fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IM) 2013 |
1. | การปรับปรุงขั้นตอนการทำงานในแผนกขายเพื่อลดปัญหาการตีกลับสินค้า : กรณีศึกษา บริษัท พานาโซนิค เอ.พี.เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุติมา ปัญญาทวีกูล | ||
จากการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานในแผนกขาย โดยการใช้ Flow Process Chart ในการศึกษาขั้นตอนการทำงาน และมีการใช้เครื่องมือ Check Sheet เพื่อค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด จากนั้นวิเคราะห์หาค่าใช้จ่ายจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนภูมิก้างปลา เพื่อค้นหาแนวทางในการปรับปรุงได้ตรงจุด โดยมีการปรับปรุงการทำงานและสร้างอุปกรณ์ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและง่ายขึ้น ใช้การส่งข้อมูลย้อนกลับผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และมีการสร้างแบบฟอร์มยืนยันการส่งของ เพื่อสามารถมีการตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ รวมถึงมีการวิเคราะห์ และตัดขั้นตอนการรอในทำงานออกไป เพื่อให้ระยะเวลาในการทำงานสั้นลง และลดการถูกตีกลับสินค้า
จากการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน และการสร้างเครื่องมือต่างๆเข้ามาใช้ ทำให้สามารถลดจำนวนครั้งที่เกิดปัญหาส่งของไม่ตรงวัน จาก 12 ครั้ง เหลือแค่ 1 ครั้ง ลดลง 91.7 % และส่งผลให้ไม่มีการเกิดปัญหาปริ้น PO ซ้ำขึ้นมาอีกเลย จากเดือนละ 16 ครั้ง เมื่อปัญหาลดลงมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายของปัญหาที่เกิดขึ้นจากเดือนละ 396,000 บาท ลดลงเหลือ 7,000 บาท ค่าใช้จ่ายลดไป 98.3 %
Full Text : Download! |
||
2. | การกำหนดกระบวนการทำงานของฝ่ายการเงิน เพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานขาย : กรณีศึกษา บริษัท ควอลิตี้พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดวงหทัย ลิมตโสภณ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องโหว่ของระบบที่ทำให้เกิดการทุจริตของ
พนักงานขาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้จัดการทั่วไป ผู้จัดการฝ่ายขาย และพนักงานฝ่าย
การเงิน บริษัท ควอลิตี้ พลัส เอสเทติค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำนวน 3 ราย และ ตัวอย่างกรณี
การทุจริตของพนักงานขาย 8 กรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ กระบวนการ
ทำงาน (Work Flow) ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานขาย และฝ่ายการเงิน เก็บรวมรวบข้อมูลโดยการ
สอบถามจากผู้จัดการทั่วไป และผู้จัดการฝ่ายขาย ซึ่งทราบข้อมูลการทุจริตของพนักงานขายทั้งหมด
ผลจากการศึกษาพบว่า ช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการทุจริตของพนักงานขาย คือ การไม่มี
เงื่อนไขการชำระเงินในใบเสนอราคา การให้สิทธิ์พนักงานขายลงนามอนุมัติใบสั่งขายได้เอง และ
การให้สิทธิ์พนักงานขายส่งเอกสารทางการเงินที่สำคัญ เช่น ใบเรียกเก็บเงิน และใบเสร็จรับเงิน
ให้กับทางลูกค้า จากการปรับปรุงด้วยการกำหนดกระบวนการทำงานและเอกสารของฝ่ายการเงิน
ใหม่ ทำให้ได้เอกสารระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเงิน ซึ่งบริษัทนำมาใช้เป็นมาตรฐาน
การทำงานของฝ่ายการเงินในปัจจุบัน ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการทุจริตได้ เท่ากับ
334,783 บาท/เดือน หรือ คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 4,017,396 บาท/ปี อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนค่าเสีย
โอกาสที่เกิดขึ้นจากกรณีทุจริตให้บริษัทได้เท่ากับ 6,026,099 บาท/เดือน หรือ คิดเป็นมูลค่า เท่ากับ
72,313,190 บาท/ปี
Full Text : Download! |
||
3. | การปรับปรุงกระบวนการจัดเตรียมงานขนส่ง : กรณีศึกษา บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ เมเนจเม้น จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤตกานต์ จันทนพิศาล | ||
รายงานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ทั้งกำลังคนที่ใช้ในการปฏิบัติงานและขั้นตอนของกระบวนการปฏิบัติงาน โดยใช้เครื่องมือ แผนภูมิกระบวนการ , ตารางศึกษาเวลา , ผังโรงงาน โดยการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการศึกษาการทำงานสภาพปัจจุบัน ณ คลังอะไหล่สินค้า คูโบต้า นวนคร เป็นหลัก
จากการศึกษาพบว่าในการปฏิบัติงานของอะไหล่สินค้าทั้ง 2 คลังใช้กำลังคนทั้งหมด 23 คน เมื่อนำความต้องการของลูกค้ารายเดือนมาศึกษาพบว่าทุกเดือนยอดความต้องการของลูกค้า นั้นต่ำกว่าความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงาน 23 คน จากข้อมูลเดือนมิถุนายนพบว่าส่วนต่างนั้นอยู่ที่ 4,384 กล่องต่อเดือนที่เกินความต้องการ โดยเข้าไปทำการศึกษาเวลาจากนั้นจึงนำข้อมูลด้านเวลามาจัดตั้งเวลามาตรฐานในการปฏิบัติงาน และดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานเช่นการจัดสถานีงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานใหม่ โดยการศึกษานี้ยังไม่มีการดำเนินการและนำไปใช้ โดยผลลัพธ์ที่คาดว่าจะสามารถสำเร็จผล คือการลดจำนวนพนักงานจาก 26 คนเหลือ 13 คนโดยเทียบเป็น 50% จากก่อนปรับปรุง และสภาพการทำงานที่เป็นมาตรฐานมากขึ้นรวมไปถึงเวลามาตรฐานต่อรอบการปฏิบัติงาน
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาการลดเวลาและการจัดทำมาตรฐานในการทำงานของกระบวนการเบิกชิ้นส่วนจากฝ่ายผลิตและคลังสินค้า : กรณีศึกษา บริษัท เจเทคโตะ ไทยแลนด์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อิสราวดี ธรรมศิริโรจน์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการจัดทำเพื่อศึกษาวิธีการทำงานของแผนก PRODUCTION CONTROL สังกัด NEW PROJECT รวมถึงการวิเคราะห์สภาพการทำงานปัจจุบัน และการลดเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่ากระบวนการทำงานของกระบวนการเบิกชิ้นส่วนจากฝ่ายผลิตและคลังสินค้ามีความซับซ้อนในขั้นตอนการจัดทำเอกสาร ผู้วิจัยจึงใช้ทฤษฎี Pareto Chart เพื่อค้นหากระบวนการที่ใช้เวลามากที่สุดเพื่อนำมาปรับปรุง และใช้ Fishbone Diagram เพื่อค้นหาปัญหาและสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสีย แล้วจึงวางแผนขั้นตอนด้วย QC STORYเพื่อวางแผนขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยการ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการจัดการจัดกระบวนการทำงานใหม่เพื่อลดความซับซ้อนในการทำงาน และใช้ฐานข้อมูลลิ้งข้อมูลที่เหมือนกันในแต่ละไฟล์แบบอัตโนมัติ ทำให้เพิ่มความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล และลดเวลาการทำงานจาก 160 นาทีเหลือ 110 นาที ซึ่งลดได้ทั้งหมด 50 นาที คิดเป็น 31.25%
Full Text : Download! |
||
5. | การพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการขายเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะ : กรณีศึกษา ผู้ผลิตเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะที่ทำด้วยวัสดุคาร์ไบด์และวัสดุแข็งพิเศษ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิราพรรณ พิมพา | ||
จากการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการขายเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะทั้งสองกระบวนการ Project by Project และการวินิจฉัยการผลิต (Line Shindan) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขายโดยใช้หลักทฤษฎีการบริหารลูกค้าสัมพันธ์กลยุทธ์การเสนอการบริการก่อนการขาย การศึกษาเวลา การบริการในตลาดอุตสาหกรรม การวิเคราะห์ความเสียหายของเครื่องมือตัดและวิธีแก้ไข แนวทางการวินิจฉัยด้านการผลิต การจัดสายการผลิตให้สมดุล เพื่อช่วยในการศึกษาเพื่อสร้างความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเพิ่มยอดขายเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะให้กับบริษัทโดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคืออุตสาหกรรมยานยนต์
ในการศึกษากระบวนการขายในการศึกษากระบวนการแรกเริ่มจากการที่เข้าไปพบลูกค้านำเสนอผลิตภัณฑ์และถ้ามีแนวโน้มที่จะเกิดกำไรก็จะมีการนำสินค้ามาให้ลูกค้าทดลองและเพิ่มการบริการในด้านเทคนิคเพื่อนำเสนอให้ลูกค้ารับรู้ถึงมูลค่าที่ลูกค้าจะได้รับ ในการศึกษากระบวนการที่สองการวินิจฉัยการผลิตทำการวิเคราะห์หาสาเหตุเก็บข้อมูลหน้างานจริงเพื่อทำการแก้ไขโดยแก้ไขจากเครื่องมือตัดแต่งขึ้นรูปโลหะซึ่งใช้ความรู้จากการอบรมเรื่องเทคนิคมาทำการวินิจฉัยกระบวนการผลิต
จากการศึกษาพบว่าทั้งสองกระบวนสามารถเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทโดยคิดเป็นสัดส่วนการผลิตของลูกค้ากับยอดขายที่เพิ่มขึ้น 4.04 เท่า และ 12.05 เท่า เมื่อเทียบก่อนทำการศึกษาและสามารถเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าตามเป้าหมายที่ลูกค้าต้องการ
Full Text : Download! |
||
6. | การเสนอวิธีจัดซื้อใหม่ให้กับวัตถุดิบคงคลัังด้วยวิธีจุดสั่งซื้อที่เหมาะสม (ROP) : กรณีศึกษา บริษัท ไทยโทเรซินเทติคส์ จำกัด (โรงงานกรุงเทพ) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิตสุนทร ประภาจิตสุนทร | ||
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อนำเสนอวิธีการจัดซื้อวัตถุดิบคงคลังด้วยวิธีจุดสั่งซื้อที่เหมาะสม หรือReorder point (ROP) โดยนำหลักการจัดการสินค้าคงคลังมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน และทำการออกแบบวิธีการจัดการแบบ ROP ด้วยปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงมาเป็นตัวอย่างในการจำลอง จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ ROP ทำให้สามารถควบคุมปริมาณวัตถุดิบคงคลังได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณความต้องการ
การศึกษาเริ่มจากการศึกษาสภาพการทำงานในปัจจุบันด้วยหลัก3Gในการลงพื้นที่ดูสิ่งที่เกิดขึ้นจริง2G ในการใช้ทฤษฏีเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาและเงื่อนไขการจัดการต่าง ๆ จากวิธีการดำเนินงานบริหารวัตถุดิบคงคลัง พบว่ามีปริมาณวัตถุดิบมีวัตถุดิบอยู่สองประเภทได้แก่ วัตถุดิบประเภท Molten lactam และ Flake lactam โดยวัตถุดิบทั้งสองชนิดนี้นำไปผลิตเป็นสินค้าเดียวกัน คุณสมบัติในการผลิตเหมือนกันแต่แตกต่างกันที่ ชนิดหนึ่งเป็นของเหลวและชนิดหนึ่งเป็นของแข็งตามลำดับ ซึ่งจากความแตกต่างกายภาพนี้เองส่งผลให้มีวิธีการจัดการและค่าใช้จ่ายทางโลจิสติกส์ รวมถึงความสูญเปล่าต่าง ๆที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน
ผลการศึกษาพบว่า การนำวิธีการจัดการแบบ ROP มาใช้นั้น ได้วิธีการจัดซื้อแบบใหม่นั่นคือ การจัดซื้อแบบ ROP โดยทาให้มีวัตถุดิบคงคลังต่าที่สุดโดยจัดเก็บวัตถุดิบคงคลังสูงสุดเพียง
Full Text : Download! |
||
7. | ลดปริมาณวัตถุดิบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กวิน จันทรพิศุทธิ์ | ||
จากการศึกษาการทำงานของรถทุกรุ่น ในโรงงาน3 ของ บริษัทไทยซัมมิท โอโตพาร์ทอินดัสตรีพบว่า ชิ้นส่วน Base Hood Lock Striker ในสายการผลิตNew Nissan Teana(Model L42L) นั้นมีเศษ Scrap ที่ใหญ่ จึงทำการค้นหาสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนผังก้างปลาและ5G ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหาใช้ WHY WHYWHY analysis จากการค้นหาสาเหตุได้พบว่าสาเหตุนั้นมาจากขอบแนวดรอบีดมีจำนานมากส่งผลให้แผ่น Shearing size มีขนาดใหญ่ วิธีการแก้ไขนั้นจะลดขนาดแผ่นเหล็ก Shearing size ให้เล็กลงและเหมาะสมที่สุด โดยใช้หลักการทดลองโดยการทดลองครั้งแรกนั้นจะอาศัย อาศัยใบมาตรฐานของบริษัท ไทยซัมมิท เพื่อกำหนด แผ่นเหล็ก Shearing size ขึ้นมา จากนั้น จะทดลองจนได้งานที่ใช้เหล็กน้อยที่สุดตามอุดมคติของหลัก Kaizen ที่ทดลองต่อเนื่องจนได้งานที่คุณภาพยังเท่าเดิม และยืนยันการตรวจสอบคุณภาพโดยให้แผนก QA
ตรวจสอบ โดยใช้ใบตรวจสอบชิ้นงานและ จิ๊กตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปรับปรุงครั้งนี้คุณภาพสินค้ายังคงเดิม
จากการปรับปรุงพบว่า สามารถลดแผ่นเหล็กจากน้ำหนัก 1449.74 กรัมเป็นน้ำหนัก 1351.96 กรัมส่งผลให้ราคาแผ่นเหล็กจากราคาแผ่นละ45.81บาทเป็นแผ่นละ 42.72 บาทประหยัดแผ่นละ 3.09บาท ใน1 เดือนจะประหยัดลงไปได้ 23,854.80บาท ใน1 ปีจะลดลงไปได้286,257.60 บาท โดยที่คุณภาพสินค้านั้นยังคงเดิม
Full Text : Download! |
||
8. | การลดระยะเวลาจัดเตรียมสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง : กรณีศึกษา บริษัท ฟูจิมาคิ สตีล (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เกศรา ฉิมพิทักษ์ | ||
การลดระยะเวลาในการจัดเตรียมสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการขนส่ง ลดระยะเวลาในการจัดเตรียมสินค้า และลดเวลาในการทำงานล่วงเวลาของพนักงานขนส่งสินค้า ซึ่งจากการศึกษาขั้นตอนการทำงานของพนักงานขนส่งสินค้าพบว่า ใช้ระยะเวลาในการเตรียมการก่อนขนส่งสินค้ามาก ซึ่งคิดเป็น 36% ของเวลาทำงานทั้งหมด จึงได้ทำการค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา โดยใช้ Why-Why analysis รวมถึงค้นหาแนวทางในการปรับปรุง โดยการแบ่งภาระงานของการจัดเตรียมสินค้าให้มีพนักงานเข้ามารับผิดชอบ โดยกำหนดให้เป็นมาตรฐานการทำงาน และใช้การควบคุมด้วยสายตา เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาสินค้าและบ่งบอกสถานะของสินค้า นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางปรับปรุงระบบของบริษัท เพื่อให้กำหนดวันส่งสินค้าและจัดรอบการขนส่ง
จากการปรับปรุงการทำงานของพนักงานขนส่งสินค้าทำให้เวลาในการเตรียมการก่อนส่งสินค้าจาก 36% เหลือ 16% หรือจาก 175 นาที เหลือ 75 นาที และส่งผลให้มีระยะเวลาในการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจาก 64% เป็น 84% หรือเดเพิ่มขึ้นจาก 305 นาที เป็น 405 นาที และนอกจากนี้ยังสามารถลดเวลาในการทำงานล่วงเวลาของพนักงานขนส่งสินค้าลง หรือเป็นการเพิ่มจำนวนรอบในการขนส่งสินค้าได้
Full Text : Download! |
||
9. | การลดอัตราของเสียในกระบวนการผลิตโคมไฟรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คุณากร แก้วเนียม | ||
โครงงานการลดอัตราของเสียในกระบวนการผลิตโคมไฟรถยนต์ กรณีศึกษา: บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการเกิดของเสียที่ชิ้นงานจากกระบวนการหยิบชิ้นงานออกจากเครื่องฉีด ของ Model: 381A R/C LENS CP ในขั้นตอน การฉีดขึ้นรูปชิ้นงาน ชิ้นงานที่ทำการศึกษานั้นเป็นชิ้นงานที่มีการรับคำสั่งผลิตจากลูกค้าถึง 30,000 ชิ้นต่อเดือน ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในโรงงานผลิตโคมไฟที่ 7 (Lamp 7) ของบริษัทฯ ดังนั้นการศึกษานี้จะมุ่งเน้นการลดของเสียที่เกิดจากการทำงานผิดพลาดของ Robot ให้หมดไป โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลของเสียโดยใบบันทึกข้อมูลในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ชิ้นที่เครื่องฉีดและทำการเลือกปัญหาโดยใช้แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) จากนั้นทำการค้นหาสาเหตุของการเกิดของเสียโดยใช้ Why-Why Analysis และใช้หลักการของ ECRS เพื่อแก้ไขปัญหา โดยขั้นตอน การทำงานทั้งหมด จะทำตามหลัก 7 ขั้นตอนการแก้ปัญหาตามแนวทางของ QC Story โดยการแก้ไขปรับปรุงนี้ จะดำเนินการแก้ไขโดยการปรับกระบวนการทำงานที่โปรแกรมของ Jig Robot Model: 381A R/C LENS CP และสามารถแก้ไขปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไปได้
Full Text : Download! |
||
10. | การลดขั้นตอนการออกใบสั่งงานเพื่อผลิต : กรณีศึกษา บริษัท ฟูจิมาคิ สตีล (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มัชฌิมา เอี่ยมพิชิตกิจการ | ||
สาระสำคัญในรายงานการฝึกงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดงานที่ได้รับมอบหมายในการสหกิจศึกษาในครั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อลดขั้นตอนในการออกใบสั่งงานเพื่อผลิตซึ่งจะส่งผลให้ทำงานได้เร็วขึ้นจากเดิมโดยขั้นตอนในการปฏิบัติงานเริ่มต้นจากเรียนรู้และศึกษางานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดหัวข้อปัญหา สำรวจสภาพปัจจุบัน กำหนดเป้าหมายและวางแผน วิเคราะห์หาแนวทางแก้ไข ดำเนินการแก้ไข ตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้และกำหนดให้เป็นมาตรฐาน ด้วยทฤษฎีต่างๆและการไคเซ็น และนำผลการดำเนินงานที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานก่อนที่จะมีการปรับปรุง
จากการปรับปรุงระบบการทำงานของพนักงานสามารถลดขั้นตอนการทำงานจาก 9 ขั้นตอนเหลือ 6 ขั้นตอนคิดเป็น 33%ของขั้นตอนที่ใช้ในการออกใบสั่งงาน,เวลาที่ใช้ในการออกใบสั่งงานจาก 741.59 วินาทีก็ลดลงเหลือ 136.49 วินาที สามารถลดลงไปได้ถึง 605.1 วินาทีหรือคิดเป็น 81.59% ของเวลาที่ใช้ในการออกใบสั่งงาน และสามารถลดระยะทางจาก 438.2 เมตร เหลือ 0 เมตร คิดเป็น 100%ของระยะทางทั้งหมดที่ใช้ในการออกใบสั่งงาน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250