fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IE) 2017 |
1. | การศึกษาของเสียในแผนกไนล่อนโพลิเมอร์ไรเซชันเพื่อสร้างระบบการจัดการของเสีย กรณีศึกษา บริษัทไทยโทเรซินเทติคส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อาภัฏ พนมเพิ่มสมบัติ | ||
จากการศึกษาของเสียในแผนกไนล่อนโพลิเมอร์ไรเซชัน พบว่าไม่มีการจัดการอย่างระบบการจัดการของเสีย และไม่มีฐานข้อมูลเชิงปริมาณของของเสีย จึงได้วิเคราะห์ปริมาณของเสียเพื่อสร้างฐานข้อมูลของเสียในแผนก โดยใช้หลักการ 3S, Pareto chart และหลักการ จากฐานข้อมูลที่ได้สามารถสร้างระบบการจัดการของเสีย เพื่อใช้วิเคราะห์และจัดการของเสียในอนาคต
จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่าสามารถเพิ่มพื้นที่การทา 3ส จาก 80% เป็น 87% สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 85% นอกจากนี้ระบบการจัดการของเสียยังครอบคลุมการแยกชนิดของของเสียและฐานข้อมูลเชิงปริมาณได้ 100%
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานบริการลูกค้าสัมพันธ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เบญจมินทร์ ว่องสาทรกิจ | ||
รายงานสหกิจฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานตำแหน่งพนักงานบริการสัมพันธ์ แผนก ส่งออกทางอากาศ (Air Export) บริษัท อจิลิตี้ จากัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินการตามพิธีการของกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า เพื่อศึกษารายละเอียดของเอกสารที่ใช้ในพิธีการของกรมศุลกากร
จากการปฏิบัติงานและการจัดทำรายงาน ทำให้ผู้จัดทำมีความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทางด้านการติดต่อประสานงานและการจัดการเอกสารตามพิธีการของกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย ของการดำเนินงาน โดยในการดำเนินงานนั้นยังทำให้ทราบถึงข้อตกลง เงื่อนไขต่างๆของการส่งออก นอกจากนี้ในการปฏิบัติงานสหกิจยังช่วยให้เกิดพัฒนาการของทักษะ ในการทำงานร่วมกันผู้อื่น การปรับตัว การติดต่อสื่อสาร ระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และการมีอัธยาศัยที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงขบวนการการทำงานขนส่งล้อยางของยานพาหนะไปยังจุดรอประกอบ : กรณีศึกษา ของบริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาญวิทย์ พรหมสาขา ณ สกลนคร | ||
จากการศึกษาการทำงานของพนักงานขนส่งยางโดยใช้ทฤษฎีการศึกษาการทำงานแผนภาพต่างๆ และปฏิบัติตามขั้นตอนของ Toyota Business Practice เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงเวลาสูญเปล่าในการทำงาน (Muda) และการลดเวลาการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ TPS Viewpoints เป็นเครื่องมือในการระบุเวลาสูญเปล่า ปรากฎกว่าเวลาสูญเปล่าที่เกิดขึ้นคือปัญหาการทำงานซ้าซ้อนซึ่งเกิดจากการจอดรถไม่แนบสนิทกับจุดเทียบส่งล้อยาง จึงทำการแก้ปัญหานี้โดยทำการปรับแต่งดอลลี่ให้มีตัวสะพานยื่นออกมาจากตัวดอลลี่เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้าซ้อนนี้ และปัจจุบันประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทั้ง 2 คนในขบวนการทำงานนี้คือ 69.1% ซึ่งไม่เป็นที่น่าพอใจ จึงนำงานของพนักงานทั้งสองคนมารวมให้พนักงานหนึ่งคน และทำการปรับวิธีการทำงานให้เร็วขึ้นเพื่อให้พนักงานหนึ่งคนสามารถทำงานได้
จากการปรับปรุงดอลลี่ในขั้นตอนแรกนั้นไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้เนื่องจากทีมผู้รับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงดอลลี่มีภารกิจเร่งด่วน ทำให้การปรับปรุงดอลลี่ล่าช้าออกไป ซึ่งถ้าสามารถปรับปรุงดอลลี่ในขั้นตอนแรกนี้ได้สาเร็จจะช่วยลดเวลาการทำงานของพนักงานลงได้ 118 วินาทีต่อรอบการทำงาน จากเวลานาส่งคือ 1410 วินาทีต่อรอบเหลือ 1292 วินาทีต่อรอบ ส่งผลให้ ประสิทธิภาพการทางานของพนักงานที่ถูกรวมงานลดลงตามไปด้วยจาก 138.23% ลดเหลือ 126.67% โดยเป้าหมายคือ 97% ขณะนี้โครงงานดาเนินอยู่ในส่วนของการกำจัดเวลาสูญเปล่าออกจากขบวนการการทำงานโดยงานส่วนที่เหลือนั้นมอบให้ทีมที่เกี่ยวข้องดำเนินต่อไป
Full Text : Download! |
||
4. | การลดความแตกต่างระหว่าง %TRO Excel กับ %FOA : กรณีศึกษา บริษัท สยามมิชลิน จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชวัลวิทย์ อินทรศักดิ์ | ||
จากการศึกษาโครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อลดความแตกต่างหรือผลต่างของข้อมูล
(Gap)ในโปรแกรม FOA ที่ใช้ในการคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในแผนกสร้างยาง
โดยจะเปรียบเทียบข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานกับระบบเดิมคือ โปรแกรม Microsoft Excel เนื่องจาก
ว่าทางกลุ่มบริษัทสยามมิชลินมีโปรแกรมมาตรฐานนี้เพื่อติดตามผลการทำงานของพนักงานหรือเรียกว่า
%TRO และจ่ายเงิน Incentive เป็นค่าตอบแทนให้แก่พนักงาน โดยบริษัทสยามมิชลิน ต้องการที่จะใช้
โปรแกรมนี้มาติดตามผลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในแผนกสร้างยาง ซึ่งโปรแกรมนี้ FOA
จะให้พนักงานลงข้อมูลยางที่สร้างได้ตลอดชั่วโมงการทำงานและกิจกรรมงาน Task ต่างๆในแต่ละวันที่
ทำงาน แต่พบว่าปัญหา คือ %TRO ที่ได้ออกมาจากโปรแกรม FOA ไม่ตรงกับ %TRO Excel ซึ่งส่งผล
ให้ไม่สามารถใช้โปรแกรม FOA คำนวณจ่ายเงิน Incentive ได้ ณ ขณะนี้
จากการวิเคราะห์ปัญหานั้นพบความแตกต่างหรือผลต่างของข้อมูลที่เฉลี่ยรวมทั้ง 10 สาย
การผลิตนั้นสูงถึง 8.5% ทางวิศวกร IE นั้นได้ตั้งเป้าหมายกาหนดให้ความแตกต่างหรือผลต่างของ
ข้อมูลนั้นไม่มากกว่าหรือน้อยกว่า 2% ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เกิดจากการที่พนักงานยังไม่เข้าใจ
ในการกรอกข้อมูลที่ถูกวิธีอย่างดีพอจึงทาให้เกิดความแตกต่างหรือผลต่างของข้อมูล ซึ่งแนวทาง
การแก้ไขปัญหานี้จะมีการทำTrouble Shooting , Train พนักงานของตัวแทนแต่ละสายการผลิต รวมถึง
การให้ความช่วยเหลือหัวหน้าสายการผลิตคอยตรวจความถูกต้องของพนักงานในทีมอย่างสม่าเสมอ ซึ่ง
ผลลัพธ์ที่ได้นั้น จะทำให้ทางบริษัทสามารถจ่ายเงิน Incentive ให้กับพนักงานได้ , พนักงานสามารถรู้
ข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของตัวเองได้ ลด Workload หน้าที่ของ Admin ที่ต้องกรอกข้อมูล
ประสิทธิภาพการท
Full Text : Download! |
||
5. | การปรับปรุงและศึกษาวิธีการทำงานของพนักงานขนส่งในสายการผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักรชัย กำยา | ||
รายงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของพนักงาน TP Line (Transport Production Line) ในการเบิกชิ้นงานของบริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อปรับปรุงการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการลดจานวนพนักงาน TP Line ของสายการผลิตใน Line Final โดยใช้ความรู้จากการศึกษาการทำงาน การศึกษาวิธีการทำงาน และการจับเวลา เพื่อสังเกตและวิเคราะห์การทำงานของพนักงาน
หลังจากการเปลี่ยนแปลงโดยการลดกระบวนการทำงานของพนักงาน TP Line ที่ไม่จาเป็นออกจนสามารถลดจานวนพนักงาน TP Line จากพนักงาน 2 คนลดเหลือพนักงาน 1 คน พบว่าการปฏิบัติงานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงาน TP Line ใน Line Final ที่เหลือเพียงคนเดียวสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ส่วนเวลาที่ใช้ในการทำงานที่ไม่ใช่หน้าที่ของพนักงาน TP Line ลดน้อยลง
Full Text : Download! |
||
6. | การซ่อมบำรุงเชิงป้องกันของเครื่องซีเอ็นซีแมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ : กรณีศึกษา บริษัท มากิโน (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กิตติศักดิ์ โรจน์รัตนาภรณ์ | ||
สหกิจศึกษานี้ได้ฝึกเป็นระยะเวลา 4 เดือนที่บริษัท มากิโน ( ประเทศไทย ) จากัด ในแผนกบริการ โดยแผนกบริการนี้มีหน้าที่ออกงานไปติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องซีเอ็นซีแมทชีนนิ่งเซ็นเตอร์ 3 แกน และ 5 แกน ในระหว่างของการฝึกสหกิจศึกษาได้พบปัญหาคือ การทำงานการซ่อมบารุงไม่มีระบบมาตรฐานและระบบการจัดการที่ไม่เป็นมาตรฐาน ทำให้การซ่อมบารุงเครื่องซีเอ็นซีแมชชินนิ่งเซ็นเตอร์ไม่ได้มาตรฐานตามคู่มือปฏิบัติงานและส่งผลความเสียหายต่อเครื่องจักร จากปัญหาดังกล่าวโครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและลดเวลาการทางานให้ดีขึ้น โดยใช้การศึกษาการทำงานแบบศึกษาเวลามาตราฐานและการไคเซ็น ผลของการปรับปรุงการบารุงรักษาเชิงป้องกันด้วยการประยุกต์การศึกษาการทำงานและการไคเซ็น สามารถลดเวลาการทำงานของการบำรุงรักษาได้เร็วขึ้นกว่าเดิม 21 นาที หรือ 5.6 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบก่อนการปรับปรุง
Full Text : Download! |
||
7. | การปรับปรุงเพื่อลดความสูญเสียจากการใช้งานเครื่องบรรจุอัตโนมัติ (KP/LW-700.2/S) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤต ขาวสำอางค์ | ||
จากการปฏิบัติงานที่แผนกห้องบรรจุ มีหน้าที่ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากแผนงานประจาสัปดาห์ให้สาเร็จลุล่วง โดยมีขั้นตอนแรกคือเตรียมเครื่องมือ ติดตั้งเครื่องบรรจุอัตโนมัติ ล้างปั้มโดยใช้น้าร้อน หลังจากนั้นรับน้ำซุปหรือน้ำซอสจากแผนกอื่นมาดำเนินการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์และบรรจุลงกล่อง
การดำเนินการปรับปรุงส่วนประกอบต่าง ๆ ของลูกกลิ้งเครื่องบรรจุอัตโนมัติ KP/LW-700•2/S โดยใช้ระบบ TPM มาเป็นตัววัดผล 1)การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง, 2)การบารุงรักษาด้วยตนเอง และ 3)การอบรม เพื่อลดความสูญเสียทางด้านต่าง ๆ พบว่า เวลาในการตั้งเครื่องลดลง 29%,ค่า MTBF เพิ่มขึ้น 41%, มูลค่าของของเสียลดลง 50.2% และค่า OEE เพิ่มขึ้น 50%
Full Text : Download! |
||
8. | ติดตั้งระบบคัมบังและลด Lead time ใน Element sub assy line [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ลักษณา วรพฤกษ์ดีกุล | ||
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดระบบการสั่งผลิตให้แก่ EM Sub Assembly Line เนื่องจากในปัจจุบัน มีการสั่งผลิตแบบวางแผนการผลิต ซึ่งมีความยากลำบากในการจัดการผลิต ทำให้ไม่สามารถผลิตงานได้ทันตามความต้องการของลูกค้า หรือในบางครั้งมีการผลิตที่มากเกินความจาเป็น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความสูญเปล่า ทั้งสิ้น (MUDA) รวมถึงปัจจัยต่างๆภายในไลน์ที่ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่เป็นระบบ ทำงานยากและไม่สามารถทราบสถานะการทำงานของไลน์การผลิตได้
เมื่อศึกษาข้อมูลวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จึงทำการปรับปรุงระบบการสั่งผลิตโดยใช้ระบบคัมบังเข้ามาช่วยในการจัดการการผลิต ซึ่งระบบคัมบังถือเป็นเครื่องมือการสั่งผลิตที่สามารถช่วยให้เห็นปัญหาในไลน์การผลิต ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ทราบสถานะการทำงานของไลน์ได้ และใช้ตรวจสอบป้องกันการผลิตที่มากเกินไป
จากการดำเนินงานพบว่ายังมีปัญหาในหลายๆส่วนที่ต้องทำการแก้ไข ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถทาให้เริ่มใช้ระบบการสั่งการผลิตแบบระบบคัมบัง ดังนั้นจึงต้องทำการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา (Kaizen) ดังกล่าว จึงจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานนี้ได้
Full Text : Download! |
||
9. | การยืนยันคุณภาพความแข็งแรงการยึดติดของการเชื่อมน็อตแบบปุ่ม : กรณีศึกษา บริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนัสนันท์ ตันวัฒนเสรี | ||
ในโครงงานสหกิจฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการตรวจสอบคุณภาพการเชื่อมน็อต แบบปุ่ม ณ บริษัทผู้ผลิต โดยตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ของเครื่องเชื่อมน็อตแบบปุ่มทุกเครื่อง ดังนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า (kA) ค่าความดัน (MPa) เวลาในการเชื่อม (Cycle) และทดสอบค่าความแข็งแรงการยึดติดของน็อตที่ผ่านการเชื่อม มีการทดสอบแรงบิด (N•m) และ แรงกด (N) ที่ทำให้น็อตเชื่อมขนาด M6 M8 M10 และ M12 หลุดจากแผ่นโลหะขึ้นรูป
เนื่องจากลูกค้าแจ้งปัญหาด้านคุณภาพการเชื่อมน็อตแบบปุ่ม น็อตหลุดจากตัวเฟรมรถยนต์เมื่อมีการใช้ประแจขันแน่น ทางบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง จึงมีความประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเชื่อมน็อตแบบปุ่มจากผู้ผลิต รวมทั้งสิ้น 10 แห่ง โดยเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบเป็น 1.5 เท่าของมาตรฐานเดิม และเพิ่มการทดสอบความแข็งแรงของการกด เพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียถูกส่งมอบไปยังลูกค้า
จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ 6 แห่งพบว่า ค่าพารามิเตอร์ของเครื่องเชื่อมไม่ตรงกับมาตรฐาน ที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 35.71 แต่เมื่อทำการทดสอบความแข็งแรงของการบิด และการกด พบว่า ผ่านมาตรฐานการทดสอบ คิดเป็นร้อยละ100 และ ร้อยละ 98.21 ตามลาดับ จึงได้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสาหรับการเชื่อมจานวน 55 เครื่อง จากทั้งหมด 56 เครื่อง และจัดตั้งเป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อไป สาหรับเครื่องที่ไม่ผ่านการทดสอบมีการติดตามผลและดำเนินการแล้ว
Full Text : Download! |
||
10. | การวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งซื้อเพื่อวางแผนการผลิตสินค้าปูนเสือมอร์ตาร์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณหทัย เกษมสำราญ | ||
ปูนเสือมอร์ตาร์มีหลากหลายประเภทส่งผลให้ความต้องการไม่คงที่ และลูกค้าบางส่วนมีพฤติกรรมการไม่เข้ารับสินค้าตามกำหนดอายุใบรับสินค้าประกอบกับข้อจากัดด้านพื้นที่จัดเก็บของโรงงานมอร์ตาร์แก่งคอย 1 จังหวัดสระบุรี และกรรมวิธีการผลิตทำให้โรงงานไม่ทราบว่าควรจะผลิตสินค้าชนิดใด เพื่อตอบสนองให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ณ เวลานั้น จึงได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเข้ารับสินค้าของลูกค้าโดยใช้ข้อมูลจากระบบ SAP Backup และ GI (Goods issues) มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์และนำมาใช้วางแผนการผลิตให้กับโรงงาน โดยชนิดปูนที่ทำการศึกษาคือ ปูนเสือมอร์ตาร์ชนิดฉาบทั่วไปและปูนเสือมอร์ตาร์ชนิดฉาบอิฐมวลเบาสูตรแพลทินัม เพื่อให้โรงงานสามารถประมาณยอดการเข้ารับสินค้าได้ใกล้เคียงกับยอดเข้ารับจริง ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้า ณ เวลานั้นๆได้สามารถลดเวลารอคอยสินค้า ซึ่งส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มขึ้น ถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางการขายสินค้าอย่างหนึ่งแก่บริษัท
จากการศึกษาพฤติกรรมการเข้ารับสินค้าจากระบบ SAP Backup และ GI (Goods issues) พบว่า ลูกค้ามีพฤติกรรมการเข้ารับสินค้าเป็นรูปแบบรายวันในสัปดาห์ นาจุดสังเกตนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการพยากรณ์โดยใช้วิธี Moving Average และวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์เข้ารับสินค้า ค้างรับสินค้า และไม่เข้ารับสินค้า ให้ผลปรากฏว่า โมเดลพยากรณ์สินค้าปูนเสือมอร์ตาร์ชนิดฉาบทั่วไป มีค่าความคาดเคลื่อนจากการพยากรณ์35%และสินค้าปูนเสือมอร์ตาร์ชนิดฉาบอิฐมวลเบาสูตรแพลทินัม มีค่าความคาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ 32% วัดผลด้วยวิธี Mean Absolute Moving Average (MAPE)
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250