมูล/ข่าวสาร
เกี่ยวกับน้ำมันไบโอดีเซลมากขึ้น รองลงมา คือ ช่วยประเทศลดการนำเข้าน้ำมันได้ และน้อยที่สุด คือ สถานีบริการน้ำมันไบโอดีเซลมีไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยผลการศึกษา สมควรให้มีการเผยแพร่ข้อมูล/ข่าวสารเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำมัน
Full Text : Download! |
||
8. | การนำหลักการระบบการผลิตแบบลีน มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ กรณีศึกษา โรงงานผลิตการ์ดอวยพร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จุฑารัตน์ โฮ้งจิก | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นกรณีศึกษา โรงพิมพ์การ์ดอวยพร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการ และระยะเวลาในการผลิต โดยใช้แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) เพื่อหากระบวนการผลิตที่ใช้เวลานานที่สุด แผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา ที่ทาให้กระบวนการผลิตใช้เวลานาน และใช้แผนภูมิกระบวนการผลิต (Flow Process Chart) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการผลิต หลังจากนั้นจึงหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่โดยใช้หลักการ ECRS (Elimination, Combine, Rearrange, and Simplify) รวมทั้ง 5ส. ไคเซ็น (Kaizen) และการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทางาน
ผลที่ได้จากการศึกษา คือ เมื่อนา ECRS มาใช้พบว่า เวลาของกระบวนการปั๊มฟอล์ย ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานที่สุดถึง 127 นาที ลดลงเหลือ 74.3 นาที หรือคิดเป็น 58.29% และลดเวลาการผลิตรวมของทั้ง 4 กระบวนการจาก 393.97 นาที เหลือ 340.9 นาที หรือ 13.47% นอกจากนี้ การปรับปรุงด้วย 5 ส. ไคเซ็น (Kaizen) และการควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control) ยังส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น ลดการสูญหายของวัสดุและเครื่องมือ เพิ่มพื้นที่การทำงาน ลดการเคลื่อนไหวของพนักงาน และสามารถวางแผนการผลิตได้ล่วงหน้ารวมถึงยังมีมาตรฐานในการทำงานเพื่อสามารถกำหนดการปฏิบัติงานได้
Full Text : Download! |
||
9. | การประเมินศักยภาพขององค์กรในการประยุกต์ใช้ Enterprise Resources Planning (ERP) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กัญย์วัฏฌ์ ใจวงค์คำ | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เป็นการศึกษาถึงความพร้อมขององค์กรสำหรับการนำระบบ ERP มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น โดยการศึกษามุ่งเน้นไปถึงความพร้อมภายในองค์กรก่อนการนำระบบ ERP มาประยุกต์ใช้การศึกษาครั้งนี้เริ่มต้นจากการศึกษาถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยเสี่ยงใน การประยุกต์ใช้ ERP ว่ามีปัจจัยแห่งความสำเร็จใดบ้างที่องค์กรจำเป็นต้องมีความพร้อม เพื่อให้การประยุกต์ใช้ระบบ ERP ประสบผลสำเร็จและมีปัจจัยเสี่ยงใดบ้างที่อาจเกิดขึ้นในระหว่าง การประยุกต์ใช้ระบบ โดยทำการประเมินผลเพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดของปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยเสี่ยง นอกจากนั้นยังใช้หลักการวิเคราะห์ 8M’s ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารมาทำการวิเคราะห์ถึงความพร้อมภายในองค์กรซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยดำเนินการตรวจสอบเชิงลึกถึงความพร้อมของบริษัท ซึ่งผลสรุปคือ บริษัทตัวอย่างไม่มีความพร้อมในการประยุกต์ใช้ระบบ ERP เนื่องจากบริษัทยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ ทักษะความคิดในการบริหารงานโครงการและทักษะในการประเมินต้นทุนและควบคุมต้นทุน ซึ่งปัจจัยต่างๆที่กล่าวมานี้ส่งผลให้การประยุกต์ใช้ระบบมีโอกาสประสบผลสำเร็จ ถ้าไม่สามารถพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมดังที่กล่าวมาได้ บริษัทอาจไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคไปสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ ERP ภายในองค์กร
Full Text : Download! |
||
10. | การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการใช้ระบบการผลิตแบบลีน กรณีศึกษา โรงงานปิโตรเคมี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คมวิชญ์ พืชสะกะ | ||
การแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงในปัจจุบันทำให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆต้องเร่งปรับตัวเพื่อความอยู่รอด แนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Production Concept) จึงเป็นทางออกเพื่อช่วยลดต้นทุน ลดความสูญเปล่าและช่วยเพิ่มผลผลิตแก่กระบวนการผลิต โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ความสูญเสียที่ไม่ช่วยเพิ่มคุณค่าในกระบวนการผลิตที่ถูกซ่อนอยู่ภายในองค์กร ระบบการผลิตแบบลีนจะเข้าไปค้นหาความสูญเปล่านี้ให้ลดน้อยลง เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่ดีและก่อเกิดความพึงพอใจของลูกค้าสูงสุด
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำระบบการผลิตแบบลีนมาช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิตของอุตสาหกรรมแบบต่อเนื่อง กระบวนการผลิตสารเคมี A กรณีศึกษา โรงงานปิโตรเคมี โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคและเครื่องมือของระบบการผลิตแบบลีนที่เหมาะสม เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต โดยเน้นเรื่องการดำเนินงานและดัชนีชี้วัดผลของแต่ละเทคนิคและเครื่องมือที่เลือกใช้ตามแนวคิดการผลิตแบบลีน
ผลที่ได้ คือ ด้านมาตรฐานในกระบวนการผลิต โดยสามารถนำไปกำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งส่งผลดีต่อการเพิ่มผลผลิตในทุกๆด้านของบริษัท เช่น ลดงบประมาณในการก่อสร้างคลังเก็บวัสดุและอุปกรณ์ ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องจากพื้นที่ทำงานไม่เป็นระเบียบและสกปรกด้วยคราบน้ำมันหล่อลื่น ลดโอกาสการนำส่งผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอันเนื่องจากขาดมาตรฐานของการจัดเก็บ เป็นต้น ด้านค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต โดยสามารถลดความสูญเสียจากการใช้ปริมาณพลังงานไฟฟ้าลง 890,334 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี เป็นจำนวนเงิน 5,603,579 บาทต่อปี และด้านค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรอุปกรณ์ โดยสามารถลดอัตราการเกิดการสูญเสียลง 360 นาที ต่อระยะเวลา
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250