fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2015 |
1. | การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง โดยใช้ระบบ ERP กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องสำอาง ประเภท ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดวงหทัย ลิมตโสภณ | ||
การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ สำหรับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง โดยใช้ระบบ
ERP มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการรับเข้าและเบิกจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบของ
ฝ่ายคลังสินค้าในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา (ระบบ Excel) เปรียบเทียบกับการนำระบบการ
จัดการทรัพยากรขององค์กร (ERP) ในส่วนของโมดูล Inventory Control มาประยุกต์ใช้งาน
และเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของการบริหารจัดการสินค้าคงคลังของทั้ง 2 ระบบ รวมทั้ง
ศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการนำระบบ ERP (ERP PLUS 2010) เข้ามาประยุกต์ใช้งาน เพื่อทำให้
ทราบความคุ้มค่า ระยะเวลาคืนทุนของการนำระบบ ERP เข้ามาประยุกต์ใช้ รวมถึงทำให้พนักงาน
ของบริษัทกรณีศึกษาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการใช้ระบบ ERP โดยใช้เครื่องมือใน
การศึกษาและเก็บข้อมูล คือ ใบตรวจสอบ (Check Sheet) เพื่อศึกษาการลงข้อมูลในไฟล์Excel
ที่เจ้าหน้าที่คลังสินค้าใช้การบันทึกข้อมูลสินค้าคงคลังทั้งหมดในแต่ละกรณีการรับเข้า-เบิกจ่าย
สินค้าใช้แบบบันทึกเวลาในการเก็บข้อมูลบันทึกข้อมูลการรับเข้า-เบิกจ่ายสินค้าหรือวัตถุดิบ
และแบบบันทึกมูลค่าความผิดพลาดจากการบริหารจัดการวัตถุดิบคงคลัง ประเภทสารออกฤทธิ์
สำคัญ (Active Ingredient) เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบริหาร
จัดการสินค้าคงคลังของทั้ง 2 ระบบ
ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าหลังจากบริษัทได้มีการประยุกต์ใช้ระบบ ERP โปรแกรม
ERP PLUS 2010 ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ทำให้ระยะเวลาการบันทึกการรับเข้า-เบิกจ่าย
วัตถุดิบคงคลังลดลงจากเดิม (ระบบ Excel) ถึง 36 วันทำงานต่อปี คิดเป็นต้นทุนแรงงานที่ลดลง
เท่ากับ 21,600 บาท/ปีมูลค่าความคลาดเคลื่อนลดลง 337,200.30 บาท หรือคิดเป็น 96.90%
ซึ่งจะมีระยะเวลาคืนทุน (PB) ประมาณ 0.71 ปีหรื
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยในการตัดสินใจของพนักงานที่เลือกบริษัทขนาดใหญ่เข้าทำงาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัครพนธ์ สงวนสินวัฒนา | ||
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยในการตัดสินใจของพนักงานที่เลือกบริษัทขนาดใหญ่เข้าทำงาน
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกบริษัทขนาด
ใหญ่เข้าทำงานเพื่อนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการสรรหาบุคลากรของบริษัทขนาดใหญ่
ดำเนินการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์บนโปรแกรม Google Forms ที่พัฒนาขึ้นเพื่อ
สอบถามกับบัณฑิตของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทย -ญี่ปุ่น ที่จบ
การศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 ถึง 2557 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาด้วย
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความ
แตกต่างด้วย t- test และ ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านสัมพันธภาพในการทำงานมีระดับความสาคัญสูงสุด สูง
กว่าปัจจัยด้านสังคมและด้านผลตอบแทน โดยองค์ประกอบด้านสัมพันธภาพในการทำงาน ด้าน
ความมั่นคงของงาน และด้านความรับผิดชอบ มีความสาคัญ 3 อันดับแรกต่อการตัดสินใจเลือก
ทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของปัจจัยในการตัดสินใจเลือก
ทำงานกับบริษัทขนาดใหญ่ พบว่า เพศชายและหญิงให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้าน
ความสำเร็จในการทำงาน ด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านความ
รับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความแตกต่างในระดับอายุทำให้การตัดสินใจใน
องค์ประกอบด้านชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของบริษัทแตกต่างกัน องค์ประกอบด้าน
ค่าตอบแทนและสวัสดิการเป็นปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ที่มีอายุการทำงานที่แตกต่างกัน และ
ฐานเงินเดือนที่แตกต่างกันจะใช้ องค์ประกอบด้านเงินเดือน ความก้าวหน้าในอาชีพ ความ
รับผิดชอบ และด้านวิธีการปกครองและดูแลพนักงานในการตัดสินใจเลือกทำงานในบริษัท
ขนาดใหญ่ที่แตกต่าง
Full Text : Download! |
||
3. | การจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน กรณีศึกษาบริษัทผลิตรถยนต์ ABC [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนุพันธ์ วิทพันธ์ | ||
กรณีศึกษานี้ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และหาแนว
ทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำสาเหตุและการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินที่ได้จากการศึกษา
มาสร้างแบบสัมภาษณ์ซึ่งได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) แล้วทำ
การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลัง
ส่วนเกิน และวิธีการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินขององค์กรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเสนอ
วิธีการใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการในสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น
ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นปัจจัย
ที่ทำให้เกิดสินค้าคงคลังส่วนเกินเกิดขึ้นในโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่ง
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมขององค์กรเมื่อต้องเก็บสินค้าคงคลังส่วนเกินเป็นระยะเวลานาน
และการใช้พื้นที่จัดเก็บไม่เต็มประสิทธิภาพ
จากการศึกษาและค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า สาเหตุการเกิดสินค้าคงคลัง นั้น
มีสาเหตุได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่เฉพาะการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า หรือสภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยเท่านั้น แต่มาจาก เจ้าหน้าที่จัดซื้อส่งคำสั่งซื้อผิด เจ้าหน้าที่สั่งซื้อกลัวการหยุด
สายการผลิตจึงสั่ง ซื้อวัตถุดิบเข้ามามากๆ ฝ่ายขายพยากรณ์ความต้องการไม่แม่นยำส่งผลให้
การวางแผนวัตถุดิบผิดพลาด เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลที่ได้ศึกษามานำไปสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์
และทำการสัมภาษณ์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นสาเหตุหลักของการเกิด
สินค้าคงคลังส่วนเกิน ประกอบกับไม่ได้กำหนดนโยบายในการจัดการที่ชัดเจน ขาดการติดต่อ
ประสานงา
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพในการให้บริการ กรณีศึกษา บริษัทสอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุตินธร อนุกูล | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการบริษัทสอน
ภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่น และศึกษาถึงปัญหาของผู้มาใช้บริการเพื่อนำเสนอแนวทางใน
การพัฒนาบริการของบริษัทสอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่นซึ่งมีตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่
เพศ อายุ ภูมิภาค อาชีพ จำนวนครั้งที่เคยเดินทางมาประเทศไทย และจุดประสงค์ในการเรียน
ภาษาไทยส่งผลต่อระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของบริษัท
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 80 คน ด้วยหลักการทาโร ยามาเนะ ได้ใช้วิธีการคัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างตามสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลทั่ว ไปของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สถิติเชิงพรรณนา
ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการหาอิทธิพลของตัวแปรอิสระต่อตัวแปร
ตาม ใช้สถิติเชิงอนุมานโดยวิธี T-Test, One-way ANOVA, Welch และการเปรียบเทียบเป็น
รายคู่
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า อายุ อาชีพ และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อ
ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (Administration) เพศ อายุ
และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการ ด้าน
ผู้สอน (Instructor) อายุ และจุดประสงค์ในการเรียนภาษาไทยส่งผลต่อความพึงพอใจต่อ
คุณภาพการให้บริการ ด้านอุปกรณ์ สถานที่ และค่าใช้จ่าย (Facility & Expense)
สำหรับประเด็นความคิดเห็นเพิ่มเติมจากแบบสอบถามที่ได้รับการเสนอมากที่สุด คือ
คุณครูสอนสนุก แต่ละคนมีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง รองลงมา คือ ระดับภาษาญี่ปุ่นของ
คุณครูแต่ละคนไม่เท่ากัน
ในส่วนข้อเสนอแนะจากข้อมูลที่ทำการวิจัยนั้น ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่ม ระดับ
ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการบริษัทสอนภาษาไทยออนไลน์ให้กับคนญี่ปุ่น ในเรื่อง
การพัฒนาเนื้อหาของหนังสือ
Full Text : Download! |
||
5. | ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการให้บริการจัดส่งอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิรยา โตโพธิไ์ ทย | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมพฤติกรรม
และความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหาร กรณีศึกษา ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ
นำ มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยสถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่
ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้ค่าสถิติ T-test และค่าสถิติ F-test (One-
Way ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ LSD ทดสอบความสัมพันธ์
ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยใช้สถิติไคร์สแควร์ (Chi-Square)
ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ดเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มี
การศึกษาระดับปริญญาตรี นักเรียน/นักศึกษา มีสถานภาพโสด พักอาศัยอยู่บ้าน และมีรายได้
เฉลี่ย 15,001-25,000 บาทต่อเดือน บริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด 1-2 ครัง้ ต่อเดือน จากร้านเคเอฟซี
(KFC) มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง 301-500 บาท ความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหาร
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความมัน่ ใจได้ และด้านความเห็นอกเห็นใจ
ตามลำดับ
โดยปจั จัยส่วนบุคคล ได้แก่ อาชีพ สถานภาพสมรส รูปแบบที่พักอาศัย และรายได้
เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ความพึงพอใจต่อการให้บริการจัดส่งอาหารโดยรวม
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของความสัมพันธ์ พบว่า
วัตถุประสงค์ในการสัง่ อาหารเดลิเวอรี่มารับประทาน และร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่สัง่ บ่อยที่สุด
มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อความสามารถในการจัดส่งอาหารเดลิ
Full Text : Download! |
||
6. | การประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Functional Deployment : QFD) สำหรับการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อการลดต้นทุน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนสิชา เลิศอำพรไพศาล | ||
การศึกษานี้แสดงถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality
Function Deployment: QFD) เพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่สำหรับใส่ชิ้งงาน EI-152.4
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์ของ EI-152.4 โดยยังคงสภาพให้ตรงตามความ
ต้องการของลูกค้า การดำเนินการศึกษาเรมิ่ จากการศึกษาสภาพทัว่ ไป ข้อกำหนดผลิตภัณฑ์
และข้อกำหนดของลูกค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทาง จากนั้นจึงทำการศึกษาเสียง
ความต้องการของผู้ใช้งาน (Voice of Customer: VOC) จากทีมงานและตัวแทนลูกค้าเพื่อหา
คะแนนความสำคัญในแต่ละความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งานและ
คะแนนความสำคัญจะนำไปเป็นข้อมูลนำเข้าในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค QFD การวิเคราะห์
เทคนิค QFD แยกออกเป็น 2 เมตริกซ์คือ เมตริกซ์การวางแผนผลิตภัณฑ์โดยทำการแปลง
ความต้องการของผู้ใช้งานไปเป็นความต้องการทางเทคนิค และเมตริกซ์การออกแบบชิ้นส่วน
โดยทำการแปลงความต้องการทางเทคนิคไปเป็นข้อกำหนดคุณลักษณะของชิ้นส่วน หลังจาก
นั้นจึงนำข้อกำหนดคุณลักษณะของชิ้นส่วนไปปรับปรุงและทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบขึ้นมาเพื่อทำ
การทดลอง ทดสอบสมมติฐาน และยืนยันผลการออกแบบ ผลจากการทำบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ
และทดลองใช้ บรรจุภัณฑ์แบบใหม่สามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและ
สามารถลดต้นทุนได้ 286,800 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
7. | ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับหัวหน้างานฝ่ายผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นาฏอนงค์ เดชจินดา | ||
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับหัวหน้างาน
ฝ่ายผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับ
หัวหน้างานฝ่ายผลิต โดยแบ่งเป็น 1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ แผนก อายุ ระดับการศึกษา
ระดับเงินเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยองค์กร 6 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านระเบียบ
ปฏิบัติขององค์กร ปัจจัยด้านพื้นฐานหรือคุณภาพชีวิต ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านผลการ
ปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านหัวหน้างาน และ ปัจจัยด้านชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งความผูกพันต่อองค์กร
มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ การกล่าวถึงองค์กรในเชิงบวก การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และการมุ่งมั่น
และทุ่มเทในการทำงาน โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 110 ชุด ให้กับกลุ่มตัวอย่างและนำ
ข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และใช้สถิติการคำนวณพื้นฐาน โดยใช้
ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-
Way ANOVA) และการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วย Pearson Correlation
ผลจากการศึกษาพบว่าหัวหน้างานฝ่ายผลิตของบริษัทกรณีศึกษา ส่วนใหญ่มีระดับ
ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากต่อปัจจัยองค์กรทั้ง 6 ด้าน และ มีระดับความ
ผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนก อายุ และระยะเวลาการ
ปฏิบัติงานไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีเพียงปัจจัยด้านระดับการศึกษาและระดับ
เงินเดือนที่ต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยองค์กรทั้ง 6 ด้านล้วน
แล้วแต่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานทั้งสิ้น
Full Text : Download! |
||
8. | การดำเนินงานแยกศูนย์ต้นทุนตามความรับผิดชอบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นฤมล คำบุตรดี | ||
การจัดทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมต้นทุนและการลดค่าใช้จ่าย
ในกระบวนการผลิตของแต่ละไลน์การผลิตและแต่ละศูนย์ต้นทุนในกระบวนการผลิตโดยละเอียด
รวมถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุม
การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารในการประเมิน
ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละส่วนงาน
จากการศึกษาข้อมูลของแผนกแมชชีนนิ่งเหล็กพบว่า ในแผนกแมชชีนนิ่งเหล็ก
ประกอบไปด้วยแผนกที่ทำการผลิตส่วนประกอบต่างๆ ของรถจักรยานยนต์ออกเป็น 7 แผนก
ตามโครงสร้างขององค์กรแต่มีการใช้ศูนย์ต้นทุนในการคำนวณต้นทุนผลิตเพียง 4 ศูนย์ต้นทุน
ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบบัญชีนั้นไม่ถูกต้องเนื่องจากมีแผนก 4 แผนกที่ใช้ศูนย์
ต้นทุนเดียวกัน ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และระบุกิจกรรมตามขั้นตอนของระบบต้นทุน
ฐานกิจกรรมโดยมีการกำหนดความรับผิดชอบตามหน่วยงานที่เรียกว่า ศูนย์ความรับผิดชอบ
(Responsibility Center) ของแผนกแมชชีนนิ่งโดยใช้ศูนย์ต้นทุน (Cost Center) เป็นตัวระบุ
กิจกรรม ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของการปฏิบัติงานที่มีวัตถุประสงค์ของการทำงานอย่างชัดเจน
เป็นขบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หลังจากทำการปรับปรุง พบว่าการกำหนดศูนย์ต้นทุนให้กับแผนกต่างๆ ในฝ่ายแมชชีนนิ่ง
ออกเป็นหน่วยย่อยตามหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดส่งผลให้จากเดิม
แผนกแมชชีนนิ่งซึ่งมีส่วนงานทั้งหมด 7 ส่วนงานมีศูนย์ต้นทุนที่ใช้4 ศูนย์ต้นทุน เมื่อทำการ
เคราะห์และระบุกิจกรรมใหม่ทำให้แผนกแมชชีนนิ่งเหล็กมีส่วนงานเพิ่มขึ้นเป็น 9 ส่วนงาน และ
มีศูนย์ต้นทุน 9 ศูนย์ต้นทุนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
Full Text : Download! |
||
9. | ปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร IT กรณีศึกษา บริษัท XYZ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นที อังคณาวิศัลย์ | ||
การศึกษาปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร IT กรณีศึกษาบริษัท XYZ
จำกัดนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการธำรงรักษาบุคลากรขององค์กร และนำข้อมูลที่ได้
จากการศึกษาวิจัยไปประกอบการวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ทำการ
เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สำเร็จรูปทางสถิติ
(SPSS)
ผลการศึกษาทำให้ทราบว่า ในความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึง
พอใจพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลโดยรวมทั้งหมดไม่มีผลต่อความพึงพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่าง
ความพึงพอใจกับการธำรงรักษาพบว่า มี 2 ปัจจัยความพึงพอใจที่มีผลต่อการธำรงรักษา
บุคลากรภายในองค์กร ได้แก่ 1.ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน 2.เงินเดือน สวัสดิการของบริษัท
และอื่นๆ และยังพบว่าบุคลากรที่มีช่วงอายุ 36-40 ปีที่จะไม่อยู่ต่อค่อนข้างสูง
เนื่องจากพบว่ามี 2 ปัจจัยความพึงพอใจที่มีต่อการธำรงรักษาบุคลากรภายในองค์กร
จึงมีการวางแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยมีการจัด Team-Building
และการกำหนดนโยบายค่าตอบแทนที่มีเหตุและผล ทั้งหมดเพื่อความเข้าใจของพนักงานของ
องค์กร
Full Text : Download! |
||
10. | การลดเวลาปรับตั้ง เครื่องจักรโดยใช้เทคนิค SMED กรณีศึกษา กระบวนการไฟน์แบล๊งกิ้งค์ เพลส [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นิรัญ จีระสะ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการไฟน์แบล๊งกิ้งค์
เพลส โดยการลดเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิต การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นว่าการ
ปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนรุ่นการผลิตของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตนั้นมีกิจกรรม
หลากหลายที่ต้องดำเนินการ การปรับตั้งที่ใช้เวลานานนำไปสู่ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ
การศึกษาในครั้งนี้ประยุกต์ใช้หลักการ การใช้เวลาเปลี่ยนรุ่นเป็นเลขนาทีหลักเดียวหรือ Single
Minute Exchange of Dies (SMED) เป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้เพื่อต้องการลดเวลาที่ใช้ใน
การติดตั้งจากปัจจุบันให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เทคนิคการวิเคราะห์
ปัญหา ทำไม ทำไม รวมถึง เทคนิคการปรับปรุงงาน ECRS (การกำจัด, การรวม, การจัดลำดับ
ใหม่, การทำให้ง่าย) ใบวิเคราะห์การลดเวลาการติดตั้งและแผนภูมิคนและเครื่องจักรได้ถูก
นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์กระบวนการ
ก่อนที่จะดำเนินการปรับปรุงกระบวนการเป้าหมายใช้เวลาในการปรับตั้งเพื่อเปลี่ยน
รุ่นการผลิตอยู่ที่ 161 นาที ซึ่งยังมีการปะปนกันอยู่ของงานภายในและงานภายนอก หลังจาก
ประยุกต์ใช้หลักการ SMED ในการปรับปรุงเวลาที่ใช้ในการปรับตั้ง เพื่อเปลี่ยนรุ่นการผลิตลดลง
เหลือ 59 นาที ซึ่งคิดเป็น 63.4 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้แล้วแนวทางการปรับปรุงนี้ยังสามารถ
นำไปขยายผลต่อไปยังสายการผลิตอื่นๆ ได้อีกด้วย
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250