fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IM) 2015 |
1. | การศึกษาการจัดสมดุลสถานีงาน สายการผลิตJ02C Camera กรณีศึกษา :บริษัท มูราคามิแอมพาส (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญรักษา แสงมณี | ||
โครงงานสหกิจฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสายการผลิต จัดสมดุลการผลิตและลดขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า โดยลดความสูญเปล่าที่จะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต กำจัดทุกกระบวนการที่ไม่มีคุณค่าเพิ่มและไม่มีความจำเป็นในตัวผลิตภัณฑ์ ใช้ในการบริหารการจัดการที่มีประสิทธิผล มุ่งการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จากการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกคน บุคลากรทุกระดับและการจัดสมดุลการผลิต โดยเลือกใช้หลักการจัดสมดุลสายการผลิตด้วยการจัดสรรเวลาและการ balance line โดยใช้ทฤษฎี ECRS เข้ามาใช้เพื่อทำการปรับปรุงสมดุลงานให้กับพนักงานใหม่กับพนักงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
จากการที่ได้ทำการปรับปรุงพบว่า สามารถลดเวลาการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าของพนักงานทั้งหมด 5 คน จากเดิม 285.2 วินาที/วัน เหลือ 279.5 วินาที /วัน และ ลดรอบเวลาในการผลิตต่อชิ้น จากเดิม 61.5 วินาที/ชิ้น เหลือพียง 57.4วินาที/ชิ้น และปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 443.9 ชิ้น/วันเป็น 475.6 ชิ้น/วัน ผลการจัดสมดุลสายการผลิตทำให้เวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนสมดุลกัน และประสิทธิภาพของสายการผลิตเพิ่มขึ้น 7%
Full Text : Download! |
||
2. | การปรับปรุงมาตรฐานแยกเอกสารอินวอยซ์ส่งสินค้าสายต่างจังหวัด กรณีศึกษา บริษัท โมเดิรน์คาส อินเตอร์เนชั่นแนล คอสเมติคส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จีราวัฒน์ มาศวรรณา | ||
ในรายงานฉบับนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในแผนกคลังสินค้าสำเร็จรูป ถึงปัญหาในการแยกเอกสารอินวอยซ์ผิดพลาด จึงทำให้เอกสารที่แยกผิดถูกตีกลับจากบัญชีฝ่ายคลัง และส่งผลกระทบให้การขนส่งล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการรอแยกเอกสารใหม่ จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและการเก็บข้อมูลนั้นสรุปได้ว่า ไม่สามารถแก้ไขที่การทำงานของพนักงานได้ จึงได้ทำการแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดทำการปรับปรุงมาตรฐานการแยกเอกสารอินวอยซ์สายต่างจังหวัดโดยการตัดหัวกระดาษอินวอยซ์ของแต่ละบริษัทและแยกสีในแต่ละส่วนพร้อมระบุข้อมูลให้ชัดเจนติดไว้บนมุมโต๊ะให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องจากผลการดำเนินงานปรับปรุง พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดจำนวนความผิดพลาดในการแยกเอกสารอินวอยซ์สำหรบสายต่างจังหวัดทั้งหมด 112 ครั้งต่อเดือน เกิดความผิดพลาด 26 ครั้ง ต่อเดือน ผลที่ได้สามารถลดความผิดพลาดเหลือ 14 ครั้งต่อเดือน
Full Text : Download! |
||
3. | การพัฒนาระบบการจองระวางสินค้าสาหรับการขนส่งทางอากาศ ของสายการบินไทเกอร์ แอร์เวย์ บริษัท อีเกิลล์ แอร์แอนด์ซี (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : โชษิตา เกียรติชัยวัฒน์ | ||
โครงงานสหกิจศึกษา การพัฒนาระบบจองระวางสินค้าสำหรับการขนส่งทางอากาศของสาย
การบิน ไทเกอร์ แอร์เวย์ จัดทำ ขึ้นเพื่อพัฒนาระบบการจองระวางสินค้าให้เป็นระบบ Online ทำให้การ
ใช้งานมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการทำงานของพนักงานให้มีความสะดวกใน
การทำงานในการลงข้อมูลการจองระวางสินค้าและตรวจสอบตารางการประมาณน้า หนักสินค้าในแต่
ละวัน ด้วยเหตุนี้จึงได้จัดทำ และพัฒนาเว็บไซต์ โดยใช้โปรแกรม Dreamweaver และภาษา PHP jQuery
และ CSS ประยุกต์ใช้กับ Google forms และ Google sheets ระบบนี้ยังสามารถใช้งานผ่าน Application
ทั้งในระบบ iOS และ Android
จากการศึกษาและพัฒนาเว็บไซต์และทดลองทำการปฏิบัติจริง พบว่าพนักงานในแผนก
Customer service สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้นในการลงข้อมูลการจอง ทั้งยังสนับสนุนการทำงาน
ของพนักงานดูแลข้างเครื่องเพื่อตรวจสอบตารางการประมาณสินค้าในแต่ละวันผ่าน Application
Google sheet ได้อีกด้วย
Full Text : Download! |
||
4. | การจัดทำมาตรฐานการทำงานของพนักงานเติมงาน กรณีศึกษา สายการผลิต Register 650A บริษัท ไดวา คาเซอิ (ไทยแลนด์) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : โชติกา โตมาซา | ||
จากการที่ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการทำงานของ Supporter สายการผลิตRegister 650 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำมาตรฐานการทำงานของ Supporter เพื่อลดรอบเวลาการทำงาน 1 รอบกระบวนการของ Supporter ที่กลับมาเติมงานไม่ทันและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานประกอบซึ่งการดำเนินการจัดทำมาตรฐานการทำงานของ Supporter นั้น กำหนดรอบการเติมงานทุก 16 นาทีที่พนักงานจะต้องกลับมาเติมงานและได้จัดทำรถเข็นมาช่วยในการเบิกงานและเติมงานผลการดำเนินงานพบว่าพนักงานกลับมาเติมงานได้ทันเวลา สามารถผลิตชิ้นงานเพิ่มขึ้น 8 ชิ้นต่อกะจาก 288 ชิ้นต่อกะเป็น 296 ชิ้นต่อกะ และพนักงานสามารถทำงานได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Full Text : Download! |
||
5. | ปรับปรุง STANDARDIZER WORK แผนกตรวจสอบคุณภาพด้วยสายตา บริษัทบางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุติกาญจน์ ร่มบุญ | ||
จากการศึกษาการทำงานของพนักงานแผนกการตรวจสอบคุณภาพด้วยสายตา โดยใช้ทฤษฏีการศึกษาการศึกษากระบวนการ เพื่อค้นหาปัญหา นำมาวิเคราะห์ด้วย Why-Why Analysis ค้นหาแนวทางในการปรับปรุงในการลด MUDA การทำงานของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนตรวจสอบคุณภาพด้วย โดยมีการจัดทำเป็นเอกสารมาตรฐานการทำงาน และ STANDARDIZER WORK กำหนด Cycle Time ที่พนักงานทำได้ และ เพื่อนำไปใช้อ้างอิงเป็นฐานข้อมูล สำหรับการคำนวนวางแผนการผลิต การตรวจสอบชิ้นงาน
จากผลการดำเนินงานการจับเวลาการทำงาน เพื่อจัดทำมาตรฐานการทำงาน เวลาการทำงานใหม่พบว่า ในชิ้นงาน F044 ใช้เวลาในการตรวจสอบชิ้นงานเหลือ 1.89sec จากเดิม 4.091sec ลดลง 73% และประสิทธิภาพการตรวจสอบชิ้นงานเพิ่มขึ้น 73 %และสามารถขยายผลการปรับปรุงกระบวนการการตรวจสอบไปยังModel อื่นๆได้ อีกด้วย และรวบรวมจัดทำเป็นเอกสามารมาตรฐานการทำงาน เป็นแนวทางให้สามารถนำไปขยายผลในModel อื่นๆ
Full Text : Download! |
||
6. | การปรับปรุงมาตรฐานกระบวนการเปิดใบสั่งขาย กรณีศึกษา บริษัท เอส ที คอนโทรล จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิตรกานต์ สายฟ้า | ||
ในรายงานการศึกษาฉบับนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในแผนก ควบคุมไฟฟ้าและระบบสายส่ง ถึงปัญหาด้าน ความสูญเปล่า การทำงานซ้า ในกระบวนการเปิดใบสั่งขาย ที่เกิดปัญหาความผิดพลาดในการจัดทำเอกสารผิดพลาด และการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ จึงทำให้สูญเสียเวลาในการทำงาน จึงทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและการเก็บข้อมูลนั้นสรุปได้ว่า สามารถแก้ไข กระบวนการให้ดีขึ้นได้จึงได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานในการทำงาน ปัญหาดังกล่าว ด้วยหลักการ 5 ส การจัดการโครงสร้างองค์กร ในการแก้ไขแบบฟอร์มใบส่งมอบงาน เพื่อให้ลดความผิดพลาดของเอกสาร มีการใส่ข้อมูลที่ครอบคลุมและชัดเจนไม่ให้เกิดความครุมเครือ และจัดการแก้ไขการจัดเก็บเอกสารให้เป็นระบบ โดยการใช้หลัก 5 ส จัดทำใบบันทึกการจัดเก็บเอกสารและทำโฟลวใหม่ในการเก็บเอกสาร จากผลดำเนินงานปรับปรุง หลังจากการใช้แบบฟอร์มใหม่พบว่า ปริมาณเอกสาร ที่ถูกตีกลับของโครงการ เดอะซี ลดลงจากเดือนละ 50 แผ่น จากเป้าหมาย 22 แผ่น หลังการปรับปรุง เดือนละ 18 แผ่นและโครงการเอราวัณ จากเดือนละ 30 แผ่น ต่อเดือน จากเป้าหมาย 15 แผ่น หลังการปรับปรุง เดือนละ 10 แผ่น แบบฟอร์มใหม่ ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทในการทำงาน อีกวัตถุประสงค์จัดทำระบบในการจัดเก็บเอกสาร เพื่อให้การทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย ก่อนหน้านี้ ใช้เวลา เฉลี่ย 7นาทีต่อ 1ครั้ง ตั้งเป้าหมาย 4 นาทีต่อแผ่น ผลหลังการปรับการปรุงเหลือ 2 นาที ต่อแผ่น
Full Text : Download! |
||
7. | การปรับปรุงมาตรฐานการดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ กรณีศึกษา บริษัท เอสที คอนโทรล จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มินตรา เลาะหนับ | ||
ในรายงานการศึกษาฉบับนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาในแผนกจัดซื้อ ถึงปัญหาในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ล่าช้า ที่เกิดปัญหาจากการแนบเอกสารของงานโครงการ จึงทำให้เกิดความผิดพลาดจากการแนบเอกสาร และทำให้พนักงานทำงานซ้าซ้อน จากการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและการเก็บข้อมูลนั้นสรุปได้ว่า ไม่สามารถแก้ไขที่การทำงานของพนักงานได้ จึงได้ทำการแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและขอบเขตในการทำงาน เพื่อเป็นการลดจำนวนความผิดพลาดจากการแนบเอกสารของงานโครงการ รวมถึงการทำเป็นมาตรฐานการทำงานในกระบวนการเบิกจ่ายเงินให้กับซัพพลายเออร์ให้แก่พนักงานแผนกจัดซื้อ
จากผลการดำเนินงานปรับปรุง พบว่า สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างประสิทธิภาพช่วยลดจำนวนผิดพลาดในการแนบเอกสารจากเบิกจ่ายสำหรับงานโครงการจากการเบิกจ่ายทั้งหมด 37 ครั้งต่อเดือน เกิดความผิดพลาด 12 ครั้งต่อเดือน จนสามารถลดความผิดพลาด เหลือ 6 ครั้งต่อเดือน
Full Text : Download! |
||
8. | การป้องกันชิ้นส่วนนาเข้าจากต่างประเทศไม่เพียงพอสาหรับการผลิต กรณีศึกษา บริษัท คาวาซากิ มอเตอร์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธันยพร สุพงษ์ | ||
รายงานสหกิจนี้จัดทำเรื่องการป้องกันชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศไม่เพียงพอสำหรับการผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศให้เพียงพอสำหรับการผลิต และเติมเต็มชิ้นส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศให้ทำกับแผนการผลิต ขอบเขตการศึกษากรณีชิ้นส่วนนำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับสายการผลิตการประกอบ 2 ด้านการปฏิบัติการ เรื่องของชิ้นส่วนในระบบกับ Actual ไม่ตรงกัน ได้ทำการสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดโดยการกำหนด Code สาหรับ Scrap Part และ Adjust stock เข้าระบบ A/S400 ในการสร้างระบบขึ้นมาจะช่วยเพิ่มความแม่นยาและความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน จากการศึกษาและการเก็บข้อมูล จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ชิ้นส่วนไม่เพียงพอสาหรับการผลิต มาจากการความผิดพลาดในการส่งเอกสารบางครั้งเอกสารสูญหายหรือมีการส่งเอกสารล่าช้าทำให้ไม่สามารถสั่งซื้อชิ้นส่วนเข้ามาเติมเต็มได้ จึงส่งผลให้กำลังการผลิตลดลงประกอบได้ไม่ตรงตามแผนที่กำหนดไว้
ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานพบว่าจากการใช้ข้อมูลย้อนหลังของเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน เกิดเวลาที่ทำให้สายการผลิตหยุดทำงานเป็นเวลาเฉลี่ย 82 นาที สามารถการผลิตรถจักรยนยนต์ได้เป็นจำนวน 12 คัน คิดเป็นมูลค่า 2,388,095 บาท หลังจากที่ได้ทำการปรับปรุงในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สายการผลิตหยุดการทำงานเป็นเวลาเฉลี่ย 33 นาที สามารถการผลิตรถจักรยนยนต์ได้เป็นจำนวน 3 คัน คิดเป็นมูลค่า 1,367,500 บาท สามารถลดค่าเสียโอกาสได้ 1,020,595 บาท
Full Text : Download! |
||
9. | การควบคุมความปลอดภัย กรณีศึกษาบริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พุทธิพงษ์ บุญญะพีรพัฒน์ | ||
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงด้านความปลอดภัยให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างครอบคลุมและเพื่อทำการวิเคราะห์ประสิทธิภาพโดยนำ Worksite Control Evaluation มาเป็นเครื่องมือ จากการศึกษาสภาพปัจจุบันทางกระบวนการเชื่อมงานไลน์ Robot สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน จึงได้ทำการประเมิน ซึ่งได้คะแนนการประเมิน จากเต็ม 25 ได้ 5 คะแนน จึงได้ทำการปรับปรุงเพื่อให้การปฏิบัติงานนั้นมีการควบคุมด้านความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ โดยทำการวิเคราะห์ เก็บรวบรวมข้อมูล และนำเสนอแนวทางการปรับปรุง
จากการปรับปรุงด้านความปลอดภัยสามารถเพิ่มคะแนนการประเมินจาก 5 เป็น 20 คะแนนโดยสามารถแสดงให้เห็นมาตรฐานการทำงานได้อย่างชัดเจนครอบคลุม,มาตรฐานการสวมใส่อุปกรณ์ PPE , การตรวจสอบเครื่องจักร , การสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และ มาตรฐานการควบคุมความปลอดภัย ของพนักงานไลน์เชื่อมงาน Robot ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจการควบคุมความปลอดภัยจาก 64.44% โดยเฉลี่ยเป็น 84.88% และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินด้วย
Full Text : Download! |
||
10. | การปรับปรุงกระบวนการและลดเวลาการเบิกจ่ายพัสดุอากาศยาน กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปิยวัฒน์ อยู่สบาย | ||
การปรับปรุงพื้นที่การทำงานที่ส่งผลให้การดำเนินงานการเบิกจ่ายพัสดุอากาศยานล่าช้า โดย
เลือกจากขั้นตอนที่มีเวลาในการดำเนินงานมากที่สุดก็คือแผนก Packing โดยการจัดระเบียบชั้นวาง
สินค้าและพื้นที่การทำงานโดยรอบ จากเดิมที่มีสินค้าตกหล่นจากการขนส่งและอุปกรณ์สำนักงาน
วางอยู่บนชั้นวางอยู่จำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถวางสินค้าบนชั้นวางได้หมด จึงต้องวางสินค้า
บริเวณทางเดินซึ่งส่งผลให้ไม่สะดวกในการทำงาน ทำให้มีเวลาการดำเนินงานเกินกว่าเวลา
มาตรฐานถึงร้อยละ 420
ใช้กิจกรรม 5ส และหลักการ ECRS มาจัดระเบียบชั้นวางสินค้าและบริเวณพื้นที่การทำงาน
ทำให้เวลาการทำงานขั้นตอนการแยกสินค้าตามปลายทางลดลงจากเดิม 1,290 วินาทีลดลงเหลือ
988 วินาที คิดเป็นร้อยละ 23.41 และเวลาการทำงานรวมลดลงจากเดิม 190.5 นาที ลดลงเหลือ 183.6
นาที คิดเป็นร้อยละ 3.62 และยังทำให้สามารถลดจำนวนสินค้าที่วางบนพื้นลดลง และไม่มีสินค้าตก
หล่นจากการขนส่ง
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250