fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (MIM) 2013 |
1. | การลดความสูญเปล่าในการชุบเคลือบด้วยสังกะสี แบบจุ่มร้อน (Hot Dip Galvanize) กรณีศึกษา โรงงานชุบสังกะสี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อดิเรก คำพิมพ์ | ||
งานสารนิพนธ์นี้เป็นการปรับปรุงกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนโดยการใช้แผนผังการไหลของกระบวนการ (Flow Process Chart ) ด้วยการวิเคราะห์ความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) ที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต ขจัดงานที่ซ้ำซ้อนและไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งไม่มีคุณค่าเพิ่ม (Non Value Added : NVA) และปรับปรุงกระบวนการที่จำเป็นแต่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม (Necessary but Non Value Added : NNVA) ให้มีการทำงานที่ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น เพื่อให้เวลาในกระบวนการผลิตลดลง จากการวิเคราะห์กระบวนการโดยการใช้แผนผังการไหลของกระบวนการและทำการขจัดความสูญเปล่า โดยการวิเคราะห์ กระบวนการที่มีคุณค่าเพิ่ม (Value Added : VA) กระบวนการที่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม (Non Value Added : NVA) และกระบวนการที่จำเป็นแต่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม (Necessary but Non Value Added : NNVA) ผลจากการปรับปรุงและขจัดกระบวนการที่ไม่มีคุณค่าเพิ่มแต่มีความจำเป็น และไม่มีคุณค่าเพิ่มออกจากกระบวนการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนสามารถลดเวลาการทำงานจากเดิม 421 นาที เหลือ 325.5 นาที สามารถลดเวลาในการทำงานได้ 95.5 นาที คิดเป็น 22.68 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นจาก 4.19 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.91 เปอร์เซ็นต์
Full Text : Download! |
||
2. | การลดเวลาการปรับตั้งแม่พิมพ์ในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอกตระกูล สุมาลา | ||
การศึกษานี้ เพื่อนำหลักการและเทคนิคการปรับตั้งแม่พิมพ์
โดยใช้เวลาเป็นจำนวนนาทีที่เป็นตัวเลขหลักเดียว (Single Minute
Exchange of Die: SMED) เพื่อลดเวลาในการปรับตั้ง (Setup Time)
แม่พิมพ์ที่กระบวนการฉีดพลาสติกอย่างน้อย 50% จากสภาพปัจจุบัน
ของกระบวนการฉีดพลาสติก พบว่า กระบวนการปรับตั้งแม่พิมพ์ใช้
เวลาปรับตั้ง (Setup Time) เท่ากับ 211 นาที และมีขั้นตอนจำนวนมาก
(21 ขั้นตอน) จึงได้แยกงานภายใน ออกจากงานภายนอกตามหลักการ
และเทคนิคSMED นอกจากนั้นยังได้ประยุกต์หลักการกำจัดความสูญ
เปล่าของกระบวนการรอคอย และการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็นในขั้นตอน
การปรับตั้งแม่พิมพ์ ได้ประยุกต์ใช้ร่วมกับเครื่องมือและเทคนิคทาง
วิศวกรรมอุตสาหการ (IE Technique) ในการปรับปรุง โดยได้รับความ
ร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึงผู้ปฏิบัติงาน การปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 1 ทำให้สามารถลดเวลาปรับตั้งแม่พิมพ์จาก 211 นาที เหลือ
140 นาที คิดเป็น 33.65 % และลดขั้นตอนจาก 21 ขั้นตอน เหลือ 13
ขั้นตอน การปรับปรุงขั้นตอนที่ 2 สามารถลดเวลาจาก 140 นาที เหลือ
100 นาที คิดเป็น 28.57 % และจาก 13 ขั้นตอน เหลือ 6 ขั้นตอน และ
การปรับปรุงขั้นตอนที่ 3 สามารถลดเวลาการปรับตั้งแม่พิมพ์จาก 100
นาที เหลือ 33 นาที คิดเป็น 67 % จากนั้นได้กำหนดมาตรฐานและคู่มือ
ปฏิบัติงานไว้สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานการปรับตั้งแม่พิมพ์
Full Text : Download! |
||
3. | การประยุกต์การแก้ปัญหาคุณภาพด้วยคิวซีสตอรี กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรรคมงคล จันฤๅไชย | ||
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อหามาตรการการลดข้อ
ร้องเรียนของลูกค้าและอัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วนของชิ้นส่วนวงกบ
ประตูรถยนต์เพื่อการส่งออก เพื่อลดความไม่พึงพอใจของลูกค้า โดย
ดำเนินการตามขั้นตอนของคิวซีสตอรีทั้ง 7 ขั้นตอนของ JUSE (Union
of Japanese Scientists and Engineers) การศึกษาได้ประยุกต์ใช้
ขั้นตอนของคิวซีสตอรี ในการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพที่เคยได้รับข้อ
ร้องเรียนจากลูกค้าในช่วง ตุลาคม 2555-กรกฎาคม2556 พบว่าปัญหา
ข้อร้องเรียนที่ได้รับจากลูกค้ามากที่สุด มาจากการขัดแต่งผิวชิ้นส่วน
ไม่ได้ตามมาตรฐานที่ลูกค้าต้องการ เนื่องจากพนักงานขัดแต่งมีความ
เข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องลักษณะของผิวชิ้นส่วนตามข้อกำหนดที่ลูกค้า
ต้องการ และวิธีการตรวจสอบที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้ชิ้นส่วนที่มีตำหนิ
บางส่วนหลุดรอดไปยังลูกค้า ผลการแก้ปัญหาตามขั้นตอนของคิวซี
สตอรี สามารถหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข
หลังการดำเนินกิจกรรม ข้อร้องเรียนปัญหาคุณภาพที่เกิดจากการขัด
แต่งผิวที่ไม่ได้มาตรฐานลดลงจากเดิม 20 ครั้ง เหลือศูนย์ โดยไม่เกิด
ปัญหาเดิมซ้ำจนถึงปัจจุบัน และจำนวนการได้รับข้อร้องเรียนสำหรับ
ปัญหาอื่น ทุกปัญหาจากเดิม 4.5 ฉบับต่อเดือน เหลือ 1 ฉบับต่อเดือน
อัตราส่วนของเสียต่อล้านส่วน ลดลงจากเดิม 5,633 DPPM (Defect Part
Per Million) ต่อเดือน เหลือ 222.8 DPPM ต่อเดือน
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาพัฒนากระบวนการประกอบตลับลูกปืน ในชุดประกอบหัวอ่าน-เขียนสำเร็จ (Heads Stack Assembly) โดยกาวอบแห้งด้วยแสง Ultraviolet ตามหลักการการออกแบบสำหรับซิกส์ซิกม่า: IDOV [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนและเพื่อพัฒนาพารามิเตอร์ทางด้านสมรรถนะที่สำคัญ เช่น Bearing Height, Bearing Pitch, Bearing Roll ให้มีค่า Cpk > 1.33 สำหรับการพัฒนากระบวนการประกอบตลับลูกปืนของชุดประกอบหัวอ่าน-เขียนสำเร็จ (Heads Stack Assembly : HSA) ตามแนวทาง Design for Six Sigma : IDOV โดยมีจุดมุ่งหมายของการพัฒนา เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ในอนาคต และออกแบบโดยมุ่งเน้นตามความต้องการของลูกค้า ผลจากการศึกษา พบว่ากระบวนการประกอบตลับลูกปืนใน HSA โดยใช้กาวอบแห้งด้วยแสง Ultraviolet (UV-Cure Glue) ที่พัฒนาขึ้นใหม่นั้น สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยเมื่อเทียบกับกระบวนการประกอบลูกปืนใน HSA โดยใช้กาวอบแห้งด้วยความร้อน (Thermal-Cure Glue) เดิมได้ 6.77 เปอร์เซ็นต์ จากเป้าหมาย 10 เปอร์เซ็นต์ และมีจุดคุ้มทุนการผลิต HSA เท่ากับ 1,766 ชิ้น หรือใช้เวลาผลิต 0.32 วัน (7.68 ชั่วโมง) หลังจากเสร็จสิ้นการพัฒนาด้านความสามารถของกระบวนการในพารามิเตอร์ที่สำคัญ เช่น Bearing Height, Bearing Pitch และ Bearing Roll ของกระบวนการประกอบตลับลูกปืนใน HSA โดยกาวอบแห้งด้วยแสง Ultraviolet ค่า Cpk > 1.33 ซึ่งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดทางด้านคุณภาพของลูกค้าและหน่วยงานพัฒนา
Full Text : Download! |
||
5. | การปรับปรุงเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน (Availability) ของ เครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค SMED กรณีศึกษา บริษัทผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่อง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมลวรรณ บุณยจรัสพงศ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค Single Minute
Exchange of Die (SMED) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน
(Availability) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน โดยลดเวลาการ
ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน และลดเวลาความสูญเปล่าในกระบวนการ
พิมพ์แบบฟอร์มต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลของขั้นตอนการปฏิบัติงาน
จากโรงงานผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่องซึ่งเป็นโรงงานตัวอย่างในการ
ปรับปรุงและเลือกเครื่องพิมพ์ต้นแบบและนำความสูญเสียรวมของ
บริษัทมาพิจารณาประกอบในส่วนของการผลิต (Production Loss) เมื่อ
แยกความสูญเสียในแต่ละส่วนจะเห็นว่าความพร้อมการใช้งานของ
เครื่องจักรมีการสูญเสีย 13.91 ล้านบาท ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากความ
พร้อมในการทำงานของเครื่องพิมพ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำ เมื่อวิเคราะห์
ข้อมูลสัดส่วนความพร้อมในการทำงานนั้นจะเห็นถึงสัดส่วนการปรับตั้ง
(Setup) มีค่าที่สูงถึง 53% จึงนำมาดำเนินการปรับปรุงโดยประยุกต์ใช้
เทคนิค SMED เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนและเวลาการทำงาน
พิมพ์มีเวลาโดยรวม 266.29 นาที พร้อมทั้งแยกแยะงานตาม
วัตถุประสงค์ของการทำงาน งานสูญเปล่า 3.45 นาที งานปรับตั้งภายใน
247.50 นาที งานปรับตั้งภายนอก 15.04 นาที หลังจากการปรับปรุง
พบว่า สามารถลดเวลางานสูญเปล่าจากกิจกรรม 5ส เปลี่ยนงานปรับตั้ง
ภายในให้เป็นงานปรับตั้งภายนอก เหลือเวลางานปรับตั้งภายใน 218
นาที วิเคราะห์งานปรับตั้งภายในเพื่อลดเวลาโดยรวม ทำการปรับปรุง
เวลาการปรับตั้งภายในโดยใช้หลักการ Eliminate Combine Rearrange
Simplify (ECRS) ในการปรับปรุงขั้นตอนเวลาลดลงเหลือ 92.37 นาที
สำหรับงานปรับตั้งภายนอกปรับปรุงจากกิจกรรม 5ส เวลาลดลงเหลือ
33.03 นาที บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ 245,185 บาทต่อปี
Full Text : Download! |
||
6. | การลดต้นทุนการผลิตด้วยเทคนิคการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อนุชา คณาจันทร์ | ||
การศึกษาการลดต้นทุนกระบวนการผลิตถังบำบัดน้ำเสีย
สำเร็จรูปด้วยเทคนิคการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมาย
ลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 10 จากปัจจุบัน โดยใช้เครื่องมือ การวิเคราะห์
กระบวนการผลิต การค้นหาความสูญเปล่า 7 ประการ เทคนิคการ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การแก้ปัญหาด้วยหลักการ ECRS การค้นหา
สาเหตุด้วย Why Why Analysis และกิจกรรม 5ส.หลังการปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง ทำให้กระบวนการสูญเปล่าได้รับการแก้ไขส่งผลให้การควบคุม
ต้นทุนการผลิตทำได้ดีขึ้น ก่อนการปรับปรุงจากต้นทุน 2,612.20 บาท/
ใบ เหลือ 2,538.00 บาท/ใบ ลดลง 74.2 บาท/ใบ หรือลดลงร้อยละ 2.8
เมื่อเทียบกับเป้าหมายซึ่งกำหนดลดต้นทุนการผลิตร้อยละ 10 แต่ผล
การปรับปรุงลดได้เพียงร้อยละ 2.8 ซึ่งยังต้องดำเนินการปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงการทำงานทำให้พนักงานมี
ความสุขในการทำงาน ปัญหาในกระบวนการผลิตได้รับการแก้ไข ความ
ภาคภูมิใจในความคิดสร้างสรรค์ที่ทุกคนได้ช่วยกันเพื่อผลประโยชน์ต่อ
ตนเอง ผู้ร่วมงานและองค์กร
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแรงงานทางการบริหารธุรกิจตามความต้องการของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อารยา อัจจิมานนท์ | ||
การศึกษานี้ได้ศึกษาถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแรงงานทางการบริหารธุรกิจตามความต้องการของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้เสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้ประกอบการจำนวน 350 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ F-Test จากการศึกษาพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแรงงานทางการบริหารธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องการที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ด้านความรู้ความสามารถทางการใช้ภาษาต่างประเทศ ด้านความรู้ความสามารถที่ส่งผลต่อการทำงาน ด้านความรู้ความสารถทางวิชาชีพและด้านความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยี เป็นต้น
ผลการศึกษาพบว่า ทั้งผู้ประกอบการที่มีรูปแบบของการประกอบธุรกิจต่างกัน รวมทั้งที่มีประเภทของการประกอบธุรกิจต่างกัน มีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของแรงงานทางการบริหารธุรกิจแตกต่างกัน ทั้ง 2 ประเด็นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Full Text : Download! |
||
8. | ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949: 2009 ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัจฉรา ศรีสุข | ||
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ
ISO/TS16949:2009 ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี
กรณีศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จใน
การบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949: 2009 โดยเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างจำนวน 40 บริษัท และได้กำหนดคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่
เพศ อายุ อายุงาน และระดับการศึกษาของพนักงานที่รับผิดชอบการ
บริหารระบบบริหารคุณภาพที่ต่างกัน มีอิทธิพลต่อปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพ ISO/TS16949:2009
ต่างกัน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ
ใช้สถิติเชิงพรรณนา จากการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะทั่วไปของผู้บริหาร
ระบบบริหารคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ตำ แหน่งเป็นผู้
ประสานงานด้านระบบบริหารคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความ
คิดเห็นต่อปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารระบบบริหารคุณภาพอยู่
ในระดับสูง ปัจจัยแห่งความสำเร็จเรื่องการกำหนดนโยบายคุณภาพ
และการทบทวนโดยฝ่ายบริหารและทุกหน่วยงานในองค์กรมีการ
กำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับนโยบาย และข้อกำหนดระบบบริหาร
คุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ในระดับสูงที่สุด ส่วนระดับต่ำที่สุด ที่ยัง
อยู่ในเกณฑ์คะแนนระดับสูง คือ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เรื่อง พนักงาน
ทุกคนรวมถึงผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางการ
ดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ตามข้อกำหนด
ISO/TS16949: 2009
Full Text : Download! |
||
9. | ปัญหาด้านแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อธิภัทร วรรธอนันตชัย | ||
การศึกษาปัญหาด้านแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โดย
ทำการศึกษาสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย
ศึกษาปัญหาด้านแรงงาน สาเหตุที่มาของปัญหา และแนวทางผ่อน
คลายปัญหาด้านแรงงานในระยะสั้นและระยะยาว โดยใช้การเก็บข้อมูล
2 วิธี ได้แก่ การทำแบบสำรวจสอบถามสถานประกอบการจำนวน 30
ชุด โดยสุ่มจากรายชื่อสมาชิกของสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถานประกอบการจำนวน 6 แห่ง จากกลุ่ม
ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่าข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและ
การสำรวจแบบสอบถามมีความสอดคล้องกัน และไม่พบความแตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญระหว่างปัจจัยขนาดองค์กร และปัจจัยที่ศึกษา ทั้งนี้
สามารถสังเกตได้ว่า สถานประกอบการทุกขนาดในอุตสาหกรรม
ก่อสร้าง ต่างประสบปัญหาแรงงานด้านการขาดแคลนแรงงานมากที่สุด
สาเหตุของปัญหาขาดแคลนแรงงาน คือ ความต้องการแรงงานใน
อุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นจากการขยายตัวในภาคก่อสร้างการปรับตัว
ระยะสั้น วิสาหกิจขนาดย่อมปรับตัวโดยจ้างผู้รับเหมาช่วง วิสาหกิจ
ขนาดกลางปรับตัวโดยจ้างผู้รับเหมาช่วงและจ้างทำงานล่วงเวลา
วิสาหกิจขนาดใหญ่ปรับตัวโดยจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทน ในการ
ปรับตัวระยะยาววิสาหกิจขนาดย่อมปรับตัวโดยการจ้างผู้รับเหมาช่วง
และใช้เครื่องจักรทดแทน วิสาหกิจขนาดกลางปรับตัวโดยเพิ่มค่าจ้าง
จ้างทำงานล่วงเวลา และจ้างผู้รับเหมาช่วง วิสาหกิจขนาดใหญ่ปรับตัว
โดยจ้างแรงงานต่างด้าวทดแทน และใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการ
ก่อสร้างใหม่ทดแทนแรงงาน
Full Text : Download! |
||
10. | การศึกษาแนวทางเพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ในการผลิตอุปกรณ์กีฬาไม้กอล์ฟ บริษัทกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อัฑฒ์ติณณ์ อริยธัชพิมุกต์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตอุปกรณ์กีฬาไม้กอล์ฟ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ต่างๆ นำผลมาวิเคราะห์แนวทางการประหยัดพลังงานไฟฟ้า จากการศึกษาสามารถนำเสนอแนวทางการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 3 มาตรการ คือ 1) การลดจำนวนหลอดไฟทางเดินระหว่างแผนก จากเดิมที่มีการติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ T8 ขนาด 36 วัตต์ จำนวน 2 หลอดต่อ 1 ราง ให้ลดลงเหลือเพียง 1 หลอดต่อราง จำนวนหลอดไฟที่ลดลงรวม 174 หลอด สามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน 43,691 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี สามารถลดค่าใช้จ่าย 80,807 บาท 2) การเปลี่ยนหลอดไฟพร้อมชุดอุปกรณ์ในการติดตั้ง จากเดิมพบว่ามีการสูญเสียพลังงาน 10 วัตต์ต่อหลอด จำนวนหลอดไฟที่มีการสูญเสียพลังงานที่ต้องเปลี่ยนรวม 2,048 หลอด สามารถลดปริมาณการใช้พลังงาน 178,790 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี สามารถลดค่าใช้จ่าย 330,643 บาท 3) การเปลี่ยนและติดตั้งเครื่องอัดอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง จำนวน 1 เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเดิมพบว่าอัตราการผลิตลมไม่สมดุลกับความต้องการใช้งาน ซึ่งการสูญเสียพลังงานจากสภาพการใช้งานของเครื่องอัดอากาศตลอดเวลาและอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยมีการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าจากทั้ง 2 เครื่อง จำนวน 373,650 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี สามารถลดปริมาณการใช้พลังงานรวม 159,923.4 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี มูลค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้า รวม 295,789 บาท จากการศึกษา พบว่าดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปริมาณการผลิตทั้งหมดลดลงจาก 21.31 กิโลวัตต์ต่อชิ้นเหลือ 20.45 กิโลวัตต์ต่อชิ้น และดัชนีการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปลดลง 4.03 % โดยสามารถประหยัดการใช้พลังงานได้ถึง 382,404.40 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงินที่ลดลง 707,239 บาท
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250