fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2016 |
1. | ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการบริหารงานแบบญี่ปุ่น และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กิ่งกาญจน์ นราพันธุ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ขนาดองค์กรและลักษณะธุรกิจขององค์กร
ญี่ปุ่นในประเทศไทย 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานแบบญี่ปุ่น 3) ระดับพฤติกรรม
การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 4) เปรียบเทียบขนาดองค์กร และลักษณะธุรกิจขององค์กรที่มีผล
ต่อระดับการบริหารงานแบบญี่ปุ่น 5) เปรียบเทียบขนาดองค์กร และลักษณะธุรกิจขององค์กรที่
มีผลต่อระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงาน
แบบญี่ปุ่นกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานชาวไทยที่ทำงานใน
ญี่ปุ่นในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 403 คน โดยการตอบแบบสอบถามทั้งแบบออนไลน์และ
แบบกระดาษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า
ร้อยละ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารงานแบบญี่ปุ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2) ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร โดยรวมอยู่ในระดับสูง 3) ขนาดองค์กรและ
ลักษณะธุรกิจที่แตกต่างกันมีระดับการบริหารงานแบบญี่ปุ่นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่
ระดับ 0.01 (Sig. 2-tailed = 0.001, 0.000 ตามลำดับ) 4) ขนาดองค์กรที่แตกต่างกันมีระดับ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (Sig. 2 tailed =
0.012) 5) ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า การบริหารงานแบบญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรโดยรวมในระดับปานกลาง (r = 0.572) ที่ระดับ
นัยสำคัญ 0.01 ในทิศทางเดียวกัน
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานใหม่ของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงาน ในองค์กร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ขนิษฐา กุลคำ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยตำแหน่งงานตามสัญญาจ้างและ
แผนกหรือหน่วยงานที่สังกัดส่งผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นใน
การทำงานในองค์กร 2) ศึกษาปัจจัยองค์กรที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานใหม่ของล่าม
หรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงานในองค์กร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ
พนักงานล่ามหรือพนักงานที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการทำงานในองค์กร จำนวนทั้งสิ้น 410 คน เก็บ
ข้อมูลโดยใช้การตอบแบบสอบถามแบบออนไลน์และแบบตอบบนกระดาษ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ
ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และการทดสอบไคสแคว์
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยตำแหน่งตามสัญญาจ้างและแผนกหรือหน่วยงานที่สังกัด
ที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทำงานในองค์กร พบว่า
สวัสดิการมีผลต่อการลาออกของพนักงานในทุกๆตำแหน่งตามสัญญาจ้าง 2) ปัจจัยด้านองค์กร
ที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทำงานในองค์กร พบว่า ด้าน
การปกครองบังคับบัญชาและความสัมพันธ์ ด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านความมั่นคงในงาน
ด้านความพึงพอใจในรายได้ ด้านความพึงพอใจในสวัสดิการ ด้านสภาพการทำงานโดยทั่วไป
มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของล่ามหรือผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นทำงานในองค์กร อย่างมีระดับ
นัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.01
Full Text : Download! |
||
3. | การบริการสไตล์ญี่ปุ่นที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม กรณีศึกษา โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จรินทร์ยา แสงศิลป์มณี | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) การบริการสไตล์ญี่ปุ่นที่มีผลต่อการตัดสินใจ
เลือกใช้บริการโรงแรม และ 2) ปัจจัยการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรม
ของผู้เข้าพักโรงแรม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วย
การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นผู้เข้าพักเพศชายและหญิงเท่ากัน มีอายุระหว่าง 36-45 ปี เป็น
ชาวตะวันตก สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ
มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 100,001 บาท พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วน
ใหญ่เป็นกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิก 4-5 ท่าน เดินทางมากับครอบครัว มีระยะเวลาการท่องเที่ยว
1-3 สัปดาห์ มีความถี่ในการท่องเที่ยว 2 ครั้งต่อปี แหล่งข้อมูลในการเลือกใช้โรงแรมมาจาก
อินเตอร์เน็ต
ผลวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ ปัจจัยด้านองค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม พบว่า การ
บริการรูมเซอร์วิสภายในโรงแรมเป็นสิ่งสำคัญ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า พนักงานสามารถ
ตอบสนองต่อลูกค้าได้รวดเร็ว ตามความคาดหวังและถูกต้อง ด้านความน่าเชื่อถือ พนักงานต้อง
มีป้ายชื่อและชุดที่สามารถแบ่งแยกตำแหน่งหน้าที่ได้อย่างชัดเจน ด้านความมั่นใจ ผู้เข้าพักไม่
มั่นใจในความปลอดภัยในห้องเพราะไม่มีกล่องใส่ของนิรภัยจัดไว้ให้ในห้อง ด้านความใส่ใจ
ผู้เข้าพักคิดว่าโรงแรมไม่อยู่สถานที่ที่เดินทางสะดวกในครั้งแรกที่เดินทางเข้าถึงโรงแรม ด้าน
องค์ประกอบการบริการสไตล์ญี่ปุ่น ผู้เข้าพักคิดว่าพนักงานมีน้ำเสียงชัดเจนและน่าฟังอยู่ใน
ระดับต่ำที่สุด เนื่องด้วยข้อจำกัดในด้านภาษาอังกฤษของพนักงาน การตัดสินใจเลือกใช้บริการ
โรงแรม ผู้เข้าพัก คิดว่าจะเลือกกลับมาพักที่
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชลกร ศรีใหม่ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว
ชาวไทยในการท่องเที่ยวญี่ปุ่น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยสนับสนุนโครงสร้างคุณสมบัติของแหล่ง
ท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว
ของประเทศญี่ปุ่น 3. เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมหรือรูปแบบการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นให้
ได้รับความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวไทยมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม
แบบกระดาษและออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม
ผลการทดสอบพบว่า 1. พฤติกรรมการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่สนใจรูปแบบการท่องเที่ยว
แบบซื้อของและเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์ วัด ศาลเจ้า ทราบข้อมูลการท่องเที่ยวจาก
อินเตอร์เน็ตมากสุด ระยะเวลาท่องเที่ยว 4-6 วัน เดินทางพร้อมญาติหรือครอบครัว มีงบ
ค่าใช้จ่ายที่พักแบบโรงแรม คืนละ1,500-3,500 บาท งบใช้จ่ายต่อการไปญี่ปุ่นทั้งหมด 30,000-
50,000 บาท สนใจเดินทางช่วงฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) รับประทานอาหารแบบ
ท้องถิ่น สนใจประเภทสินค้าญี่ปุ่นประเภทขนม อาหาร ผลไม้ ส่วนใหญ่คิดว่าอุปสรรคที่สำคัญ
ที่สุดในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นคือ ค่าใช้จ่ายสูงและอุปสรรคทางภาษา 2. ปัจจัย
สนับสนุนโครงสร้างคุณสมบัติของแหล่งท่องเที่ยวส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยว พบว่า
ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านแคมเปญพิเศษ ด้านการต้อนรับ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้าน
จุดหมายปลายทาง ด้านคุณภาพด้านการบริการ ด้านภูมิศาสตร์กายภาพ ด้านความผูกพันต่อ
สถานที่และด้านเอกลักษณ์ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทาง
Full Text : Download! |
||
5. | แนวทางการทำประชาสัมพันธ์การตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณิชกานต์ ทัศนาญชลี | ||
การศึกษางานวิจัยเพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินเข้าศึกษาของนักศึกษาใน
สถาบันไทยเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น ได้แก่ ช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ ทัศนคติ
ที่มีต่อชื่อเสียงสถาบัน การสนับสนุนของผู้ปกครอง พฤติกรรมการเรียน สถานศึกษา และภาพลักษณ์
ของสถาบัน โดยการเก็บรวบรวมข้อปฐมภูมิ ด้วยการทำแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 109 คน นักเรียนระดับมัธยมปลาย 51 คน
ทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการทดสอบสมมุติฐาน
ด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทั้ง 7 ด้านของการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อสถาบันเทคโนโลยี
ไทย-ญี่ปุ่น ส่งผลการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ มีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งหมด 3 ด้าน ประกอบด้วย
การสนับสนุนของผู้ปกครอง สถานศึกษา และภาพลักษณ์ของสถาบันมีความสัมพันธ์กับการ
ตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ไปในทิศทางเดียวกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
6. | ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงาน กรณีศึกษาบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนนาถ ศรีจิตพิพัฒน์กุล | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กร 2. เพื่อศึกษา
คุณลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรญี่ปุ่น 3. เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร
ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
กลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยวัฒนธรรมองค์กรของด้านความสุขในการทำงาน ด้าน
ค่านิยมร่วมขององค์กร ด้านคุณภาพชีวิต ด้านผู้นำ และด้านความสัมพันธ์ในองค์กร สูงกว่าปานกลาง
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 3.60 3.64 3.54 และ 3.64 ตามลำดับ
ผลการเปรียบเทียบ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา หน่วยงานที่สังกัด และ รายได้
มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านคุณภาพ ด้านปริมาณงาน ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย
แตกต่างกัน ขณะที่ เพศมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานด้านคุณภาพของงาน แตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์พบว่า วัฒนธรรมการทำงานด้านความสุขในการทำงาน ด้านค่านิยม
ร่วมขององค์กร ด้านคุณภาพชีวิต และด้านผู้นำ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิภาพการ
ทำงานด้านคุณภาพของงาน ในระดับปานกลาง (r=0.475, r=0.451, r=0.419, r=0.533)
ตามลำดับ ยกเว้นด้านความสัมพันธ์ในองค์กร ในระดับต่ำ (r=0.219) วัฒนธรรมการทำงานด้าน
ความสุขในการทำงาน ด้านค่านิยมร่วมขององค์กร ด้านคุณภาพชีวิต และด้านผู้นำ มีความ
สัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิภาพการทำงานด้านปริมาณ ในระดับปานกลาง (r=0.409,
r=0.360, r=0.344, r=0.440) ตามลำดับ วัฒนธรรมการทำงานด้านความสุขในการทำงาน
Full Text : Download! |
||
7. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นภัส ศิริพรหมสมบัติ | ||
การค้นคว้าอิสระนี้ มีจุดประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการร้านอาหาร
ญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความสนใจของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหาร
ญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าในในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการ
ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าในในประเทศไทย โดยทำการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ใช้
บริการห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถามแบบเก็บข้อมูลด้วยตนเอง (Self-Administered Questionnaire) ข้อมูลที่ได้ นำมา
วิเคราะห์ด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
310 คน คิดเป็นร้อยละ 77.5 มีอายุระหว่าง 20 - 29 ปี จำนวน 177 คิดเป็นร้อยละ 44.3 มี
สถานภาพโสดมากที่สุด จำนวน 305 คน คิดเป็นร้อยละ 76.3 ระดับการศึกษาปริญญาตรี
จำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 67.0 และประกอบอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัทเอกชน จำนวน
186 คน คิดเป็นร้อยละ 46.5 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ 25,001-35,000 บาท
จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 พฤติกรรมผู้บริโภคในเรื่องความถี่ในการใช้บริการ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวน
134 คน คิดเป็นร้อยละ 33.5 และช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการคือเวลาเย็น (18:01-22:00)
จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 60.0
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ความสนใจที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ
ร้านอาหารญี่ปุ่นในห้างสรรพสินค้าในระดับมาก โดยให้ความสนใจกับด้านกระบวนการในการ
จัดการมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านบุคลากร ด้านความรู้สึกและ
Full Text : Download! |
||
8. | ปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปถมาพร ไชยพาฤทธิ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน
ระดับปฏิบัติการและระดับบริหารชั้นต้น 2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน
ของพนักงานและ 3. ปัจจัยแรงจูงใจ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์
กับระดับความสุขในการทำงานของพนักงาน โดยทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานประจำบริษัท
บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 250 คน
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง (Self-Administered
Questionnaire) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นพนักงานเพศชาย จำนวน
127 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.80 มีอายุระหว่าง 26-30 ปี มากที่สุด จำนวน 79 คน คิดเป็น ร้อยละ
31.60 มีสถานภาพโสดมากที่สุดจำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 63.20 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
20,001-30,000 บาท มากที่สุด จำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 49.60 อายุงานในที่ทำงานปัจจุบัน
น้อยกว่า 5 ปี มากที่สุด จำนวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 48.40 ระดับคุณสมบัติระดับปฏิบัติการ
ชั้นกลาง มากที่สุด จำนวน 140 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 ประเภทงานผลิต และวิศวกรรมการผลิต
มากที่สุด จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 17.60
สำหรับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจ และปัจจัยค้ำจุน กลุ่มตัวอย่างให้ความ
คิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความสุขในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 สำหรับปัจจัย
ค้ำจุนที่มีผลต่อความสุข ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นในระดับปานกลาง
Full Text : Download! |
||
9. | การรับรู้ของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นต่อการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พาวรุณ คล่องใจภักดี | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผล
ต่อการรับรู้ต่อการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่มีต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของสถาบันการศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่สมบูรณ์
ทั้งสิ้น 140 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว Independent Samples T-test, และ
One-way Analysis ANOVA
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 95 คน (67.86%) และเพศชาย
จำนวน 45 คน (32.14%) มีอายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 64 คน (45.71%) มีการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี จำนวน 129 คน (92.14%) และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 1-3 ปี จำนวน
53 คน (37.86%) และ 4-6 ปี จำนวน 49 คน (35.00%) ตามลำดับ มีประสบการณ์จำนวนปี
ประสบการณ์การสอนในประเทศไทย 1-3 ปี จำนวน 57 คน (42.86%) มีประสบการณ์จำนวนปี
ประสบการณ์การสอนในกรุงเทพ 1-3 ปี จำนวน 58 คน (41.43%) และ 4-6 ปี จำนวน 53 คน
(37.86%) ตามลำดับ และอายุงานในสถาบันปัจจุบัน 1-3 ปี จำนวน 55 คน (39.29%)
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่มีต่อการสอนภาษาญี่ปุ่นในสถาบัน
การศึกษาเขตกรุงเทพมหานครโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 โดยการรับรู้ของอาจารย์ชาวญี่ปุ่น
ที่มีต่อการสอนภาษาญี่ปุ่น ด้านเนื้อหาหลักสูตรการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 ด้านการใช้สื่อ
และอุปกรณ์การสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ด้านกิจกรรมการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 ด้าน
การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21
สรุปผลการว
Full Text : Download! |
||
10. | วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รุ่งทิวา คำเป๊กเครือ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผล
ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายในบริษัทไทย-ญี่ปุ่น และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางด้าน
ประชากรศาสตร์ส่งผลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ทางเดียว และการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิพหุสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-40 ปี มีการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท มีสถานภาพการสมรส โสด และมี
ประสบการณ์ในการทางานกับองค์กร 1-9 ปี
ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ได้แก่ (เพศ อายุ ระดับ
การศึกษา ระยะเวลาการทางาน สถานภาพการสมรส และรายได้) ที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานได้แก่ (คุณภาพของงาน ปริมาณของงาน เวลาที่ใช้ทางาน ค่าใช้จ่ายในงาน)
แตกต่างกัน
ผลการศึกษาระดับลักษณะวัฒนธรรมองค์กร พบว่า พนักงานส่วนใหญ่ทางด้านการ
เน้นให้บุคลากรเรียนรู้และพัฒนา ( X =3.59) และด้านการควบคุมคุณภาพ ( X =3.50) ที่อยู่ใน
ระดับสูง และด้านการวางแผนระยะยาว ( X =3.47) ก็อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะวัฒนธรรมองค์กรที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านคุณภาพของงาน ในระดับสูง r=0.615 ด้านปริมาณของงาน
ด้านเวลาที่ใช้ทำงาน ด้านค่าใช้จ่ายในงาน ในระดับปานกลาง r=0.498, r=0.475, r=0.475
ตามลำดับ ด้านคุณภาพของงาน ด้านปริมาณของงาน ด้านเวลาที่ใช้งาน มีความสัมพันธ์กับ
วัฒนธรรมองค์กรด้วย
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250