fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IE) 2018 |
1. | การศึกษา และพัฒนาระบบการแสดงผลของเครื่องขยายท่อทองแดง :บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์(ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศศิน สิงห์ศักดิ์ศรี | ||
จากการสหกิจศึกษาเป็นระยะเวลา 4 เดือนนั้น โปรเจคที่ได้รับมอบหมายคือการพัฒนาระบบ IOT ของเครื่องขยายท่อทองแดง โดยพัฒนาระบบของเครื่องขยายท่อทองแดงโดยเริ่มจากกระบวนการออกแบบหน้าจอมอนิเตอร์มีการคัดเลือกการแสดงผลในเชิงประสิทธิภาพของเครื่องจักรและเชิงของการซ่อมบำรุง และหาสัญญาณของข้อมูลในส่วน Input และ Output ต่าง ๆ ที่จะส่งสัญญาณออกไปเพื่อให้แสดงผลตามหัวข้อที่คัดเลือกไว้โดยมีแผนก MSI มารับช่วงต่อไป
ผลจากการพัฒนาระบบ IOT นั้น คือ เราสามารถดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรได้แบบปัจจุบัน โดยดูผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ซึ่งทำให้ทราบว่าเครื่องจักรนั้นหยุดการทางานเพราะอะไร หรือในส่วนของการซ่อมบำรุง ก็สามารถดูหน้าจอมอนิเตอร์เพื่อเข้าไปทำการซ่อมบำรุงได้ในช่วงระยะเวลาที่เครื่องที่เครื่องกำหนด และยังสามารถเข้าไปตรวจเช็คเครื่องจักรได้กรณีที่เครื่องมีปัญหา เช่น อุณหภูมิไอโดรลิคสูงเกินค่ามาตรฐานทำให้รับรู้และเข้าไปทำการซ่อมบารุงได้ทันเวลา เพื่อลดปัญหาเครื่องจักร Breakdown เพื่อจะได้ไม่ต้องหยุดไลน์การผลิต
Full Text : Download! |
||
2. | การลดของเสียของสายการผลิตคอนเดนเซอร์ชนิดท่อและครีบกรณีศึกษา บริษัท วาลิโอสยาม เทอร์มอลซิสเต็มส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรวีร์ แม่นสำรวจการ | ||
จากการศึกษาข้อมูลของเสียในสายการผลิตคอนเดนเซอร์รุ่น F43 พบว่า การเกิดขาเอ็นแค็ปละลายนั้นมีค่า PPM ที่เกินกว่าที่กำหนด ทำให้เป็นบ่อเกิดของความสูญเปล่าในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดลงส่งผลให้ยอดการผลิตลดลง และชิ้นงานที่เกิดขาเอ็นแค็ปละลายนั้นต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงได้ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาในส่วนนี้โดยการกำหนดให้มีการเชื่อมซ่อมขาเอ็นแค็ปและทำเอกสารการปฏิบัติงานในการเชื่อมซ่อม เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานและการตรวจสอบ
จากการดำเนินการโครงงานให้มีการเชื่อมซ่อมขาเอ็นแค็ปละลายและทาเอกสารการปฏิบัติงานในการเชื่อมซ่อมนั้นสามารถลดปัญหาของเสียที่เกิดจากขาเอ็นแค็ปละลายได้โดยไม่กระทบจุดอื่น ๆ ทำให้ไม่เกิดงานเสียที่ทำให้เกิด PPM จากขาเอ็นแค็ปละลายเกิดขึ้น เป็นผลให้บริษัทประหยัดต้นทุนไปเป็นจานวนเงิน 424,316.39 บาทระหว่าง เดือน กรกฎาคม ถึง เดือน กันยายน พ.ศ.2561
Full Text : Download! |
||
3. | PRODUCTION PREPARATION (CYLINDER BLOCK TILTING EQUIPMENT) CASE SYUDY: TOYOTA DAIHATSU ENGINEERING & MANUFACTURING CO., LTD. [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Thanadet Sukkawat | ||
Now IMC Pakistan plant of Toyota is produce engine A and B in 1 line assembly. They will replace engine model A by engine model C in production line that is assembly 2 models. so I have to make a machine specification sheet of new block tilting unit that can use with 2 models (model B and C) and other equipment to support this project such as flywheel pin press jig, piston ring assembly jig, Turn table for block sub line assembly and turn table for head sub assembly.
All of equipment has achievement smoothly. Block tilting unit can rotate both 2 cylinder block model 90 degree by using adapter jigs to make the same rotating position by changing some work elements without effect the takt time. Specification sheet have sign by TDEM staff, maker and plant staff. With cooperative period I have participate with production preparation job in process planning, machine specification, procurement process and design process. This equipment can adapt with another nearly case in the fut
Full Text : Download! |
||
4. | กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในไลน์การผลิตแบริ่งเฮ้าส์ซิ่ง โมเดลฮอนด้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภณัฐ อรรถบูรณ์วงศ์ | ||
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปรังปรุงวิธีการปฏิบัติงานในไลน์การผลิตชิ้นงานแบริ่งเฮ้าส์ซิ่งโมเดลฮอนด้า ของบริษัท ทีบีเคเค ประเทศไทย จำกัด เพื่อลดเวลา และ ลดขั้นตอนการผลิตชิ้นงาน โดยทำการศึกษาขบวนการที่เกิดขึ้นจริงทั้งขบวนการ ตั้งแต่ป้อน Raw material เข้าสู่ไลน์อัตโนมัติ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ ชุปน้ำมันกันสนิม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและสามารถสรุปได้ดังนี้ ปัญหาที่เกิดจากการใช้เวลาในการทำงานมากเกินไปในเครื่องจักร ปัญหาขั้นตอนการทำงานที่มากเกินไปในบุคคล ปัญหาความสกปรกและความไม่สะดวกในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้เสียเวลาในการผลิตผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้หลักการพื้นฐานคือหลักการไคเซ็น(Kaizen) หลังจากนั้นจึงทำการสรุปผลเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ
ผลวิจัยทำให้ทราบว่า สาเหตุหลักของการสูญเสียเวลาในการผลิตชิ้นงาน เกิดจากการทำงานของหัวทูล(Tool)ที่ช้า และขั้นตอนในการทำงานที่มากเกินไป ซึ่งหลังจากทำการปรับปรุงแก้ไข สามารถลดเวลาทำงานทั้ง 7 เครื่องจักรได้ โดยเครื่อง OP3 , OP4 , OP5 , OKK10 , OKK11 , FANUC12 และ FANUC13 จากเดิมใช้เวลา 24 , 152 , 171 , 131 , 116 , 131 และ 91 วินาที ตามลำดับ เวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน1ชิ้น 13.6 นาที ลดลงเหลือ 27 , 108 , 119 , 122 , 102 , 107 และ 100 วินาที ตามลำดับ เวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน1ชิ้น 11.42 นาที
Full Text : Download! |
||
5. | การป้องกันความผิดพลาดของตัวจับยึดชิ้นงานที่ใช้หุ่นยนต์เชื่อม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงศกร พรมวงษ์ | ||
จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของการทำงานโดยการใช้หุ่นยนต์เชื่อม พบว่า พนักงานทำงานด้วยความเร่งรีบและอาจไม่มีความชำนาญ ทำให้การทำงานเกิดความผิดพลาด โดยหยิบแผ่นเหล็กที่มีขนาด 7 มิลลิเมตร และ 8 มิลลิเมตร ผิดพลาด จึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานและป้องกันความผิดพลาด โดยนำแนวคิด Pokayoke มาประยุกต์ใช้ วิธีการดำเนินงานคือ ประดิษฐ์กล่องควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาดโดยการติดตั้ง sensor แล้วตั้งค่าขนาด 7 มิลลิเมตร และ 8 มิลลิเมตร ให้อยู่ในฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของตัวจับยึดชิ้นงาน
จากการดำเนินงานโดยการใช้กล่องควบคุมพบว่า สามารถลดของเสียได้หากพนักงานใช้กล่องควบคุมควบคู่ไปกับการทำงาน แต่การสร้างกล่องควบคุมเพื่อป้องกันความผิดพลาด พบว่าการสร้างกล่องควบคุมนั้นจะสามารถพัฒนาได้มากกว่านี้ หากกล่องควบคุมนี้สั่งการไปที่หุ่นยนต์เชื่อมโดยตรง เพื่อให้ไม่เป็นการเพิ่มหน้าที่การทำงานของพนักงาน
Full Text : Download! |
||
6. | การลดเวลาการทำงานของการเชื่อมแขนรถขุดตักแบบกึ่งอัตโนมัติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐกฤตา กรกมนรัตน์ | ||
จากการศึกษาแผนการผลิตส่วนแขนรถขุดตัก(Boom) ในปี 2018 ของ Welding Line พบว่าสถานี SAW/P ซึ่งเป็นการเชื่อมแบบกึ่งอัตโนมัติ ใช้เวลาในกระบวนการทำงานนานที่สุด ดังนั้นเพื่อลดเวลาของกระบวนการทงานในสถานี SAW/P จึงมีการปรับปรุงโดยการ Update software G-Robot จาก C3 ให้เป็น C4 จากการปรับปรุงโดยการ Update software G-Robot สามารถลดเวลาของกระบวนการทำงานในสถานี SAW/P จาก 177 นาที เหลือ 160 นาที หรือคิดเป็น 9.6%
Full Text : Download! |
||
7. | การทำ Profile Utility ของอาคารการผลิต ฝ่ายครัวการบินสุวรรณภูมิ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พิมพ์ภัสสร อุ่นสกุล | ||
โครงงาน Profile Utility ของอาคารการผลิต เป็นโครงงานที่บริษัทมีความประสงค์จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่สาคัญของระบบต่าง ๆ ภายในอาคารการผลิต เพื่อนำไปสรุปและเรียบเรียงเป็น Profile Utility ของอาคารการผลิต ใช้สาหรับอำนวยความสะดวก และง่ายต่อการค้นหาสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน เช่น ผู้ดูแล ผู้พัฒนา รวมถึงผู้ที่มาเยี่ยมชมเพื่อต้องการลงทุน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
ข้อมูลที่รวบรวมตรงนี้ สามารถนำไปต่อยอดในการทำฐานข้อมูลออนไลน์ในอนาคต เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าใช้ข้อมูลได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพื่อลดต้นทุนในลาดับต่อไปได้
Full Text : Download! |
||
8. | คู่มือหลักสูตรเบื้องต้นของระบบควบคุม Professional 6 Controller คู่มือปฏิบัติงานบริษัท Makino(ประเทศไทย) จำกัด พ.ศ 2561 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วีรพงษ์ จันทร์ณรงค์ | ||
จากการศึกษาระบบการทำงานต่าง ๆ ในแผนก Application Engineer ณ บริษัทมากิโน (ประเทศไทย) จำกัด ทำให้ได้เรียนรู้ การทำงานของเครื่องจักรซีเอ็นซีชนิดต่างๆ และได้รู้ถึงความสำคัญของระบบควบคุม Professional 6 ซึ่งช่วยในการตัดเฉือนชิ้นงานให้ง่ายขึ้น ลดระยะเวลาในการทำงานและการเกิดข้อผิดพลาดลดลง ทางบริษัทมากิโน จึงได้ให้นักศึกษาทาคู่มือระบบควบคุม Professional 6 Controller เพื่อได้เรียนรู้ฟังก์ชั่นการทำงานและเข้าใจกระบวนการทำงานเบื้องต้น
ในการปฏิบัติงานครั้งนี้ ได้เริ่มจากการเรียนรู้คู่มือของเครื่องจักรซีเอ็นซี และเรียนรู้การทำงานจากเครื่องจักรในโรงงาน จากนั้นได้ทำการศึกษาระบบควบคุม Professional 6 และทำคู่มือการใช้งานระบบควบคุม Professional 6 เพื่อทำให้ง่ายต่อการนำไปศึกษาและทำความเข้าใจ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริงกับเครื่องจักรซีเอ็นซีที่ใช้ระบบควบคุม Professional 6
Full Text : Download! |
||
9. | การแก้ไขปัญหาความต่างระดับระหว่าง FRAME กับ SIDE PLATE กรณีศึกษาบริษัทไดว่า เซโกะ (ไทยแลนด์) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อดิศร สายตา | ||
จากการศึกษาการประกอบตัวรอกพบปัญหาการเกิดความต่างระดับของพื้นผิว FRAME กับ SIDE PLATE ขณะประกบ อันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการฉีดโมล ของแผนก Die casting การตั้งค่าเครื่องจักร การควบคุมอุณหภูมิหลังการฉีด ขนาดของโมล การตะไบชิ้นงานจึงนำปัญหาที่พบมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการแก้ไขได้ตรงจุด โดยใช้หลักการ Plan Do Check Action (PDCA) ในการวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขปัญหาความต่างระดับของ FRAME และ SIDE PLATE โดยการทำ MASTER
จากการทำ MASTER มาควบคุมปัญหาความต่างระดับพบว่าการเกิดความต่างระดับ FRAME และ SIDE PLATE มีจำนวนปัญหาต่างระดับลดลง โดยวิเคราะห์จากเอกสารายงานปัญหาการผลิตของไลน์การประกอบ เดือนมิถุนายน เปรียบเทียบกับ เดือนกันยายน พบว่าปัญหาการเกิดความต่างระดับมีจานวนที่ลดลงเรื่อยๆ
Full Text : Download! |
||
10. | เครื่องกดชิ้นงานอัตโนมัติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ฉัตริน เย็นสะอาด | ||
จากการศึกษาขั้นตอนการผลิตพบว่า มีกระบวนการทำงานที่ทาให้เสียเวลาไปทำให้ผลิตชิ้นงานได้น้อย ไม่ต้องการเพิ่มคนแต่ต้องการเครื่องที่เป็นระบบอัตโนมัติมาช่วยทางานแทนคนเพื่อเพิ่มอัตตราการผลิตและลดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน
ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการผลิตเครื่องที่เป็นระบบอัตโนมัติช่วยทำให้ผลิตงานได้เพิ่มขึ้น ลดการจ้างงานสามารถผลิตงานได้ตลอด 24 ชม.โดยไม่ต้องหยุดพัก ทำให้ได้ชิ้นงานมากขึ้นและงานต่อการใช้งานไม่ต้องใช้คนมาก จากปกติ 1 คนต่อ 1 เครื่องจักร เป็น 1 คนต่อ 2 เครื่องจักร
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250