fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ 2016 |
1. | การสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคคนไทย ต่อ การบริการของ ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เปรียบเทียบกับร้านอาหารไทยเพื่อการประยุกต์ใช้ การบริการสไตล์ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รังสรรค์ เลิศในสัตย์ | ||
ผศ.รังสรรค์ เลิศในสัตย์ “การสำรวจทัศนคติของผู้บริโภคคนไทย ต่อ การบริการของ
ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เปรียบเทียบกับร้านอาหารไทย เพื่อการประยุกต์ใช้การ
บริการสไตล์ญี่ปุ่น (Omotenashi)”
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนีคือ เพื่อศึกษาถึงทัศนคติ ของผู้บริโภคไทย ต่อ คุณภาพ
การบริการของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย เปรียบเทียบกับคุณภาพการบริการของร้านอาหาร
ไทย เพื่อประยุกต์ใช้การบริการสไตล์ญี่ปุ่น (Omotenashi)
ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดสำหรับบริการ ซึ่งได้ แก่
การบริการของพนักงาน(people) ระบบของการบริการ (process) และ สภาพแวดล้อมที่เป็น
ภายภาพ (physicalevidence) ผสมผสานกับมุมมองเรื่องคุณภาพของการบริการ หรือ
SERVQUALdimensionที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ RATER
กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในจำนวน 478 ตัวอย่าง
สถานที่เก็บแบบสอบถาม จะเป็นศูนย์การค้าต่างๆ ที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น และร้านอาหารไทย ที่มี
ค่อนข้างมีคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลนี้สร้างขึ้น ในลักษณะแบบสอบถาม
เครื่องมือที่ใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบ
t-test และ F-test และการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิแอลฟ่า
(Coefficient) ของครอนบัค ในการวิเคราะห์นั้น ได้ใช้โปรแกรมสถิติสาเร็จรูป และการทำ Focus
group
จากผลการศึกษา พบว่า 1.ทางด้านทัศนคติของผู้บริโภคคนไทย โดยรวมที่มีต่อการ
บริการของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยและร้านอาหารไทย ดังนี้1.1 ทางด้านการบริการของ
พนักงาน กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการบริการของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยใน
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.61) มีความ
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ แนวทางการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กรด้วยอัตราส่วนทางการเงิน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์ | ||
การวิจัยเรื่อง แนวทางการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานขององค์กรด้วยอัตราส่วนทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดการการเงิน และ 2) เพื่อศักยภาพผู้เรียนในการเรียนรายวิชาการจัดการการเงิน และรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินกลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาแขนงวิชาการเงินและการลงทุน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการจัดการการเงิน ภาคการศึกษา 2/2559 ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ของการเรียนขึ้นอยู่กับการใช้ตำราประกอบการเรียนการสอน โดยผู้สอนเป็นผู้ผลิตำตราขึ้น นักศึกษาเลือกใช้ทฤษีการประเมิน โดยอัตราส่วนเหมือนกันทุกกลุ่ม คัดเลือกอัตราส่วนมาวิเคราะห์ 15 อัตราส่วนย่อย เหมือนกัน การใช้ตำรามีผลสัมฤทธิ์ทำให้การเรียนของนักศึกษาเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนข้อเสนอแนะ อาจารย์ควรผลิตตำราเป็นสื่อการเรียนการสอนแต่ละวิชาและแต่ละภาคการศึกษา และควรมีการปรับปรุงพัฒนาตำราให้พร้อมกับการใช้ในภาคการศึกษาถัดไป
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานวิจัย ผลกระทบของการใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินต่อประสิทธิผลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเขตภาคกลางตอนบน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์ | ||
การวิจัยเรื่องผลกระทบของการใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินต่อประสิทธิผลของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเขตภาคกลางตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและประสิทธิผลในการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผลกระทบของการใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินต่อความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและประสิทธิผลการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเขตภาคกลางตอนบน จำนวน 384 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจประเภทการบริการ มีรูปแบบการจัดตั้งบริษัทเป็นบริษัทจำกัด มีระยะเวลาการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 11 ถึง 15 ปี ด้านการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจโดยไม่มีการส่งออกและนำเข้า ส่วนใหญ่มีการจัดทำแผนธุรกิจประจาปี มีการจัดทำแผนการตลาด ส่วนใหญ่ทำบัญชีโดยจ้างสานักงานบัญชี มีแหล่งเงินทุนเริ่มแรกมาจากเงินทุนตนเองและครอบครัว ไม่ต้องการเงินทุนจากสถาบันการเงินเนื่องจากไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ด้านการใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงิน ด้านการวัดสภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ ด้านการวัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และด้านการวัดความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ พบว่าการใช้ประโยชน์ทางปฏิบัติการดำเนินงานส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ การใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินของธุรกิจ ด้านการใช้ประโยชน์ทางการปฏิบัติเพื่อการบริหารงานส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิผลของธุรกิจและลักษณะเชิงโครงสร้างด้านระยะเวลาในการดำเนินงาน การดำเนินงานกับต่างประเทศ การจัดทำแผนธุรกิจและการจัดทำแผนการตลาดต่างกันการใช้ประโยชน์จากร
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง แนวโน้มของธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พิชิต สุขเจริญพงษ์, จักร ติงศภัทิย์, ปาลีรัฐ เลขะวัฒนะ, รังสรรค์ เลิศในสัตย์ | ||
เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของภาครัฐในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ประเทศ การวิจัยเรื่อง แนวโน้มของธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา และวิเคราะห์แนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจสงขลาของวิสาหกิจไทยโดยเน้นศึกษากลุ่มกิจการที่ได้รับการสนับสนุนการลงทุน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ เกษตรแปรรูป อาหารแช่แข็ง และโลจิสติกส์ ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสำรวจความคิดเห็นโดยใช้เครื่องมือ 3 ชุดสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 34 ราย แบ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายภาครัฐและผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในสงขลา อย่างละ 8 ราย และผู้บริหารสถานประกอบการขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณพลที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารแช่แข็ง และโลจิสติกส์อย่างละ 6 ราย วิเคราะห์ผลโดยสร้างข้อมูลสรุปด้วยวิธีการจำแนก จัดระบบ และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจากปัจจัยดึงดูดการลงทุน ร่วมกับการวิเคราห์แผนภูมิ พาเรโดเพื่อจัดลำดับและขนาดของความสำคัญของปัจจัยดึงดูดที่ภาครัฐใช้ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
ผลการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม โลจิสติกส์เป็นกลุ่มธุรกิจเดียวที่มีแนวโน้มจะลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา เนื่องจากตลาดสงขลามีศักยภาพและกำลังซื้อ มีระบบการเงิน เทคโนโลยี และระบบการสื่อสารที่พร้อมรองรับการทำธุรกิจ ในขณะที่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหารแช่แข็งพิจารณาว่าการขาดแคลนแรงงาน ทรัพยากรการผลิตและวัตถุดิบ รวมถึงกำลังซื้อของตลาดไม่เป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนของอุตสาหกรรม โดยภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐกำหนดนโยบายและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในประเด็นระบบสาธารณูปดภ
Full Text : Download! |
||
5. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนแหลงทองพัฒนา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เฌอริสา นันทา | ||
รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนแหลมทองพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้กับชุมชนแหลมทองพัฒนา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อเว็บไซต์แหลมทองพัฒนา 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อเว็บไซต์แหลมทองพัฒนา จำแนกตามปัจจัยด้านต่างๆ 4) เพื่อสร้างเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสัมพันธ์การถดถอยพหุของความพึงพอใจของผู้เข้าชมที่มีต่อเว็บไซต์แหลมทองพัฒนา ที่เกิดจากปัจจัยด้านต่างๆ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ จำนวนประชากรของชุมชนทั้งหมด 920 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าใช้เว็บไซต์จำนวน 313 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าt-test ค่า F-test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เข้าใช้เว็บไซต์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุต่ากว่า 20 ปี และ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ต่ากว่า ระดับปริญญาตรี ความถี่ในการในการเข้าใช้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่แน่ใจขึ้นอยู่กับความจำเป็น ผู้เข้าใช้เว็บไซต์มีระดับความพึงพอใจรายด้านอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วยด้านเนื้อหาและประโยชน์ในการใช้งาน ด้านการออกแบบและจัดรูปแบบของเว็บไซต์ และด้านความสะดวก และระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุของความพึงพอใจต่อเนื้อหาและประโยชน์ในการใช้งานเว็บไซต์ชุมชนแหลมทอง ความพึงพอใจต่อการออกแบบเว็บไซต์ชุมชนแหลมทอง สามารถทำนายผลความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้เว็บไซต์ของชุมชนแหลมทองพัฒนาในภาพรวม(Y) เมื่อพิจารณาโดยรวมตัวแปรอิสระทุกตัวร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อเว็บไซต์ของชุมชนแหลมทองพัฒนาในภาพรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยค่
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาเปรียบเทียบการใช้สารสนเทศทางการบัญชี เพื่อการบริหารจัดการของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจอุตสาหกรรมการบริการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ขนิษฐา ทรงจักรแก้ว, อนุวัต เจริญสุข | ||
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประเภทของการใช้สารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการ
บริหารจัดการของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ และ 2) ศึกษาลักษณะการนำสารสนเทศทางการบัญชีไปใช้ใน
หน้าที่งานทางการบริหารของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ โดยศึกษาประเภทของสารสนเทศทางการบัญชีจาก
แขนงการบัญชีการเงิน ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สารสนเทศแก4บุคคลภายนอก โดยจัดทำตามมาตรฐานการรายงานทาง
การเงิน และจากแขนงการบัญชีบริหาร ที่จัดทำโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการธุรกิจ ในลักษณะหน้าที่งาน
การวางแผน การควบคุม และการประเมินผลการปฏิบัติงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับต่างๆ
จำนวน 423 บริษัท ในนิคมอุตสาหกรรมภาคกลางและภาคตะวันออก ทำการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบจากรายชื่อข้อมูลนิคม
อุตสาหกรรมพื้นที่เป้าหมาย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง
พรรณนา ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย t-test และ Oneway ANOVA
ผลการศึกษาพบว4า
1. ผลของการใช้สารสนเทศทางบัญชีทั้งสองประเภท พบว่า ผู้บริหารของบริษัททั้ง 2 กลุ่มใช้สารสนเทศ
ทางบัญชีทั้งการบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหารเพื่อการบริหารจัดการธุรกิจในระดับมาก โดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการ
ผลิตใช้สารสนเทศทางบัญชีแต่ละประเภท มากกว้ากลุ่มอุตสาหกรรมการบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ผลการนำไปใช้ในลักษณะหน้าที่งานบริหารธุรกิจ พบว่า ทั้งสองกลุ่มนำไปใช้ในระดับมากโดยใช้ใน
การควบคุมมากที่สุด และใช้เพื่อการวางแผนและประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นลำดับ โดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต นำ
สารสนเทศทางบัญ
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาและการสอดแทรกภาษาอังกฤษ ในการเรียนการสอนของหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คมพัชญ์ สิริถิรพิทักษ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นและการสอดแทรกภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นจำนวน 240 คน โดยได้แบบสอบถามสมบูรณ์กลับคืนจำนวน 198 ชุด คิดเป็นร้อยละ 82.50 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 198 คน พบว่าสถานภาพ ของนักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 70.70 และเป็นเพศชาย จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 29.30 นักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 35.35 นักศึกษาส่วนใหญ่ GPA สะสม 3.01-3.50 จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 34.85 ลำดับรองลงมาได้แก่ GPA สะสม 2.51-3.00 จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 34.34 นักศึกษาส่วนใหญ่มีภูมิลาเนาอยู่กรุงเทพมหานคร จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 62.63 และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นโดยรวมพบว่า นักศึกษาให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านการประกอบอาชีพ และด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านชื่อเสียงของสถาบัน โดยบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ปัจจัยด้านหลักสูตรการจัดการเรียน การสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ หลักสูตรเป็นที่ต้องการของตลาดแร
Full Text : Download! |
||
8. | การประยุกต์ใช้หลักการเฮจุงกะ ในการจัดเรียงรวมหลายชนิดสินค้า เพื่อลดการเคลื่อนย้ายในการหยิบสินค้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ก้องเกียรติ วีระอาชากุล, สมบัติ วรินทรนุวัตร | ||
งานวิจัยนี้พัฒนามาจากปัญหาพื้นที่ร้านค้าโชห่วยมีขนาดคูหาเล็ก ส่งผลให้มีการวางสินค้าหลายชนิดวาง
ซ้อนกันอย่างไม่เป็นระเบียบ จึงทำให้การเข้าถึงสินค้าทำได้ยาก ดังนั้น งานวิจัยเชิงทดลองนี้มี
วัตถุประสงค์ ศึกษาจำนวนครัง้ ของการเคลื่อนย้ายสินค้าในคลังสินค้าของร้านค้า ปลีกขนาดเล็ก โดย
ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการจัดเรียงสินค้า 2 วิธี : วิธีที่ 1 เป็นการจัดเรียงสินค้าแบบแยกตามชนิดสินค้าที่มี
การซ้อนทับสินค้า และ วิธีที่ 2 เป็นการจัดเรียงสินค้าที่ประยุกต์ใช้หลักการเฮจุงกะ ( Heijunka) ที่ใช้การ
จัดเรียงแบบคละสินค้าตามอัตราส่วนความต้องการสินค้า สำหรับการจัดเรียงวิธีที่ 1 ใช้พื้นที่วางสินค้า
ขนาด 3,432 ตารางเซนติเมตร และการจัดเรียงวิธีที่ 2 ใช้พื้นที่วางสินค้าขนาด 3,481 ตารางเซนติเมตร
งานวิจัยนี้ได้ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงของธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคขนาดเล็ก 3 ราย
ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ทำการทดลองจัดเรียงสินค้า วิธีที่ 1 จำนวน 1 รอบ และวิธีที่ 2 จำนวน
3 รอบ โดยกำหนดชุดทดลองของแต่ละรอบประกอบด้วย การจัดเรียงสินค้า 5 ชนิด ชนิดละ 5 กล่อง ที่มี
อัตราการขายเฉลี่ย 1 วันต่อกล่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดเรียงสินค้าวิธีที่ 1 มีจำนวนการ
เคลื่อนย้ายสินค้าเฉลี่ย 41 ครั้งต่อกองสินค้า 2) การจัดเรียงสินค้าวิธีที่ 2 มีจำนวนการเคลื่อนย้ายสินค้า
เฉลี่ย 30 ครั้งต่อกองสินค้า ซึ่งเคลื่อนย้ายน้อยกว่า การจัดเรียงวิธีที่ 1 เท่ากับ 26.82%
Full Text : Download! |
||
9. | การสำรวจคุณลักษณะบุคลากรที่ต้องการของผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สุชีรา นวลทอง, ประสิทธิ์ พงศ์ดำรง, โกศวัต รัตโนทยานนท์, เอิบ พงบุหงอ, วิฐิณัฐ ภัคพรหมินทร์ | ||
ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการสำรวจคุณลักษณะบุคลากรที่ต้องการของผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสำรวจครั้งนี้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ที่กำหนดให้คุณภาพของบัณฑิตทุกระดับคุณวุฒิและสาขาวิชาต้องเป็นไปตามาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด่น เพื่อใช้แนวทางสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนและเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการสัญชาติญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย สร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านบริหารธุรกิจญี่ปุ่นออกไปปฏิบัติงาน
ประชากรในการสำรวจครั้งนี้เป็นผู้ประกอบการสัญชาติญี่ปุ่นที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยจำนวน 500 บริษัท โดยมีกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 222 บริษัทโดยอ้างกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนประชากรด้วยการแทนค่าสูตรของทาโร่ ยามเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามและปัจจัยที่ใช้พิจารณาในการตัดสินใจเพื่อทราบถึง “คุณลักษณะบุคลากรที่ต้องการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย” สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าคะแนนเฉลี่ย (x̅) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) Contingency Coefficient และ Pearson Chi-Square โดยใช้เทคนิค Monte Carlo และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้ประกอบการญี่ปุ่นได้ให้ความสำคัญทางด้านความรู้พื้นฐานในการทำงานได้ในภาคการค้าและภาคการบริหารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .10 ในขณะที่ด้านการมีทักษะในการนำเสนองานด้วยสื่อหรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิตและภาคการบริการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ร
Full Text : Download! |
||
10. | รายงานวิจัยเรื่อง ความสำเร็จในการเรียนERPสำหรับผู้เรียนระดับต้น: จากมุมมองแบบTAM [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปาลีรัฐ เลขะวัฒนะ | ||
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250