fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (PE) 2013 |
1. | พัฒนาเงื่อนไขการเชื่อมสำหรับวัสดุชนิดใหม่ โดยใช้กระบวนการ เชื่อมแบบต่อชน กรณีศึกษา บริษัทสยามยูไนเต็ดสตีล (1995) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อดิศา ประพันธ์วรคุณ | ||
การพัฒนาเงื่อนไขการเชื่อมสาหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product) โดยกระบวนการเชื่อมแบบต่อชน (Flash Butt Welding) อยู่บนหลักการพื้นฐานที่ใช้กระแสไฟฟ้าหลอมปลายแผ่นเหล็กทั้งสองข้าง แล้วเชื่อมติดกันด้วยแรงกดอัดสูง โดยหลักการนี้จะเกี่ยวข้องกับหลายตัวแปรทั้งในแง่วัสดุ (Thickness , Width , Chemical composition) , กระแส (Flash Time) , แรงกดอัด (Upset Time , Upset Length) สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ (Hi-tensile material for galvanize steel sheet) ที่จะทำการผลิตบนสายการผลิต CDCM ยังไม่มีเงื่อนไขการเชื่อมสำหรับการผลิตแต่อย่างใด จึงเป็นที่มาของการศึกษาและทดลองตัวแปร (Flash time , Upset Time , Upset Length) และก่อนที่จะนำไปใช้ในการผลิตจริงจะต้องทำการทดลองและทดสอบรอยเชื่อมโดยกระบวนการที่เรียกว่า Erichsen Test (การทดสอบต้องไม่มีการแตกตามรอยเชื่อม) และ Tensile Test (ต้องมีความต้านทานแรงดึงมากกว่า 180 N/mm2) เพื่อให้มั่นใจว่ามีความแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่เกิดปัญหาระหว่างการผลิตต่อไป
จากการนำเงื่อนไขการเชื่อมที่ได้พัฒนาไปใช้ในการจริง โดยใช้เงื่อนไขการเชื่อมที่ผ่านการทดสอบนั้น พบว่ารอยเชื่อมมีความสมบูรณ์ และ ไม่เกิด Strip break ในระหว่างการผลิต ซึ่งจะนำมาพิจารณา เพื่อทำเป็นเงื่อนไขมาตราฐาน (Conditions Standard) ในการผลิต
Full Text : Download! |
||
2. | การปรับปรุงและพัฒนาชุดการอุ่นแม่พิมพ์ทราย กรณีศึกษา บริษัท เอนไก ไทย จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรรถชัย ศรีสอาด | ||
จากการศึกษาชิ้นงานทรายไส้แบบ(Sand Core) พบว่าสีของชิ้นงานมีผลทำให้เกิดของเสีย ซึ่งสีชิ้นงานที่ผ่านจะต้องอยู่ในช่วงมาตรฐานของสีไส้แบบ(Sand Colour) เนื่องจากชิ้นงานทรายไส้แบบ(Sand Core) จะต้องผ่านกระบวนการด้วยความร้อนจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงมาตรฐานจึงจะส่งผลต่อสีของชิ้นงาน
รายงานการปฏิบัติงานนี้ทำการติดตั้งชุดการอุ่นแม่พิมพ์ทรายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานทรายไส้แบบ(Sand Core) เพื่อแก้ปัญหาการเกิดชิ้นงานเสียไม่ตรงตามมาตรฐานของสีไส้แบบ(Sand Core) ส่งผลให้เกิดการลดอัตรางานเสีย เพิ่มอัตรางานผ่าน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นฐานการผลิตของ บริษัท เอนไก ไทย จำกัด โดยใช้หลักการการควบคุมการส่งแก๊สธรรมชาติและอากาศที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอุ่นแม่พิมพ์ทรายในกระบวนการทำทรายไส้แบบ(Sand Core) ซึ่งหลักการทำงานคือเมื่ออุณหภูมิการอุ่นแม่พิมพ์ทรายสูงถึง350 องศาเซลเซียสTemperature Controllerก็จะควบคุมSolinoidvalveให้ตัดการส่งแก๊สธรรมชาติและอากาศเพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน350 องศาเซลเซียสและเมื่ออุณหภูมิการอุ่นแม่พิมพ์ทรายต่ำลงถึง280 องศาเซลเซียส Temperature Controllerก็จะควบคุมSolinoidvalveให้ส่งแก๊สธรรมชาติและอากาศเพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า280 องศาเซลเซียสทั้งนี้Solinoidvalveจะทำการเปิดและปิดจึงจะต้องมีท่อขนาดเล็กสำหรับส่งแก๊สธรรมชาติและอากาศเพื่อรักษาไม่ให้เปลวไฟดับ
Full Text : Download! |
||
3. | มาตรฐานในการปฏิบัติงานการหล่อโลหะ และการปรับปรุงแก้ไข เพื่อลดของเสีย และสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานของกระบวนการหล่อ กรณีศึกษา บริษัท เควายบี (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จารุพรรณ เย็นใจดี | ||
ศึกษารายละเอียดและเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงานในกระบวนการหล่อโลหะ เพื่อจัดทำเอกสารคู่มือในการสอนพนักงาน และศึกษาชิ้นงานแต่ละรุ่นและชนิดของของเสีย เช่น งานร้าว, รูโหว่, รอยกระแทกขีดข่วน, Pin hole, Blown hole ฯลฯ เป็นต้น นำมาวิเคราะห์โดยใช้หลักการ QC Tool นำข้อมูลที่ได้เขียนลงใน Fish Bone Diagram และหาสาเหตุของปัญหาเพื่อลดของเสียในกระบวนการ จากการวิเคราะห์ได้ทำการเปลี่ยนอุณหภูมิแม่พิมพ์ของ Model XC602 และ Model 54S จาก 300±20 องศา และ 280±20 องศา เป็น 320±10 องศา และ 300±10 องศา ตามลาดับ และ Core Time ของ Model XC602 และ Model 54S จาก 70 sec (ทั้งสอง Model) เป็น 85/95 sec และ 95 sec ตามลำดับ
จากการดำเนินงานได้จัดทำเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานมาตรฐานของพนักงานและ ปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องมือ วิธีการทำงานของพนักงานในสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากการเปลี่ยนอุณหภูมิแม่พิมพ์ และ Core Time ของเครื่องจักร ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ทำให้ของเสียทั้งหมดในสายการผลิตเดือนสิงหาคมลดลง จาก 7,650 ชิ้น เหลือ 2,966 ชิ้น หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จาก 6.3% เหลือ 4.6% ซึ่งส่งผลให้ค่าความเสียหายจากกการผลิตชิ้นงานเสียลดลงด้วย จาก 254,745 บาท เหลือ 164,613 บาท รวมเป็นจำนวนเงินที่ลดลงทั้งสิ้น 90,132 บาท
Full Text : Download! |
||
4. | การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิต GD-P3 (Line_sub) : กรณีศึกษา บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด พ.ศ.2556 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชวิศา เกียรตินีรนาท | ||
จากวัตถุประสงค์ของโครงงานนี้คือเพื่อศึกษาการทำงานของพนักงานในสายการผลิตโดยใช้ทฤษฎีการศึกษาเวลาการทำงานและใช้แผนภาพต่างๆเพื่อค้นหาสภาพปัญหาและนำมาวิเคราะห์ด้วย Why-Why analysis ค้นหาแนวทางการปรับปรุงในการลดความสูญเปล่าจากการทำงานและลดเวลาการทำงานของพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิต โดยการกำหนด Buffer Stock เพื่อทดแทนความสูญเปล่าในส่วนของ การรอการแก้ไขเครื่องจักรที่ขัดข้องและทำการหยุดการผลิตเป็นเวลาตั้งแต่ 10 นาที จนถึง 2 ชั่วโมง และในโครงงานนี้ยังได้นำเครื่องมือและแนวคิดของระบบการผลิตแบบโตโยต้ามาใช้ทำการปรับภาระงานของพนักงานด้วยวิธีการทำ Line Balancing เพื่อปรับสมดุลงาน ลด Cycle time ลดจำนวนพนักงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสายการผลิต จากการปรับปรุงการทำงานของพนักงานสามารถลดความสูญเปล่าจากการรอการแก้ไขเครื่องจักรที่ทำการหยุดการผลิตจาก 22.29% เหลือ 11.03% และลด Cycle time ของการทำงานของพนักงานในสายการผลิตจาก 90.7 วินาที เป็น 85 วินาที ตามเป้าหมาย และสามารถลดจำนวนพนักงานในสายการผลิตจาก 7 คน ให้เหลือ 6 คน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานของสายการผลิตโดยเฉลี่ยจาก 53.60% เป็น 63.77%
Full Text : Download! |
||
5. | การติดตั้งชิ้นงานและการผลิตชิ้นงานอย่างถูกต้อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชวดล กิจนิธิกุล | ||
โครงงานการศึกษาฉบับนี้ ได้กล่าวถึงการติดตั้งชิ้นงานในการผลิตสำหรับเตรียมการตัดชิ้นงาน ในงานเครื่องจักร CNC โดยสายการผลิตที่ได้ทำการศึกษานี้คือสายการผลิตของชิ้นส่วนของ FRAME(เป็นส่วนฐานของเครื่อง GIRNDING)FR-106CA,FR-105CA,FR-104CA,FR-84CA,FR-66CA,FR-64CA,FR-63ST,OGM-390 ที่เป็นส่วนประกอบของ GIRNDINGMACHINE เพื่อลดข้อผิดพลาดในการติดตั้งชิ้นงาน เพิ่มความรวดเร็วในการติดตั้งชิ้นงาน และยังสะดวกต่อการตั้งค่าของโปรแกรมอีกด้วย FRAME ในโครงงานนี้มีวิธีการ OFFSET ที่เป็นแบบของตังเอง
ในโครงงานการศึกษาฉบับนี้จึงได้มีการแสดงถึงขั้นตอนการติดตั้งชิ้นงานของการทำงานของ MACHINE ตั้งแต่การวางจิ๊กไปจนถึงการวางชิ้นงานแล้วแค้มชิ้นงานก่อนการ OFFSET ชิ้นงาน
Full Text : Download! |
||
6. | ปรับปรุงกระบวนการประกอบ GARNISG TAIL GATE RF10 เพื่อลดเวลารอบการทำงาน กรณีศึกษา บริษัท ฮิตาชิ เคมิคัล ออโตโมทีฟ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชยานนท์ แจ้งสุข | ||
จากการศึกษากระบวนการผลิต Garnish Tail gate RF10 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ในสายการผลิต และพบปัญหาการปฏิบัติงานในสถานีการประกอบ Garnish Tail gate RF10 ที่มีความล่าช้าในการทำงาน จึงต้องมีการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน และศึกษาวิธีการปฏิบัติงานในสถานีการประกอบ Garnish Tail gate RF10 เพื่อกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
การดำเนินการปรับปรุงวิธีปฏิบัติงานในสถานีการประกอบ Garnish Tail gate RF10 ได้ใช้หลัก 4M ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก Man, Method, Machine และใช้หลักการทางการศึกษางานในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีการใช้เครื่องมือและวิธีการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ จึงได้ทำการออกแบบเครื่องมือและวิธีปฏิบัติงานใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน จึงทำให้เวลาปฏิบัติงานในกระบวนการประกอบ Garnish Tail gate RF10 ทันเวลาปฏิบัติงาน และไม่ต้องมีการทำงานล่วงเวลาของพนักงานอีกต่อไป สามารถวัดผลได้ด้วยประสิทธิภาพแรงงานที่เพิ่มขึ้นเป็น 0.00371 จาก 0.00283 (เพิ่มขึ้น 0.00088)
Full Text : Download! |
||
7. | ศึกษาและปรับปรุงกระบวนการทดสอบความต้านทานแรงกระแทก : กรณีศึกษา บริษัท ฮิตาชิ เคมิคัล ออโตโมทีฟ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชิตพล ไชยวัฒน์ | ||
จากการศึกษากระบวนการทดสอบประสิทธิภาพชิ้นงานหลังจากการผลิตในส่วนของการทดสอบความต้านทานแรงกระแทก พบว่าในกระบวนการทดสอบยังมีจุดบกพร่องซึ่งเกิดจากเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบ และในบางครั้งผลการทดสอบมีความคลาดเคลื่อนสูง มีผลทำให้ชิ้นงานที่ไม่มีคุณภาพหลุดรอดจากกระบวนการผลิต และเกิดความเสียหายต่อลูกค้าได้
ดังนั้น จึงทำการปรับปรุงกระบวนการทดสอบความต้านทานแรงกระแทก โดยการรวบรวมข้อมูลของเครื่องมือที่ใช้ทดสอบวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย แล้วนำมาปรับปรุงออกแบบสร้างเครื่องมือทดสอบใหม่ ให้กระบวนการทดสอบมีความเสถียรและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหลังการทดสอบได้โดยง่าย จากการสร้างเครื่องทดสอบแรงกระแทกแบบใหม่ และนำไปใช้ทดสอบชิ้นงานโดยทำการเปรียบเทียบกับแบบเดิม พบว่าผลการทดสอบของเครื่องมือทดสอบใหม่มีค่าความเสถียรมากว่าและมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า ทำให้ไม่เกิดของเสียจากการทดสอบผิดพลาดรอดไปสู่ลูกค้าได้
Full Text : Download! |
||
8. | การสมดุลสายการผลิต (SMALL LINE) โมเดล 450CV กรณีศึกษา บริษัท โอกาโมโต (ไทย) จำกัด พ.ศ. 2556 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กรัณย์ เส็งเมือง | ||
ในการฝึกงานที่บริษัท โอกาโมโต (ไทย) จำกัด นั้นนักศึกษาจำเป็นต้องเตรียมตัวในการที่
จะเข้ารับการฝึกงานให้ดี เพราะในการทำงานต้องใช้ความรู้และทักษะที่เรียนมาประกอบกับการ
ประยุกต์ใช้ในการคิดวิเคราะห์กับงานที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมาย โดยใช้ทฤษฎี Line balancing เพื่อ
ศึกษาถึงปัญหาแล้วดำเนินการปรับปรุงด้วยใช้ Kaizen เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงเพื่อลดความ
สูญเปล่าจากการทำงานในแต่ละกระบวนการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และการ
สมดุลสายการผลิต โดยศึกษาจากการทำงานเพื่อหาเวลาการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งสามารถลดเวลา
การทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิต
จากการปรับปรุงการทำงานของพนักงานสามารถลดเวลารทำงาน โดยลด Cycle time จาก
266 นาทีต่อโมเดล เป็น 225 นาทีต่อโมเดล ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพจากการผลิต 1 โมเดลต่อกะ เป็น
2 โมเดลต่อกะ
Full Text : Download! |
||
9. | กาปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลิตภาพของสายการผลิต UC-Holder บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คริส จันทรมณี | ||
โครงงานสหกิจนี้ศึกษาเกี่ยวกับการผลผลิตภาพของสายการผลิต UC Holder โดยใช้ทฤษฏี
การศึกษางาน, why-Why analysis, YAMASUMI chart, มาตรฐานงาน เพื่อค้นหาเป้าหมายและ
วิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีแก้ไขปัญหาก็คือ การลดเวลาที่ใช้มือในการทำงาน โดยการสร้างอุปกรณ์การ
ทำงานใหม่และ อุปกรณ์กลไกKARAKURI เพื่อเพิ่มผลิตภาพจึงได้รวมงานของพนักงานสองคนเข้า
ไว้ในคนเดียวและลำดับขั้นตอนการทำงานของพนักงานใหม่ เพื่อเข้าสู่การผลิตแบบโตโยต้าภาระ
งานของพนักงานนอกสายการผลิตถูปับให้สมดุลใหม่ ตัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนออกและลดระยะ
ทางการเดิน
สายการผลิต UC Holder มีผลิตภาพเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายลดลง 60,000 บาทต่อ
เดือน ในระบบการผลิต กระบวนการที่มากเกินจำเป็นถูกตัดออกหนึ่งกระบวนการ เส้นทางของงาน
ใหม่ที่สั้นกว่าเดิม และมี work-in-process น้อยกว่าเดิมจาก 1500 เป็น 60
Full Text : Download! |
||
10. | การจัดการและปรับปรุงการจัดเก็บเครื่องมือวัดคงคลังเพื่อกำหนดสัดส่วนคงคลังเริ่มต้น : กรณีศึกษา บริษัท เจเทคโตะ ไทยแลนด์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กิตติกร ขจร | ||
การจัดการและการปรับปรุงจำนวนเครื่องมือวัดคงคลังเพื่อกำหนดสัดส่วนคงคลังเริ่มต้น ในการทำโครงงานนี้จำนวนคงคลังน้อยที่สุดนั้น จะมาจากการคำนวณจุดสั่งซื้อ(Reorder Point) ซึ่งมีการประเมินความต้องการต่อเดือน โดยพิจารณาจากข้อมูลเบิกจ่ายย้อนหลัง 12เดือน เพื่อนำมาหาความต้องการเฉลี่ยต่อเดือน และได้นำระบบKanbanมาใช้ในการเบิกจ่ายพัสดุ เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจนับยอดคงเหลือโดยการดำเนินงานทั้งหมดนี้ใช้ทฤษฏีในเรื่องของการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) คัมบัง (Kanban) และผังก้างปลา (Cause and Effect Diagram) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ
จากการดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บอุปกรณ์สารอง พบว่าการทำการตรวจเช็คจำนวนคงเหลือนั้นทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีการจัดเก็บไว้ตามกลุ่มของเครื่องมือ ไม่ได้แบ่งแยกตามไลน์การผลิตเหมือนแต่ก่อน และการสั่งซื้อแบบเร่งด่วนลดน้อยลง รวมทั้งสามารถลดจำนวนการจัดเก็บเครื่องมือสำรองลงได้
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250