fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (MBJ) 2017 |
1. | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น กับการบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย- ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรุจน์ สุทธิโรจน์, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการผลิต
แบบญี่ปุ่น และการบริหารคุณภาพของSMEsไทย-ญี่ปุ่น 2) เปรียบเทียบ
ปัจจัยองค์กรที่ส่งผลกับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น และการบริหารคุณภาพ
ของ SMEsไทย-ญี่ปุ่น และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการผลิตแบบ
ญี่ปุ่นกับการบริหารคุณภาพกลุ่มตัวอย่างคือ องค์กรธุรกิจSMEs จานวน 64
องค์กร โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อย
ละ การทดสอบค่าเฉลี่ย1กลุ่ม การทดสอบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่าง2
กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูง
ค่าเฉลี่ย 3.55 และการบริหารคุณภาพอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.92 2) ผลการ
เปรียบเทียบการบริหารคุณภาพด้านต้นทุน พบว่าขนาดองค์กรที่มีพนักงาน
น้อยกว่า 50 คน มีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน
ด้าน5ส ด้านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้านPDCAด้านHo-Ren-So และการ
ขจัดความสูญเปล่า แตกต่างจากองค์กรที่มีจานวนพนักงานมากกว่า 50 และ
การบริหารคุณภาพด้านการจัดส่งพบว่าองค์กรที่มีเงินลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
จะมีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน5สการ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง PDCAHo-Ren-So และการขจัดความสูญเปล่า
แตกต่างจากองค์กรที่ไม่ได้รับเงินลงทุนจากญี่ปุ่น และ 3) การบริหารคุณภาพ
ด้านคุณภาพมีความสัมพันธ์กับด้านการขจัดความสูญเปล่า(r=0.704) ใน
ระดับสูง ส่วนด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน(r=0.361) 5ส(r=0.386) การ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(r=0.435) และHo-Ren-So(r=0.478) ในระดับปานกลาง
และPDCA(r=0.293) ในระดับต่า และพบว่าการบริหารคุณภาพด้านต้นทุนมี
ความสัม
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไป ประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญญาดา นาสมบูรณ์, ชลกร ศรีใหม่ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.ศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของ
นักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวญี่ปุ่น 2. ศึกษาปัจจัยสนับสนุนโครงสร้าง
คุณสมบัติของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย
ต่อจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น จานวน 400 คน ใช้
แบบสอบถามแบบกระดาษและออนไลน์ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่าง
ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม
ผลการทดสอบพบว่า พฤติกรรมการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่สนใจ
รูปแบบการท่องเที่ยวแบบซื้อของและเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์ ทราบ
ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ระยะเวลาท่องเที่ยว 4-6 วัน เดินทางพร้อมญาติหรือ
ครอบครัว ค่าใช้จ่ายที่พักแบบโรงแรม คืนละ1,500-3,500 บาท งบใช้จ่ายต่อ
การไปญี่ปุ่น 30,000-50,000 บาท เดินทางช่วงฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-
พฤษภาคม) รับประทานอาหารแบบท้องถิ่น สนใจสินค้าญี่ปุ่นประเภทขนม
อาหาร ผลไม้ อุปสรรคที่สาคัญที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายสูงและอุปสรรคทางภาษา
ปัจจัยสนับสนุนโครงสร้างคุณสมบัติของแหล่งท่องเที่ยว ด้านวัฒนธรรม
ท้องถิ่น แคมเปญพิเศษ การต้อนรับ โครงสร้างพื้นฐาน จุดหมายปลายทาง
คุณภาพด้านการบริการ ภูมิศาสตร์กายภาพ ความผูกพันต่อสถานที่และด้าน
เอกลักษณ์ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.01 3. การจัดกิจกรรมหรือรูปแบบการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น จัดแพคเกจภายใน
งบประมาณ 50,000 บาทต่อครั้ง ระยะเวลาท่องเที่ยวไม่เกิน 6 วัน ราคา ไม่เกิน 50,000 บาท
สถานที่พักเป็นโรงแรม จัดการท่องเที่ยวไปในแหล่งที่มีขนม อาหารและผลไม้และรับประทานอาหารพื้นเมือง
Full Text : Download! |
||
3. | แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทางาน (บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดุษฎี อิศราพฤกษ์, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการทางานของ
พนักงานในองค์กร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานจานวน 410 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติ
ที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ One Sample Ttest
และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการทางานของพนักงานในองค์กร
ด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อยู่ในระดับสูง 2)
ปัจจัยจูงใจ/ ปัจจัยกระตุ้น ในเรื่องความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานสูงสุด (r=.651) ด้านเวลาเป็น
ลาดับรองลงมา (r=.599) และด้านคุณภาพของงานอยู่ในลาดับถัดมา (r=.578)
ส่วนในเรื่องด้านความสาเร็จในการทางานของบุคคลมีความสัมพันธ์กับ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านค่าใช้จ่ายสูงสุด (r=.566) ปัจจัยค้าจุน ใน
เรื่องความมั่นคงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณ
งานสูงสุด (r=.604) และด้านเวลาเป็นลาดับรองลงมา (r=.574) ส่วนในเรื่อง
ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันในองค์กร มีความสัมพันธ์กับ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพของงานสูงสุด (r=.543) และด้าน
ค่าใช้จ่ายเป็นลาดับรองลงมา (r=.525)
Full Text : Download! |
||
4. | ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการบริหารงานแบบญี่ปุ่นและพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กิ่งกาญจน์ นราพันธุ์, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เปรียบเทียบขนาดองค์กร
และลักษณะธุรกิจขององค์กรที่มีผลต่อระดับการบริหารงานแบบญี่ปุ่น 2)
เปรียบเทียบขนาดองค์กร และลักษณะธุรกิจขององค์กรที่มีผลต่อระดับพฤติกรรม
การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบ
ญี่ปุ่นกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร กลุ่มตัวอย่างพนักงานชาว
ไทยที่ทางานในบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย จานวน 403 คน โดยการตอบ
แบบสอบถามทั้งแบบออนไลน์และแบบกระดาษ ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่ม
ตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง
เดียว และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ขนาดองค์กรและลักษณะธุรกิจขององค์กรที่
แตกต่างกันมีระดับการบริหารงานแบบญี่ปุ่นแตกต่างกัน 2) ขนาดองค์กรและ
ลักษณะธุรกิจขององค์กรที่แตกต่างกันมีระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ
องค์กรแตกต่างกัน 3) การบริหารงานแบบญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ในทิศทาง
เดียวกันกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรในระดับปานกลาง (r =
0.572)
Full Text : Download! |
||
5. | ปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปถมาพร ไชยพาฤทธิ์, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความสุขในการทางาน
ของพนักงานระดับปฏิบัติการและระดับบริหารชั้นต้น 2. ปัจจัยแรงจูงใจมี
ความสัมพันธ์กับระดับความสุขในการทางานของพนักงาน บริษัทผู้ผลิต
ชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จานวน 250
คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างและวิเคราะห์หา
ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-30 ปี สถานภาพโสด
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ระดับ
ปฏิบัติการ ประเภทงานผลิตและวิศวกรรมการผลิต
กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความสุขใน
ระดับปานกลาง X =3.47 ปัจจัยค้าจุนที่มีผลต่อความสุขในระดับปานกลาง X
=3.35 โดยมีความสุขระดับปานกลาง X =3.33
ด้านปัจจัยแรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับความสุขในการทางานโดยรวม
โดยพนักงานให้ความสาคัญกับปัจจัยจูงใจ ได้แก่ ความรับผิดชอบ
ความสาเร็จในงาน และปัจจัยค้าจุนได้แก่ สัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและ
เพื่อนร่วมงาน และสภาพแวดล้อมในการทางาน ในระดับปานกลาง
Full Text : Download! |
||
6. | วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทไทย-ญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รุ่งทิวา คำเป๊กเครือ, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การศึกษาวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานบริษัทไทย-ญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรม
องค์กร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรกับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงาน จานวน 312 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า วัฒนธรรมองค์กรการเน้นให้บุคลากรเรียนรู้และ
พัฒนา อยู่ในระดับสูง ( X =3.59) รองลงมา คือ การที่เน้นคุณภาพ ( X =3.50)
และการตัดสินใจแบบกลุ่ม อยู่ในระดับน้อยที่สุด (X =2.83)
ผลการศึกษา พบว่า ลักษณะวัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์ใน
ทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ด้านคุณภาพของงาน ในระดับสูง
r=0.615 ด้านปริมาณของงาน ด้านเวลาที่ใช้ทางาน ด้านค่าใช้จ่ายในงาน ใน
ระดับปานกลาง r=0.498, r=0.475, r=0.475 ตามลาดับ ด้านคุณภาพของงาน
ด้านปริมาณของงาน ด้านเวลาที่ใช้งาน มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กร
ด้านการวางแผนระยะยาว ในระดับปานกลาง r=0.574, r=0.479, r=0.454
ตามลาดับ และด้านค่าใช้จ่ายในงานมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์กรด้านมี
ความยืดหยุ่น ในระดับปานกลาง r=0.439
Full Text : Download! |
||
7. | การสื่อสารต่างวัฒนธรรมส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน กรณีศึกษา บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมภพ อมรดิลกุล, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการ
สื่อสารต่างวัฒนธรรมและประสิทธิภาพการสื่อสารในการทางาน 2) การสื่อสาร
ต่างวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในการทางาน กลุ่มตัวอย่าง
จานวน 358 คน โดยการตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านทัศนคติ ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม
มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสื่อสาร ในระดับปานกลาง (R = 0.451, R
= 0.437) ตามลาดับ ด้านทักษะการสื่อสาร และด้านความรู้ อยู่ในระดับต่า (R
= 0.122, R = 0.067) ตามลาดับ 2) ด้านอิทธิผลของปัจจัย พบว่า การสื่อสาร
ต่างวัฒนธรรม ด้านทัศนคติ (X2) ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม (X4) และ
ด้านทักษะการสื่อสาร (X1) มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร (Y1) มีค่า
สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปร (β) = 0.171 (b = 0.156), 0.308 (b =
0.301) และ 0.300 (b = 0.254) ตามลาดับ และมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์
ในรูปแบบคะแนนดิบ (a) = 1.128 สามารถนามาสร้างสมการพยากรณ์ ได้
ดังนี้ Y1 = a + X1 + X2 + X4 เมื่อนามาแทนค่าจะได้เท่ากับ Y1 = 1.128 +
0.156x1 + 0.301x2 + 0.254x4 สามารถทานายสมการของการพยากรณ์ได้
ร้อยละ 29.10 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.526
Full Text : Download! |
||
8. | ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่นกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอมชรีอรณ์ ธรรมธีร์สุทธา | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่นกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานองค์กรเอกชนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาสถิติเชิงพรรณา ใช้สถิติการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้ One-way Analysis of Variance (ANOVA) และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 30-40 ปี สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงานปฏิบัติการ และมีอายุงานตั้งแต่ 1-9 ปี ผลการศึกษาเปรียบเทียบพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทธุรกิจ ระดับของตำแหน่งงาน รายได้ และจำนวนพนักงาน ที่แตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ คุณภาพของงาน ปริมาณของงาน เวลาที่ใช้ทางาน ค่าใช้จ่ายในงาน แตกต่างกัน ผลการศึกษาระดับวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่น พบว่า การจ้างงานตลอดชีพอยู่ในระดับสูง และด้านความผูกพันในองค์กรอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการประเมินผลและการเลื่อนตำแหน่ง ผลการศึกษา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่นและ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ลักษณะวัฒนธรรมการบริหารแบบญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน ด้านควบคุมปริมาณของงานมีความสัมพันธ์สูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพของงาน และด้านค่าใช้จ่ายในงาน ตามลำดับ
Full Text : Download! |
||
9. | การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลองค์กรกับการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหาร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อมรศรี บุญรักษณ์ | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูล
องค์กรได้แก่ประเภทธุรกิจ รูปแบบการจดทะเบียน รูปแบบการลงทุน
จำนวนพนักงาน กับการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหาร ด้านการวางแผน
การจัดโครงสร้างและสั่งการ การควบคุมและประเมินผล การตัดสินใจ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อบรมสัมมนาบัญชีที่สภาพัฒนา
วิชาชีพ และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จานวน 480 คน
โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-40 ปี
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้จัดการ/ผู้ช่วยผู้จัดการ ทางาน
มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลองค์กรธุรกิจ คือ ส่วนใหญ่เป็น
ธุรกิจบริการ จดทะเบียนในรูปบริษัทจำกัด การลงทุนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบ
การลงทุนไทย ธุรกิจส่วนใหญ่มีพนักงานน้อยกว่า 50 คน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการใช้ประโยชน์การบัญชี
บริหารแต่ละด้านอยู่ในระดับสูง โดยมีการใช้งานในด้านการวางแผนสูงที่สุด
รองลงมา คือ ด้านการตัดสินใจ ด้านการควบคุมและประเมินผล และด้าน
การจัดโครงสร้างและสั่งการ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบการลงทุน ได้แก่ ไทย
ร้อยละ 100 ญี่ปุ่น ร้อยละ 100, ไทย-ญี่ปุ่น, อื่นๆ มีการใช้ประโยชน์การ
บัญชีบริหารแตกต่างกันในด้านการควบคุมและประเมินผล อย่างมี
นัยสาคัญที่ระดับ .05 และจานวนพนักงาน น้อยกว่า 50 คน, 51-200 คน
และ 200 คนขึ้นไป มีการใช้ประโยชน์การบัญชีบริหารแตกต่างกันในด้าน
การวางแผนอย่างมีนัยสา คัญที่ระดับ .05
Full Text : Download! |
||
10. | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นกับความพึงพอใจในอาชีพ กรณีศึกษาพนักงานคนไทยในองค์กรญี่ปุ่นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชมพูนุท รอดละม้าย | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นกับความพึงพอใจในอาชีพ กรณีศึกษาพนักงานคนไทยในองค์กรญี่ปุ่นกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน, การพัฒนาทักษะ, แรงสนับสนุนทางด้านสังคม เป็นตัวแปรสื่อ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการสารวจความคิดเห็นในการแจกแบบสอบถามให้กับพนักงานคนไทยในบริษัทญี่ปุ่น ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล จานวน 452 คน โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน และสถิติความถดถอยพหุเชิงชั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์พบว่า การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในอาชีพ โดยมีการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน, การพัฒนาทักษะเป็นตัวแปรสื่อสมบูรณ์ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในอาชีพ โดยมีแรงสนับสนุนทางด้านสังคมเป็นตัวแปรสื่อบางส่วน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลการวิจัยดังกล่าวนาไปใช้ในองค์กรได้ ซึ่งกล่าวคือ การโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่ จะต้องมีการอบรมพัฒนาทักษะของพนักงานและการพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน เช่น การเลื่อนตาแหน่ง จึงจะทาให้พนักงานมีความพึงพอใจในอาชีพ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจพนักงานมีความพึงพอใจในอาชีพ ถ้ามีแรงสนับสนุนทางด้านสังคม ร่วมด้วยก็จะส่งเสริมให้พนักงานมีความความพึงพอใจในอาชีพอีกทางหนึ่ง ข้อเสนอแนะในการทาวิจัยครั้งต่อไป อาจจะใช้ตัวแปรสื่อในด้านอื่นมาหาความสัมพันธ์ เช่น การบริหารจากระดับล่างขึ้นบน เป็นต้น
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250