fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (AE) 2010 |
1. | โครงงานการเพิ่มกำลังการผลิต:กรณีศึกษาบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอร์ริ่ง จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรการ เย็นมนัส | ||
บริษัท Hino Motors Manufacturing (Thailand) CO., LTD. (สาขาสำโรง) เป็นบริษัท
ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในครั้งนี้ ได้เข้าไปปฏิบัติงานในตำแหน่ง
ผู้ช่วยวิศวกร แผนก Production Department 1 เป็นแผนกที่ผลิตชิ้นส่วนช่วงล่างและเพลาท้าย
โดยได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงงานเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนศูนย์กลางในการ
ดำเนินงาน อีกทั้งยังมีโครงงานที่ได้ดำเนินงานปรับปรุงจุดที่เป็นปัญหาที่พบในไลน์การผลิต ได้แก่
การปรับปรุงกระบะใส่ชิ้นงาน และการปรับปรุงปัญหาเศษ Scrap อุดตันหลังเครื่องจักร
สรุปผลโครงงานเพิ่มกำลังการผลิตที่ได้ คือ สามารถรลด takt time เพื่อให้สามารถรองรับ
ยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ แต่เนื่องจากในการผลิตต้องคำนึงถึงคุณภาพด้วย จึงยังไม่สามารถลดได้
ตามเวลาที่ตั้งไว้ คือลดลงจากเดิม10% แต่เวลาที่สามารถลดได้ยังคงเพียงพอสำหรับยอดการผลิต
ในปีถัดไป และทางฝ่ายผลิต1 ก็จะยังคงดำเนินการปรับปรุงต่อไปเรื่อยๆ จนสามารถลดได้ถึง 10%
ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
Full Text : Download! |
||
2. | โครงงานการออกแบบกระเดื่องกดเพื่อป้องกัน Proximity Switch ชำรุด:กรณีศึกษาบริษัทฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อวิรุทธ์ เจริญรักษ์ | ||
บริษัท Hino Motors Manufacturing (Thailand) CO., LTD. (สาขาสำโรง) เป็นบริษัทที่ทำ
การผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ จากการได้เข้าไปปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกรในบริษัท Hino
Motors Manufacturing (Thailand) CO., LTD.นั้น ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยวิศวกรงาน
โดยได้ จัดทำรายงานเบื้องต้น และจัดทำรายงานการสรุปการออกแบบ จัดทำคู่มือระบบการทำงาน
ต่างๆ
โดยที่บริษัท Hino Motors Manufacturing (Thailand) CO., LTD. (สาขาสำโรง) นั้นได้ส่ง
เข้าไปปฏิบัติงานที่แผนก Production Department 2 ซึ่งได้มอบหมายงานการแก้ไขปัญหาการ
เสียหายของ Proximity Switch ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก โดยข้าพเจ้าได้ทำการออกแบบกระเดื่อง เพื่อ
เป็นชิ้นงานในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ โดยเริ่มจากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น ออกแบบชิ้นงาน
และทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งข้าพเจ้าได้นำหลักของ Plan Do Check Action มาใช้
ประกอบการปฏิบัติงานนี้ด้วย
Full Text : Download! |
||
3. | โครงงานการเสริมกำลังการผลิต(แบ่งกำลังการผลิตดิสก์เบรกรุ่น Corolla ไปยังไลน์ AS-100):กรณีศึกษาบริษัทสยามไอซิน จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยวัฒน์ กิจสมัย | ||
การผลิตชิ้นส่วนเบรกรถยนต์ในปัจจุบันในขั้นตอนการประกอบมีการวางไลน์การ
ประกอบในลักษณะ Product Layout ซึ่งเครื่องจักรและโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรได้ถูกออกแบบ
ให้ทำงานเฉพาะกับกลุ่มของชิ้นงานที่ผลิตอยู่ในไลน์ จุดอ่อนของไลน์ลักษณะนี้คือในหนึ่งไลน์
ประกอบจะสามารถเดินการผลิตได้เพียงรุ่นของชิ้นงานที่ได้ถูกออกแบบไว้เท่านั้น กำลังการผลิต
นั้นถูกจำกัดไว้ที่ความสามารถของไลน์ประกอบเดียว ในปัจจุบันกระบวนการผลิตดิสก์เบรกรุ่น
Corolla พบว่ามีแนวโน้มจะมียอดสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคต ในขณะที่มีเพียงไลน์
เดียวเท่านั้นที่สามารถเดินการผลิตรุ่นนี้ได้ จึงต้องแก้ปัญหาเพื่อให้สามารถทำ ยอดการผลิตให้
เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ การแก้ปัญหาทำโดยการปรับปรุงไลน์ประกอบดิสก์เบรกประเภท
เดียวกันไลน์อื่นให้สามารถเดินการผลิตดิสเบรกรุ่น Corolla ได้ เพื่อให้ในกรณีที่ความต้องการกำลัง
ผลิตดิสเบรกรุ่น Corolla สูงสุดก็สามารถเดินการผลิตไปพร้อมกันทั้งสองไลน์ประกอบได้
Full Text : Download! |
||
4. | การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตยางขอบประตูและท่อยางในรถยนต์:กรณีศึกษาบริษัทโตโยต้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย)จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เฉลิมวิทย์ ณะศรีธะ | ||
บริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คือบริษัทที่พัฒนานวัตกรรมด้าน
ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ โดยผลิตชิ้นส่วนที่เป็นยางเช่น ในส่วนของ Weather Strip Products และ
Hose Products โดยจำหน่ายทั้งภายในประเทศ 90 % และต่างประเทศอีก 10 % จากการที่ได้เข้า
ปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในบริษัท โตโยด้า โกเซ รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้รับมอบหมาย
ให้อยู่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ซึ่งเป็นฝ่ายที่ควบคุมกระบวนการผลิตของชิ้นงานก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า
สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตได้
ในการปฏิบัติดังกล่าวข้างต้นจะส่งผลในด้านการลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตเพื่อ
จัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพโดยในการฝึกงานครั้งนี้ผมได้เรียนรู้กระบวนการผลิตเป็นระยะเวลารวม
ทั้งสิ้น 4 เดือน
Full Text : Download! |
||
5. | โครงงานการออกแบบกระบวนการหยุดส่งของเสียไปยังกระบวนการถัดไป:กรณีศึกษา บริษัท เอนไกไทย จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิทธินันท์ พงศ์อิศรานันท์ | ||
จากการที่ได้มาสหกิจศึกษา ณ บริษัทเอนไกไทย จำกัด เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ในช่วง
สัปดาห์แรกที่ข้าพเจ้าเข้ามาทำงานได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบข้อมูลของ Product Claim
จากลูกค้าทำให้ข้าพเจ้าได้มองเห็นว่าปัญหาทางด้าน Apperance NG มีปริมานที่มากต่อสัดส่วนของ
ปริมาณ Defect ทั้งหมด ข้าพเจ้าจึงคิดว่าปัญหาทางด้าน Apperance นั้นไม่สามารถตรวจสอบด้วย
เครื่องมือวัดทางวิศวกรรมต่างๆได้ แต่สามารถแก้ไขได้จากกระบวนการตรวจสอบด้วยสายตา
(Visual verifying) หลังจากศึกษา PROCESS FLOW DIAGRAM แล้วทำให้ข้าพเจ้าได้ทราบว่า
ปัญหา Apperance นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในเกือบทุกกระบวนการ ไม่เว้นแม้กระทั่งกระบวนการ
สุดท้ายคือ Delivery ที่จะนำไปส่งมอบให้ลูกค้าก็มีโอกาศที่จะทำให้เกิด Defect Apperance NG ได้
เช่นกัน
Full Text : Download! |
||
6. | โครงงานการทำกิจกรรม QCC ในหัวข้อปัญหาการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการให้เหมาะสมกับจำนวนที่ลูกค้าสั่งศื้อจริง บริษัท Asahi Tec Aluminium (Thailand)Co.,Ltd [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จริยา โกบบาหลี | ||
บริษัท อาซาฮีเทค อลูมิเนียม ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งจะทำ
การขายให้กับลูกค้าผู้ผลิตรถยนต์เพื่อจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ จากการที่ได้เข้าร่วมใน
โครงการสหกิจศึกษากับบริษัท อาซาฮีเทค อลูมิเนียม ประเทศไทย จำกัด ได้รับมอบหมายให้
ปฏิบัติงานในแผนก Engineering ฝ่าย Engineering ตำแหน่งผู้ช่วยวิศวกรทำหน้าที่ปฏิบัติงานร่วม
โดยงานที่ได้รับมอบหมายจะเป็นในส่วนของการทำกิจกรรม Qcc ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางบริษัทฯ
ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างแนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ พร้อมทั้งปรับปรุง
พัฒนาให้ได้งานที่มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ได้เลือกทำในหัวข้อปัญหา การแก้ไขปรับปรุง
กระบวนการให้เหมาะสมกับจำนวนที่ลูกค้าสั่งซื้อจริงเป็นการทำงานร่วมกับพี่ๆวิศวกร
Engineering Machine โดยเสนอไว้ 1 แนวทาง คือ 1.ออกแบบ New Process โดยให้สอดคล้องกับ
ความเป็นไปได้คำนึงผลกำไร ขาดทุน ของบริษัทเป็นหลัก
ผลที่ได้รับจากการนเสนอแนวทางการแก้ไขนั้น 1.สามารถลดต้นทุนของเครื่อง Machining
ต่อเดือนได้ 2.สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของ Line การผลิตได้ 3. สามารถนำเครื่องจักรไปใช้ใน
New Project อื่นๆได้อีกด้วย เป็นการลดต้นทุนในการผลิตให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง
Full Text : Download! |
||
7. | Setup competition kart and manage event for launching new product:Case study Bira Circuit One Co.,Ltd [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Kaiyasit Termsiriprasert | ||
Study about how to planning and manage an event in Bira circuit track and get into a part of KART team name is “BIREL PROSPORT KART TEAM”. How’s to setup racing Kart and study knowhow to service kart. In this paper we show you how to setup kart for competition. And how to do an event for launching new product in Bira circuit track. We setup condition for launching new product and compare with another brand in market. Christmas tree and Fishbone diagram are used to improve checking time for control event time and management in a team. However the scope of this paper doesn’t cover some data or parameter that secret of company and secret of team. In the Bira circuit event we using Christmas tree cycle method, it can improve objectives or results gradually in every event. Time control and event trouble will show case by case in these papers.
Full Text : Download! |
||
8. | โครงงานการออกแบบและสร้างเครื่องป้อนหัวทิปอัตโนมัติ:กรณีศึกษาบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ก้องเกียรติ ภักดีสิริวิชัย | ||
รายงานเล่มนี้เกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องFeedหัวTIP Auto เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานให้กับพนักงาน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่และยังสามารถลดเวลาในการทำงานให้กับพนักงานได้อีกด้วย วิธีดำเนินการสร้างเริ่มตั้งแต่ศึกษาปัญหาที่มีอยู่ วิเคราะห์ปัญหา ออกแบบเครื่องFeedหัวTIP Autoเพื่อแก้ปัญหาและการสร้างเครื่องFeedหัวTIP Autoเพื่อนำไปใช้งานจริงเครื่องจักรที่สร้างสามารถใช้งานได้จริง
Full Text : Download! |
||
9. | การศึกษาความเป็นไปได้ในการการส่งชิ้นส่วนการประกอบแบบเรียงลำดับการประกอบเข้าไลน์ประกอบบายพาส (Bypass) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤษฏิ์ ลิปิมงคล | ||
ในรายงานเล่มนี้ จะกล่าวถึงการนำเอาหลักการผลิตแบบโตโยต้า หรือ Toyota Production
System มาใช้ในการปรับปรุงการส่งชิ้นส่วนการประกอบเข้าไลน์การประกอบ บายพาส (Bypass) การ
ปรับปรุงจากการศึกษานี้จะเป็นการลดพื้นที่การเก็บชิ้นส่วนการประกอบข้างไลน์การผลิตเพื่อนำพื้นที่
ที่ได้เพิ่มขึ้นมานี้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อีกทั้งยังทำให้พนักงานของแผนก Logistic ที่ปฏิบัติงานอยู่
ณ บริเวณที่ศึกษาได้มีมาตรฐานในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้นทำให้การจัดส่งชิ้นส่วนการประกอบที่
ไลน์การประกอบนี้เป็นระบบที่ชัดเจนมากขึ้นอีกด้วย โดยการเริ่มต้นการศึกษาในโครงงานนี้ ใน
เบื้องต้นจะทำการศึกษาชิ้นส่วนการประกอบเพียงหนึ่งชิ้นส่วนคือ Panel Rear Door Trim Set หรือ
พลาสติกครอบประตูหลังของรถ VIGO D-CAB ก่อนเป็นอันดับแรกเนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่มีขนาด
ใหญ่ที่สุดในไลน์การประกอบนี้ ซึ่งหากมีวิธีการที่ดีพอที่จะจัดการกับชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่สุดได้แล้ว
นั้น ชิ้นส่วนอื่นที่เล็กกว่าก็อาจจะนำทฤษฏีเดียวกันนี้บริหารจัดการได้เช่นกันโดยผู้วิจัยหวังเพียงว่า
ทฤษฏีที่ได้ร่วมกันศึกษานี้จะทำให้แก้ปัญหาที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นได้เป็นอย่างดี
Full Text : Download! |
||
10. | ผลกระทบของระยะห่างระหว่างชิ้นงานกับการเชื่อมแบบจุด:กรณีศึกษาบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มนตรี รุ่งฤดีสมบัติกิจ | ||
เศษโลหะเหลวเป็นโลหะที่เกิดจากการหลอมเหลวของแผ่นเหล็กโดยการเชื่อมแบบจุดซึ่งเป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้การเชื่อมแบบจุดเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานทำความ สะอาด ชิ้นงานเสีย โดยปัจจัยการเกิดของเศษโลหะเหลวมีหลายปัจจัย เช่น กระแส ความต้านทาน ระยะเวลาการเชื่อม แรงกด ช่องว่างระหว่างชิ้นงานและอีกหลายปัจจัย โดยในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะ ระยะห่างระหว่างชิ้นงาน เริ่มต้นโดยปรึกษาที่มาของปัญหา ลงคะแนนความสำคัญตัดปัญหาที่ไม่ รุนแรงออกไปแล้วพิจารณาเฉพาะปัญหาที่รุนแรงอีกทั้งยังมีแนวทางพัฒนาและควบคุมไม่ให้ปัญหา นั้นเกิดขึ้นแม้ว่าปัจจัยในการเกิดเศษโลหะเหลวจะมีหลายปัจจัยแต่ถ้าเราพบปัจจัยสำคัญแล้วสามารถควบคุมปัจจัยนั้นๆได้ ปัญหาจะเกิดน้อยลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250