fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIM) 2012 |
1. | การศึกษาการบำรุงรักษาบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ (Reliability Centered Maintenance) กรณีศึกษา เครื่องล้างชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัศวเทวินทร์ สิทธิเหรียญชัย | ||
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการบำรุงรักษาบนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือ กรณีศึกษาเครื่อง
ล้างชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนระบบปรับอากาศรถยนต์ กระบวนการวิทยาประกอบด้วย
การตัดสินใจเชิงตรรกะประกอบกับพิจารณาจากปัจจัยข้อมูลที่มีอยู่ในอดีต เพื่อทำการตัดสิน
ชิ้นส่วนที่จะต้องถูกเฝ้าระวัง หรือทำการบำรุงรักษาก่อนที่จะเสียแล้วถึงแก้ไข โดยเปรียบเทียบ
กับงบประมาณที่เหมาะสม ทุกชิ้นส่วนมี่ผ่านกระบวนการจะถูกเปรียบเทียบกับเกณฑ์การ
ตัดสินใจ ได้แก่ งบประมาณ จำนวนพนักงาน เวลาที่ใช้ในการกู้กลับสู่สภาวะเดิม โดยความ
เสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับหน้าที่ของชิ้นส่วนเอง ไปสู่ระบบและสินทรัพย์ จุดมุ่งหมายหลัก
ของกระบวนการเพื่อแยกแยะ แต่ละชิ้นส่วนจะถูกตัดสินให้เป็นชิ้นส่วนประเภทวิกฤติ หรือซ่อน
เร้น หรือไม่มีความสำคัญต่อระบบ เพื่อสามารถเข้าใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากความเสียหาย
ซึ่งนำไปสู่การระบุชิ้นส่วนที่ถูกมองข้ามความสำคัญไป
ดังนั้น เมื่อสามารถประเมินผ่านกระบวนการนี้ จะได้ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมว่า
เครื่องจักรหยุดจากการเสียหายลดลงอย่างได้ผล แผนการบำรุงรักษาที่เหมาะสมและวิธีการ
ตรวจสอบจึงถูกจัดทำขึ้นมา แผนการบำรุงรักษาเดิมได้ถูกจัดทำขึ้นใหม่ตามความเหมาะสมทาง
ทรัพยากรและตามระดับความสำคัญ กระบวนการนี้ทำให้ผู้ใช้มีความเข้าใจในระบบมากขึ้น แต่
ถ้าขาดประสบการณ์จะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษาอุปกรณ์
เครื่องจักรและระบบ ผลลัพธ์ที่สามารถประเมินผ่านกระบวนการนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเรื่อง
ของการที่เครื่องหยุดจากการเสียหายลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับการวางแผนการบำรุงรักษา
แบบเดิม
การบำรุงรักษาบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือจะพิจารณาอย่างเหมาะสมและดำเนินการวางแผนปรับปรุงเครื่องจักร เพื่อการป้องกันแนว
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์การบำรุงรักษาโดยใช้สภาพเป็นเกณฑ์ กรณีศึกษาระบบปรับอากาศในโรงแรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บวร วัชเรศโยธิน | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษางานบำรุงรักษาระบบปรับอากาศในโรงแรม
กรณีศึกษา โดยการประยุกต์การบำรุงรักษาโดยใช้สภาพเป็นเกณฑ์ เพื่อลดจำนวนการแจ้งซ่อม
และจำนวนการซ่อมที่ไม่ได้วางแผนในโรงแรมกรณีศึกษา เริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุ
ปัจจัยของจำนวนการแจ้งซ่อมที่เกิดขึ้น จึงได้ทำการปรับปรุงการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ
ด้วยการบำรุงรักษาโดยใช้สภาพเป็นเกณฑ์ตามมาตรฐาน Open System Architecture for
Conditional Based Maintenance (OSA-CBM) โดยการบ่งชี้สภาพความอุดตันของไส้กรอง
อากาศในเครื่องปรับอากาศชนิด Fan Coil Unit ด้วยความดันอากาศจะมีการติดตามสภาพ
ความอุดตัน และได้นำเสนอผังการไหลของการวางแผนบำรุงรักษาโดยใช้สภาพเป็นเกณฑ์ใน
การปรับปรุงระบบปรับอากาศในโรงแรมกรณีศึกษา
จากการปรับปรุงในพื้นที่ทดสอบบริเวณห้องพักแขก และทางเดินชั้นที่ 4 และ 5
ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม 2555 พบว่ามีการแจ้งเตือนสภาพกรองอากาศในการ
ปฏิบัติงานซ่อมบำรุง ทำให้จำนวนความถี่ในการแจ้งซ่อมของ Fan Coil Unit ลดลงเท่ากับ 0
สามารถลดจำนวนการแจ้งซ่อม และจำนวนงานซ่อมที่นอกเหนือการวางแผนของระบบปรับ
อากาศลงได้
Full Text : Download! |
||
3. | การประยุกต์เทคนิควิศวกรรมคุณค่าสำหรับการออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชิณดิษฐ์ ทุมชาลี | ||
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและนำหลักการทางวิศวกรรมคุณค่ามาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์หน้าที่การทำงานของวัสดุ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนสำหรับการออกแบบสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายรุ่น TPSN-130AB A ในส่วนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำเสนอการออกแบบใหม่ ที่สามารถลดต้นทุนทางวัสดุลงโดยหน้าที่และคุณภาพยังคงเดิมโดยดำเนินตามแผนงานวิศวกรรมคุณค่า 7 ขั้นตอน คือ การเลือกโครงการ การรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์หน้าที่การทำงาน การสร้างสรรค์ความคิด การประเมินผลควมคิดเพื่อปรับปรุงการทดสอบและพิสูจน์ และการนำเสนอแนะเพื่อนำไปปฏิบัติ จากการศึกษาและปรับปรุงการออกแบบใหม่นี้พบว่า สามารถลดต้นทุนทางวัสดุของสวิตช์ชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย ลดลงจาก 745.3 บาท ลดเหลือ 686.16 บาท คิดเป็น 7.94 % ของต้นทุนผลิตภัณฑ์เดิม หรือคิดเป็นมูลค่า 1,774,200 บาทต่อปี เมื่อคำนวนจากปริมาณการสั่งซื้อประมาณการที่ 30,000 ชิ้นต่อปี
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาระดับทัศนคติและความคิดเห็นของพนักงานที่มีปัจจัยค้ำจุน บริษัทกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชูชาติ พิจิตร์สกุลชัย | ||
การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของโรงงานและลักษณะของปัญหา (2) เพื่อรวบรวมข้อคิดเห็น ทัศนคติของพนักงานที่มีต่ออัตราค่าจ้างและสวัสดิการของบริษัทฯที่ทำการศึกษา (3) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลจากพนักงานถึงผู้บริหาร เพื่อนำไปกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป กลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 150 คน สามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มพนักงานที่ยังทำงาน ณ ปัจจุบันจำนวน 100 คนและพนักงานที่ลาออก/กำลังดำเนินการยื่นใบลาออกจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth
Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมคิมพิวเตอร์ SPSS เพื่อคำนวนหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างพนักงานที่ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 150 คน จำแนกเป็นเพศชายและเพศหญิงอย่างละประมาณครึ่งหนึ่ง อายุส่วนใหญ่เฉลี่ย 21-30 ปี สถานะโสด การศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่จบมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนใหญ่ทำงานฝ่ายผลิตและส่วนใหญ่ทำงานมานานกว่า 1 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนสุทธิ (รวม OT และอื่น ๆ ) ประมาณ 5,000 - 10,000 บาท ผลของการวัดทัศนคติของพนักงานทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีต่อปัจจัยค้ำจุน (Maintenance Factor) ทั้ง 9 ตามทฤษฏีสองปัจจัย (Two Factor Theory) พบว่ามีทัศนคติต่ออัตราค่าจ้างและสวัสดิการของบริษัทแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่องปัจจัยค้ำจุนในด้านเงินเดือน (Salary) ปัจจัยค้ำจุนในด้านนโยบายและการบริหารงาน (Company Policy and Administration) ปัจจัยค้ำจุนในด้านความเป็นอยู่ส่วนตัว (Personal Life) และปัจจัยค้ำจุนในด้านวิธีการปกครองบ
Full Text : Download! |
||
5. | การประยุกต์ใช้ FMEA ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อม กรณีศึกษาโรงงานผลิตปั๊มขึ้นรูปโลหะแผ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกราช คงสรรค์เสถียร | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการประยุกต์ใช้ FMEA ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อหาแนวทางในการลดของเสียที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการผลิต แนวคิดและหลักการของเครื่องมือนี้ คือ การวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป และการส่งมอบให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะต้องอาศัยทีมงานที่มีประสบการณ์จากหลายส่วนมาร่วมมือกันดำเนินการเพื่อที่จะหาแนวทางการขจัดหรือลดความเสี่ยงของปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ต้องการได้ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
จากการศึกษาการศึกษาการประยุกต์ใช้ FMEA พบว่าแนวโน้มความผิดพลาดและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นสูงสุดได้แก่ ปัญหาชิ้นงานเป็นครีบจากกระบวนการตัดเฉือน ปัญหาระยะระหว่างรูไม่ได้ขนาดจากกระบวนการดัดงอ และปัญหาการบรรจุงานไม่ครบจากกระบวนการบรรจุทางทีมงานจึงได้นำเสนอแนวทางในการปรับปรุง เพื่อลดตัวเลขแสดงลำดับของความเสี่ยง (RPN)
ผลจากการดำเนินการปรับปรุงพบว่าค่า RPN มีค่าลดลง โดยที่กระบวนการตัดเฉือนมีค่าลดลงจาก 288 เหลือ 216 กระบวนการดัดงอมีค่าลดลงจาก 288 เหลือ 216 และกระบวนการบรรจุมีค่าลดลงจาก 384 เหลือ 96 และในส่วนของภาพรวมจากข้อมูลของเสียในล็อตผลิตจริงของผลิตภัณฑ์ใหม่ในไตรมาสที่ 3 มีค่าลดลงเหลือ 28 ppm. จากไตรมาสที่ 2 ที่มีของเสียอยู่ที่ 120 ppm.
Full Text : Download! |
||
6. | อุปสรรคในการแบ่งปันความรู้ในแผนกวิศวกรรมเครื่องกล : กรณีศึกษา บริษัทบรรจุภัณฑ์แก้ว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิทธิบูรณ์ บุนนาค | ||
จุดมุ่งหมายของการทำสารนิพนธ์นี้ เพื่อศึกษาอุปสรรคที่มีผลต่อการแบ่งปันความรู้และการถ่ายทอดประสบการณ์ ในระบบการจัดการความรู้ โดยแนวทางการศึกษานี้ คือ การประยุกต์การศึกษาแนวทางในการจัดการความรู้ในอดีต และอุปสรรคในการแบ่งปันความรู้ โดยทำแบบสอบถามภายในแผนกวิศวกรรมเครื่องกล ในการศึกษานี้ ผู้ศึกษาพบว่ามีอุปสรรคในการแบ่งปันความรู้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. อุปสรรคส่วนบุคคล 2. อุปสรรคขององค์กร 3. อุปสรรคในการจัดการความรู้ในด้านเทคโนโลยี ซึ่งจากการสรุปผลพบว่า อุปสรรคในการจัดการความรู้ในด้านเทคโนโลยี มีคะแนนสูงสุด มีรายละเอียดดังนี้ คือ
-ขาดการการบูรณาการของระบบไอที และขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของคน
-ขาดการสับสนุนทางด้านเทคนิค (ทั้งภายในหรือภายนอก) และการบำรุงรักษา/ซ่อมบำรุงโดยทันทีของระบบไอทีแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติงานและสายการสื่อสาร
-ขาดการทำงานร่วมกัน (Compatibility) ระหว่างระบบไอทีที่หลากหลายและกระบวนการที่หลากหลาย
-การขาดการฝึกอบรมกับพนักงานให้มีควมคุ้นเคยต่อระบบไอทีและกระบวนการทำงานต่าง ๆ ใหม่
ผู้ศึกษาจึงได้สรุปหาแนวทางในการแก้ไขกับผู้เกี่ยวข้องได้ผลได้ข้อสรุป คือ หน่วยงานควรสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเกิดการแบ่งปันความรู้ และควรจัดให้พนักงานที่มีเวลาว่างเพื่อสร้างคุ้นเคยกับระบบ IT หรือแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน ทำให้ระบบต่างๆ เข้าถึงได้ง่าย ลดความซับซ้อนในการทำงานลง และทำความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการแบ่งปันความรุู้
Full Text : Download! |
||
7. | การลดต้นทุนด้วยการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษาโรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จารุวัฒน์ กระแสร์ | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิธีการบรรจุและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สำหรับขนส่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเสนอรูปแบบใหม่ที่ลดต้นทุนได้ โดยหน้าที่และคุณภาพยังคงเดิม โดยใช้เทคนิควิศวรรมคุณค่า 7 ชั้น ดังนี้ 1. ขั้นตอนทั่วไป 2. ขั้นตอนรวบรวมข้อมูล 3.ขั้นตอนวิเคราะห์หน้าที่ 4.ขั้นตอนสร้างสรรค์ความคิด 5.ขั้นตอนประเมินผล 6.ขั้นตอนทดสอบพิสูจน์ 7.ขั้นตอนเสนอแนะเพื่อนำไปปฏิบัติ จากการศึกษาสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ทดแทนของเดิมได้ โดยหน้าที่และคุณภาพยังคงเดิม สามาถลดต้นทุนวัสดุบรรจุภัณฑ์จากเดิม 22.81 ต่อชิ้น เหลือเพียง 15.50 บาท คิดเป็น 32% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มจำนวนสินค้าในการบรรจุใน 1 พาเลท เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์จากเดิม บรรจุได้ 120 ชิ้น ปรับปรุงใหม่ ได้ 180 ชิ้น คิดเป็น 50% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เพิ่มปริมาณการบรรจุผลิตภัณฑ์ในการขนส่งจากเดิม 9,600 ชิ้นต่อเที่ยว ปรับปรุงใหม่ได้ 14,400 ชิ้นต่อเที่ยว
Full Text : Download! |
||
8. | การศึกษาการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา(Time Series)เพื่อการวางแผนผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตฉนวนกันความร้อน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤษณกร แก้วทอง | ||
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาเพื่อสนับสนุนการวางแผนการผลิตของฝ่ายวางแผนการผลิต การศึกษาการพยากรณ์แบบอนุกรมเวลาในสารนิพนธ์นี้ได้ศึกษาลักษณะของข้อมูลยอดขายสินค้าในอดีตเพื่อเลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูลบริษัทกรณีศึกษา ผลการดำเนินงานปรากฏว่า วิธีการพยากรณ์ที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ วิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลแบบง่ายจากนั้นได้นำวิธีการพยากรณ์ที่ได้ไปใช้ในการพยากรณ์ในระบบวางแผนการผลิตของบริษัทกรณีศึกษาเพื่อใช้ในการตัดสินใจสั่งผลิต หลังจากที่นำไปใช้ในบริษัทกรณีศึกษาผลที่ได้ในเดือนกันยายน 2554 ถึง มกราคม 2555 การพยากรณ์การผลิตด้วยวิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กช์โพเนนเชียลแบบง่าย พยากรณ์การผลิตสินค้าได้รวมทั้งหมด 1,410 ม้วน โดนมียอดขายรวมทั้งสิ้น 1,300 ม้วน ซึ่งมีผลต่างยอดขายจริงเท่ากับ 110 ม้วน คิดเป็นต้นทุนมูลค่าประมาณ 440,000 บาท ในขณะที่ใช้วิธีการพยากรณ์จากประสบการณ์ของผู้วางแผนจะต้องสั่งผลิต 1,600 ม้วน ซึ่งมีผลต่างกับยอดขายจริงเท่ากับ 300 ม้วน คิดเป็นต้นทุนมูลค่าประมาณ 1,200,000 บาท
สรุปได้ว่า ผลการพยากรณ์การผลิตสินค้าด้วยวิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กโพเนนเชียลแบบง่ายมีค่าไกล้เคียงกับยอดขายจริงมากกว่าการใช้วิธีการจากประสบการณ์ของผู้วางแผนการผลิตอย่างเดียว
Full Text : Download! |
||
9. | การเพิ่มกำลังการผลิต ด้วยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต โดยหลักการเทคนิคการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) กรณีศึกษา โรงงานผลิตสายไฟรถยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กิตติธัช แก้วบางกะพ้อม | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อต้องการให้บริษัทสามารถรองรับกับปริมาณการผลิตที่
เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งทางบริษัทต้องทำการพัฒนาปรับปรุง เพื่อลด
ต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดความสูญเปล่าโดยทุกคนมีส่วนร่วม พัฒนา
ปรับปรุงงานของตนเอง โดยการประยุกต์ใช้การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen)
บริษัทกรณีศึกษาการผลิตสายไฟรถยนต์ ปัจจุบันการแข่งขันของอุตสาหกรรมรถยนต์
นั้นได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อตอบสนองกับปริมาณความต้องการของลูกค้าบริษัท
กรณีศึกษาได้รับปริมาณการสั่งซื้อของไตรมาสที่ 2 ที่มีปริมาณการสั่งซื้อมากกว่ากำลังการผลิต
ของบริษัท ดังนั้นจึงใช้เทคนิคการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) มาเป็นเครื่องมือในการ
พัฒนาปรับปรุงกระบวนการให้กำลังการผลิตสามารถรองรับกับความต้องการได้ และทำการลด
ความสูญเปล่าในกระบวนการโดยฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานทุกคนใน
สายการผลิต โดยทุกคนมีส่วนร่วมในการ Kaizen ในครั้งนี้ โดยเริ่มต้นจากการตั้ง Takt Time
ตามปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าและทำการประเมิน Cycle Time ของบริษัท และดำเนินการ
ปรับปรุงและลดความสูญเปล่าโดยเทคนิค Cycle Time Balancing ได้ดำเนินการปรับปรุงใน
สถานีต่างๆ ในสายการผลิต เพื่อให้สถานีเดิมที่มี Cycle Time เกินเวลา Takt Time สามารถ
พัฒนาปรับปรุงจนผลิตได้ตาม Takt Time ที่กำหนด โดยมีสถานีทั้งหมด 52 สถานี และสถานีที่
ทำการ Kaizen ทั้งหมด 20 สถานี และได้เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง
หลังการปรับปรุงบริษัทกรณีศึกษา กำลังการผลิตของบริษัทสามารถตอบสนองกับ
ปริมาณการสั่งซื้อของทางลูกค้าได้ในไตรมาส 2 ซึ่งพนักงานทุกคนมีแนวคิดวิเคราะห์ในการ
ปรับปรุงระบบการทำงานของตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด มีการพัฒนาและสร้า
Full Text : Download! |
||
10. | การลดต้นทุนกระบวนการผลิต โดยใช้หลักวิศวกรรมคุณค่า กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนโลหะ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณปภัช ทองนาคโคกกรวด | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขั้นตอนของการดำเนินงานและการทำกิจกรรม
การลดต้นทุนภายในบริษัทผลิตชิ้นส่วนโลหะ โดยได้นำหลักวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ปรับปรุง
กระบวนการผลิต ให้มีต้นทุนต่ำลง แต่ยังคงรักษาคุณภาพและหน้าที่การใช้งานของผลิตภัณฑ์
ไว้เหมือนเดิม ซึ่งในการศึกษานี้ได้นำแผนงานวิศวกรรมคุณค่า 7 ขั้นตอน มาใช้เป็นแนวทางใน
การดำเนินกิจกรรมการลดต้นทุนชิ้นงานรายการ Collar จากที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวม
ข้อมูลพบว่า กระบวนการกลึงปอกในขั้นตอนการกลึงตัดและการเจาะรู ID 10 mm ใช้เวลามาก
ที่สุด อีกทั้งยังพบความซ้ำซ้อนของกระบวนการกลึงปาดหน้า OD 15 mm และกระบวนการลบ
คม ID 10 mm ซึ่งก่อให้เกิดรูปร่างในจุดใช้งานเดียวกัน ในการปรับปรุงจึงได้ทำการเปลี่ยน
วัตถุดิบจากเหล็กเพลากลมมาเป็นท่อเหล็กทำให้สามารถตัดขั้นตอนการเจาะนำศูนย์และ
ขั้นตอนการเจาะรู ID 10 mm ออกไป และได้ออกแบบการวางมีดบนป้อมมีดใหม่เพื่อรวม
กระบวนการกลึงปาดหน้า OD 15 mm และลบคม ID 10 mm เข้าด้วยกัน ผลจากการแก้ไข
ปรับปรุง พบว่า สามารถลดต้นทุนรวมของชิ้นงานจาก 2.32 บาท เหลือ 1.91 บาท หรือลดลง
ร้อยละ 17.67 และสามารถลดเวลาในการผลิตต่อชิ้นจาก 51.8 วินาที เหลือ 37.4 วินาที หรือ
ลดลงร้อยละ 27.80
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250